ฉากแท่นบูชาวิลทัน (ป. 1395 –1399) เป็นรูปทูตสวรรค์ สวมไวท์ฮาร์ท (กวาง) ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณ์ส่วนพระองค์ของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ
ตราแผ่นดินของอุซเบกิสถาน
ครอบครัว ภาพสัญลักษณ์ของ House of El
ภาพสัญลักษณ์ หรือบางบริบทคือ สัญลักษณ์ [ 1] (อังกฤษ : Emblem ) เป็นศิลปะที่เป็นนามธรรม หรือภาพที่แสดงให้เห็นแนวความคิด เช่น ความจริงทางจริยธรรม อุปมานิทัศน์ หรือบุคคล เช่น พระมหากษัตริย์ หรือนักบุญ [ 2]
ความหมายในภาษาอังกฤษ
ภาพสัญลักษณ์บนกำแพงด้านเหนือ ในบ้านของเจ้าชายแห่งเนเปิลส์ ปอมเปอี
แม้ว่าคำว่า Emblems กับคำว่า Symbols (สัญลักษณ์ ) มักจะใช้งานแทนกันได้ และถูกใช้ในความหมายเดียวกันในหลาย ๆ ครั้ง แต่ภาพสัญลักษณ์ (Emblems) คือสัญลักษณ์ที่เป็นรูปแบบสำหรับการแสดงความคิดหรือความเป็นปัจเจกชน และภาพสัญลักษณ์ก็พัฒนามาเป็นรูปธรรมได้
ภาพสัญลักษณ์อาจจะถูกสวมใส่ หรือใช้เป็นตรา (Badge) ระบุตัวตน หรือแพทช์ (Patch) สำหรับติดบนเครื่องแบบ ตัวอย่างเช่น ในอเมริกา ตราเจ้าหน้าที่ตำรวจ หมายถึงตราประจำตัวที่ทำขึ้นมาจากโลหะ ในขณะที่ภาพสัญลักษณ์แบบแพทช์ที่ติดอยู่บนเครื่องแบบนั้นเป็นการระบุว่าตำรวจคนนั้นสังกัดอยู่หน่วยไหน
ในยุคกลาง นักบุญหลายคนได้รับภาพสัญลักษณ์สำหรับใช้ระบุตัวตนของเขาในภาพเขียนและภาพต่าง ๆ เช่น แคเธอรินแห่งอะเล็กซานเดรีย เป็นวงล้อหรือดาบ ส่วนแอนโทนีอธิการ เป็นหมูและกระดิ่งอันเล็ก สิ่งเหล่านี้ถูกเรียกอีกอย่างว่าคุณลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนักบุญที่มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะหรืออยู่ใกล้ชิดกับศิลปินที่ทำงานศิลปะ
พระมหากษัตริย์และบุคคลในสำคัญประวัติศาสตร์อื่น ๆ ก็เริ่มมีการนำสัญลักษณ์ประจำตัวหรือภาพสัญลักษณ์มาใช้งาน ซึ่งออกแบบแตกต่างจากตราประจำตระกูล ของพวกเขา โดยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส คือพระอาทิตย์ พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส คือซาลาแมนเดอร์ พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ คือหมูป่า และ พระเจ้ามานูแวลที่ 1 แห่งโปรตุเกส คือวงแหวนจำลองตำแหน่งดาวดาว
ในศตวรรษที่สิบห้าและสิบหก มีแฟชั่นที่เริมต้นในอิตาลีในการทำเหรียญอิสริยาภรณ์ ขนาดใหญ่ที่มีหัวของบุคคลอยู่ด้านหน้า และภาพสัญลักษณ์อยู่ด้านหลัง โดยสิ่งเหล่านี้จะถูกมอบให้กับมิตรสหายและและเป็นของกำนัลทางการทูต ซึ่งพิซาเนลโล (Pisanello) เป็นศิลปินที่ผลิตงานที่งดงามและดีที่สุดหลายชิ้น
ในขณะเดียวกัน สัญลักษณ์ (Symbol) ใช้แทนสิ่งหนึ่งในการแทนอีกสิ่งหนึ่งในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมมาขึ้น[ 2] เช่น
"ผู้ยิ่งใหญ่กินผู้น้อย" (The big eat the small) ภาพสัญลักษณ์ทางการเมืองจากหนังสือภาพสัญลักษณ์ พ.ศ. 2160
ศัพท์เฉพาะอื่น ๆ
ตราแผ่นดินของเอสโตเนีย มีภาพสัญลักษณ์เป็นรูปสิงโตในมุทราศาสตร์ สามตัว
โทเท็มเป็นภาพสัญลักษณ์รูปสัตว์ที่แสดงออกถึงจิตวัญญาณของแคลน (กลุ่มคน) ภาพสัญลักษณ์ประจำตระกูลมักรู้จักกันในชื่อว่าเครื่องหมาย สิงโตยืนยกเท้าหน้า เป็นภาพสัญลักษณ์ของประเทศอังกฤษ สิงโตยืนผงาด เป็นภาพสัญลักษณ์ของประเทศสกอตแลนด์
รูปเคารพประกอบกับภาพ (แต่เดิมเป็นภาพทางศาสนา) กลายเป็นปกติของประเพณีนิยม โลโก้เป็นสิ่งที่ไม่เฉพาะเจาะจง เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศานา โดยทั่วไปจะเป็นของบรรษัท
ภาพสัญลักษณ์ในประวัติศาสตร์
