ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี

ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (ครีโอลกาบูเวร์ดี : kabuverdianu ;โปรตุเกส: Crioulo cabo-verdiano ;อังกฤษ: Cape Verdean Creole) เป็นภาษาครีโอลที่ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากภาษาโปรตุเกส โดยภาษานี้เป็นภาษาแม่ของชาวกาบูเวร์ดีเกือบทุกคน และเป็นภาษาที่สองของชาวกาบูเวร์ดีผลัดถิ่น[1]

ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี
kabuverdianu,[2][3] kriolu, kriol
ประเทศที่มีการพูดกาบูเวร์ดี
จำนวนผู้พูด871,000  (2017)[4]
ตระกูลภาษา
กลุ่มภาษาครีโอลโปรตุเกส
  • ครีโอลโปรตุเกสแถบแอฟริกา
    • ครีโอลกินีตอนบน
      • ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี
ระบบการเขียนละติน (ALUPEC)
รหัสภาษา
ISO 639-3kea
Linguasphere51-AAC-aa
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดีเป็นภาษาที่มีความสำคัญในการศึกษาด้านภาษาครีโอล เนื่องจากเป็นภาษากลุ่มครีโอลที่เก่าที่สุดที่ยังมีคนใช้อยู่[5] และเป็นภาษาในกลุ่มครีโอลโปรตุเกสที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด

ชื่ออย่างเป็นทางการของภาษานี้คือ ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (kabuverdianu) แต่ในชีวิตประจำวันผู้ใช้ภาษาจะเรียกภาษานี้ว่า "ครีโอล" (kriolu/kriol)

ความเป็นมา

ความเป็นมาของภาษานี้ค่อนค่างจะหาได้ยาก เนื่องจากมีเอกสารที่บันทึกไว้น้อย และการเนรเทศในช่วงกาบูเวร์ดีของโปรตุเกส

ในปัจจุบันนี้มีสามทฤษฎีที่บ่งบอกถึงความเป็นความเป็นมาของภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี[6] โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่าเป็นชาวโปรตุเกสที่ทำให้ภาษานี้เรียบง่ายมากขึ้นเพื่อให้สะดวกต่อการใช้ของทาสชาวแอฟริกันที่ถูกปลดปล่อย แต่มีการโต้แย้งว่าทาสชาวแอฟริกันที่ถูกปลดปล่อยนั้นได้สร้างภาษานี้ขึ้นโดยใช้หลักไวยากรณ์ของภาษาในแอฟริกาตะวันตก แต่ใช้คำศัพท์ภาษาโปรตุเกสแทนภาษาดั้งเดิม ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าภาษานี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ไม่ใช่ทาสที่ถูกปลดปล่อยแต่เป็นชาวเกาะที่สร้างขึ้นมาโดยใช้หลักไวยากรณ์พื้นฐานในภาษามนุษย์

จากข้อมูลที่โยงเรื่องการตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะเข้ากับหลักการทางภาษาศาสตร์ จึงทำให้พอคาดเดาการเผยแพร่ของภาษาครีโอลกาบูเวร์ดีได้ เป็นสามระยะได้ดังนี้[7]

  • ระยะแรกเกาะซานติอาโกถูกครอบครอง (ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15) ตามด้วยเกาะโฟกู (ปลายศตวรรษที่ 16)
  • ระยะที่สองเกาะเซานิโกเลาถูกครอบครอง (ส่วนมากในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17) ตามด้วยเกาะซันโตอันเตา (ส่วนมากในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17)
  • ระยะที่สามเกาะที่เหลือถูกยึดโดยชาวเกาะก่อนหน้า เกาะบราวาถูกควบคุมโดยชาวเกาะโฟกู (ส่วนมากในต้นศตวรรษที่ 18) ตามด้วยเกาะบัววิชตาโดยชาวเกาะเซานิโกเลากับซานติอาโก (ส่วนมากในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18), เกาะเซาวิเซงชีโดยชาวเกาะซันโตอันเตากับเซานิโกเลา (ส่วนมากในศตวรรษที่ 19) และเกาะซัลโดยชาวเกาะเซานิโกเลากับบัววิชตา (ส่วนมากในศตวรรษที่ 19)

สถานะ

ถึงแม้ภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีจะเป็นภาษาแม่ของชาวกาบูเวร์ดีแทบทุกคน ภาษาโปรตุเกสก็ยังเป็นภาษาราชการของประเทศ และก็ยังได้ใช้ภาษาโปรตุเกสในชีวิตประจำวัน เช่น (การใช้ในราชการ โรงเรียน การต่างประเทศ ฯลฯ) จึงทำให้ภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีอยู่ในสถานะทวิภาษณ์

ระบบการเขียน

ป้ายในภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี

ระบบการเขียนระบบเดียวที่ได้รับการรับรองจากทางการ เรียกว่า แบบรวมอักษรการเขียนภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (โปรตุเกส: Alfabeto Unificado para a Escrita da Língua Cabo-verdiana) หรือ ALUPEC[8]

คำศัพท์

คำศัพท์ในภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีประกอบไปด้วยคำภาษาโปรตุเกสประมาณ 90-95% ส่วนคำที่เหลือมาจากภาษาอื่นเช่นภาษาในแอฟริกาตะวันตก ภาษาอังกฤษ,ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

ตัวอย่างวลีในภาษาคริโอลกาบูเวร์ดี[9]

Olá, Oi สวัสดี (ทักทายทั่วไป)

Modi bu sta? คุณสบายดีไหม

Moki bu tchoma? คุณชื่ออะไร

Nha nomi e ... ฉันชื่อว่า...

อ้างอิง

  1. "Cape Verdean Creole". Center for Language Technology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
  2. "Kabuverdianu | Ethnologue Free". Ethnologue (Free All) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-19.
  3. Veiga, Manuel (1982). Diskrison strutural di lingua Kabuverdianu. Praia: Institutu Kabuverdianu di Livru.
  4. ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
  5. Steve and Trina Graham (10 August 2004). "West Africa Lusolexed Creoles Word List File Documentation". SIL International. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
  6. Santos, C., "Cultura e comunicação: um estudo no âmbito da sociolinguística"
  7. Pereira, D. (2006)
  8. "ALUPEC - Decreto-Lei n.º 67/98". alupec.kauberdi.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
  9. "Useful phrases in Cape Verdean Creole". www.omniglot.com.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!