ภาวะกรดเกิน[1], ภาวะกระเดียดกรด[2] หรือ ภาวะร่างกายเป็นกรด[3] (อังกฤษ: Acidosis) เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเป็นกรดเพิ่มขึ้นในเลือดและเนื้อเยื่อร่างกาย กล่าวคือเป็นการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออน หากไม่ได้มีการระบุรายละเอียดเพิ่มเติม โดยทั่วไปมักใช้หมายถึงความเป็นกรดในพลาสมาเลือด
คำว่า ภาวะกรดเลือดเป็นกรด[4] หรือ เอซิเดเมีย (acidemia) ใช้อธิบายถึงสภาวะที่ซึ่งค่า pH ของเลือดต่ำ ในขณะที่เอซิดอซิส (acidosis) ใช้อธิบายกระบวนการซึ่งนำไปสู่สภาวะดังกล่าว อย่างไรก็ตามทั้งสองคำอาจใช้เปลี่ยนกันได้ใบางครั้ง เอซิเดเมียนั้นเกิดขึ้นเมื่อค่า pH ในหลอดเลือดแดง (arterial pH) ต่ำกว่า 7.35 (ยกเว้นกรณีในทารกในครรภ์; fetus) ในขณะที่อาการคู่ตรงข้าม อัลคาเลเมีย (alkalemia) เกิดขึ้นที่ค่า pH สูงกว่า 7.45 ในการประเมินผู้ป่วยนั้นต้องมีการวิเคราะห์ค่า Arterial blood gas และการทดสอบอื่น ๆ
อัตราเมแทบอลิซึมในเซลล์ (rate of cellular metabolic activity) ทั้งส่งผลและได้รับผลกระทบในเวลาเดียวกันจากค่า pH ของของเหลวในร่างกาย ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า pH ปกติอยู่ที่ 7.35 ถึง 7.50 ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และจำกัดอยู่ที่ไม่เกินระหว่าง 6.8 ถึง 7.8 ในการดำรงชีพได้ การเปลี่ยนแปลงในค่า pH ของเลือดในหลอดเลือดแดง (ซึ่งก็ตามด้วยของเหลวนอกเซลล์) ที่เกินจากช่วงที่กำหนดนี้อาจส่งผลให้เซลล์ไดรับอันตรายแบบกู้กลับไม่ได้ (irreversible cell damage)[5]
ภาวะกรดเกินเมแทบอลิก
ภาวะกรดเกินเมแทบอลิก (อังกฤษ: Metabolic acidosis) อาขส่งผลให้ทั้งเกิดการผลิตกรดเมแทบอลิก (เช่นกรดแลกติก) สูงขึ้น หรือรบกวนความสามารถในการขับออกผ่านทางไต เช่น ภาวะกรดเกินในท่อไต (renal tubular acidosis) หรือภาวะกรดเกินของไตวาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสะสมของยูเรีนและครีทินีน (creatinine) การเพิ่มขึ้นของการผลิตกรดอื่น ๆ อาจก่อให้เกิดภาวะกรดเกินเมแทบอลิกเช่นกัน เช่น ภาวะกรดเกินกรดแลคติก
ภาวะกรดเกินจากการหายใจ
ภาวะกรดเกินจากการหายใจ (respiratory acidosis) เกิดจากการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (ภาวะไฮปอร์แคปเนีย; hypercapnia) จากภาวะหายใจขาด (hypoventilation) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากปัญหาของปอด อย่างไรก็ตาม ทั้งยา (โดยเฉพาะ ยาสลบและยากล่อมประสาท), การบาดเจ็บที่ศีรษะ และเนื้องอกในสมอง ล้วนก่อให้เกิดเอซิเดเมียชนิดนี้ได้ทั้งนั้น[6][7]
อ้างอิง