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 คำว่า emblem (emblema ; จากภาษากรีก : ἔμβλημα , แปลว่า "เครื่องประดับที่มีลายนูน") และ emblematura มาจาก termini technici ในสถาปัตยกรรม โดยคำเหล่านี้หมายถึงการวาดรูปเคารพ การวาด หรือปติมากรรม แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่ติดอยู่ตามบ้านเรือนของตน เช่นเดียวกับจารึก ไปจนถึงเครื่องประดับต่าง ๆ ในสถาปัตยกรรม (ornamenta) หลังจากการตีพิมพ์ De re aedificatoria (พ.ศ. 1995) โดย เลออน บัตติสตา อัลแบร์ตี (พ.ศ. 1947–2015) ออกแบบตามรูปแบบของ De architectura โดยสถาปนิกชาวโรมันและวิศวกรคือวิตรูวิอุส ดังนั้น ภาพสัญลักษณ์เป็นผลพวงของความรู้ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งไม่เพียงแค่ในส่วนของกรีกและโรมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอียิปต์ด้วย ซึ่งพิสูจน์ได้จากเสาโอเบลิสก์ (Obelisk) จำนวนมากที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 ในกรุงโรม[ 5]
นอกจากนี้ยังพบหลักฐานการใช้ภาพสัญลักษณ์ในอเมริกายุคก่อนโคลัมบัส ตัวอย่างเช่นที่ใช้ในนครรัฐ อาณาจักรของมายา อาณาจักรของชาวมายัน เช่น จักรวรรดิแอซเท็ก หรือจักรวรรดิอินคา ซึ่งการใช้งานในทวีปอเมริกาก็ไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นที่มีการใช้งานมากนัก แม้จะมีการใช้งานในสถานะเทียบเท่ากับตราอาร์มของหน่วยงานในอาณาเขตของตน[ 6]
อักษรสัญลักษณ์ของเมืองโกปัน ของชาวมายันในฮอนดูรัส ใช้งานโดยราชวงศ์ Yax K'uk Mo
ในปี พ.ศ. 2074 สำนักพิมพ์ในเอาก์สบวร์กได้ตีพิมพ์หนังสือภาพสัญลักษณ์ครั้งแรก ชื่อว่า Emblemata โดย อันเดรีย อัลเซียโต นักกฎหมายชาวอิตาลี ปลุกกระแสความหลงไหลในภาพสัญลักษณ์ทีคงทนยาวนานกว่าสองศควรรษและเข้าถึงประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตก[ 7] "ภาพสัญลักษณ์" ในแง่นี้ หมายถึงการผสมผสานระหว่างรูปภาพและข้อความเพื่อใช้ในการเผยแพร่ศาสนาทำให้ดึงดูดผู้อ่านให้ได้คิดและพิจารณาไตร่ตรองถึงชีวิตตนเอง การเชื่อมโยงภาพสัญลักษณ์ที่มีความซับซ้อนนั้นสามารถส่งสารไปยังผู้อ่านที่มีความเข้าใจในวัฒนธรรมนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของขบวนการทางศิลปะในคตวรรษที่ 16 ที่เรียกว่าจริตนิยม
คอลเลคชั่นภาพสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยม และแพร่หลายไปในหลากหลายรูปแบบนั้นถูกนำเสนอโดย ฟรานซิส ควอร์ลส์ในปี พ.ศ. 2178 โดยภาพสัญลักษณ์แต่ละชิ้นประกอบไปด้วยการถอดความจากข้อความในพระคัมภีร์ ซึ่งแสดงออกมาด้วยภาษาที่สูงส่งและใช้คำเชิงเปรียบเทียบ ตามด้วยข้อความจากปิตาจารย์แห่งคริสตจักร และปิดท้ายด้วยคำคมสั้น ๆ จำนวนสี่บรรทัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาพร้อมกับภาพสัญลักษณ์ที่แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงพร้อมกับข้อความประกอบ
ภาพสัญลักษณ์ในคำพูด
ภาพสัญลักษณ์เป็นสิ่งที่มีท่าทางบางอย่างที่มีความหมายเฉพาะในตัว ความหมายเหล่านี้มักจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้น โดยการใช้ภาพสัญลักษณ์นั้นทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันด้วยคำพูดได้ เช่น ผู้คนใช้การโบกมือให้กับคนรู้จักเพื่อที่จะสื่อสารว่า "สวัสดี" โดยไม่ต้องสื่อสารด้วยคำพูด[ 8]
ภาพสัญลักษณ์กับภาษามือ
แม้ว่าภาษามือ จะใช้ท่าทางในการสื่อสารคำในลักษณะที่ไม่ใช้คำพูด แต่ไม่ควรสับสนกับการใช้ภาพสัญลักษณ์ด้วยมือ ภาษามือมีคุณสมบัติทางภาษาที่คล้ายคลึงกับภาษาที่ใช้คำพูด และใช้ในการสื่อสารในรูปแบบบทสนทนา[ 9] ซึ่งมีคุณสมบัติทางภาษา ได้แก่ คำกริยา นำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษ คำคุณศัพท์ เป็นต้น[ 10] โดยการใช้ภาพสัญลักษณ์ด้วยมือนั้น ตรงข้ามกับการใช้ภาษามือ คือเป็นการสื่อสารด้วยท่าทางเดียวเพื่อส่งข้อความสั้น ๆ ที่ไม่ใช่คำพูดที่สื่อสารถึงบุคคลอื่น
ภาพสัญลักษณ์ในวัฒนธรรม
ภาพสัญลักษณ์มีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมที่ก่อตั้งขึ้น และขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมนั้น ๆ เช่น การทำเครื่องหมายเป็นวงกลมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ในอเมริกาใช้ในการสื่อความหมายว่า "ตกลง" โดยไม่ต้องใช้คำพูด ในญี่ปุ่นหมายถึง "เงิน" และในบางประเทศในยุโรปตอนใต้หมายถึงบางสิ่งบางอย่างทางเพศ[ 11] นอกจากนี้ การทำเครื่องหมายยกนิ้วโป้ง ในอเมริกาหมายถึง "ดีมาก" แต่ในบางพื้นที่ของตะวันออกกลาง การทำเครื่องหมายยกนิ้วโป้งหมายถึงสิ่งที่น่ารังเกียจเป็นอย่างมาก[ 12]
ดูเพิ่ม
บรรณานุกรม
Drysdall, Denis (2005). "Claude Mignault of Dijon: "Theoretical Writings on the Emblem: a Critical Edition, with apparatus and notes (1577)" . สืบค้นเมื่อ 2009-05-29 .
ดูเพิ่ม
Emblematica Online. University of Illinois at Urbana Champaign Libraries. 1,388 facsimiles of emblem books.
Moseley, Charles , A Century of Emblems: An Introduction to the Renaissance Emblem (Aldershot: Scolar Press, 1989)
อ้างอิง
↑ "emblem แปลว่าอะไร ความหมาย คำแปล หมายความว่า ตัวอย่างประโยค" . dict.meemodel.com (ภาษาอังกฤษ).
↑ 2.0 2.1 symbol . United Kingdom: AskOxford - Compact Oxford English Dictionary. 1989. ISBN 0-19-861186-2 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ February 23, 2007.
↑ "The History of the Emblems" . International Committee of the Red Cross . 2006-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 Aug 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29 . History of the emblems of the International Red Cross: An account of this organisation's need to adopt an emblem to represent itself, and the factors which led to it eventually adopting a second (the red crescent) and third (the red crystal).
↑ "skull and crossbones" . Macmillan Dictionary . Macmillan Publishers . 2009. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ Oct 8, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29 . macmillandictionary.com entry for "skull and crossbones"
↑ Piperno, Roberto. Rosamie Moore (บ.ก.). "Obelisks of Rome" . สืบค้นเมื่อ 2009-05-29 . [ลิงก์เสีย ] Historical information, a map, photographs, and descriptions of Egyptian obelisks in Rome.
↑ Sánchez Huaringa, Carlos D. (2015-07-13). "LOS PRIMEROS INSTRUMENTOS MUSICALES PRECOLOMBINOS: LA FLAUTA DE PAN ANDINA O LA "ANTARA" " . Arqueología y Sociedad (29): 461–494. doi :10.15381/arqueolsoc.2015n29.e12241 . ISSN 0254-8062 .
↑ Barker, William; Mark Feltham; Jean Guthrie (1995-10-26). "Alciato's Book of Emblems: The Memorial Web Edition in Latin and English" . Memorial University of Newfoundland . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ Jan 22, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-29 . This page states that "Andrea Alciato's [Emblemata] had enormous influence and popularity in the 16th and 17th centuries".
↑ Burgoon, Guerrero, Floyd (8 January 2016). Nonverbal Communication (1st ed.). Pearson Education, Inc. p. 432. ISBN 9780205525003 . สืบค้นเมื่อ 12 April 2017 . {{cite book }}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์ )
↑ Husain, Fatima T.; Patkin, Debra J.; Thai-Van, Hung; Braun, Allen R.; Horwitz, Barry (2009). "Distinguishing the Processing of Gestures from Signs in Deaf Individuals: An fMRI Study" . Brain Res . 1276 : 140–50. doi :10.1016/j.brainres.2009.04.034 . PMC 2693477 . PMID 19397900 .
↑ Youn, Hyejin (2016). "On the Universal Structure of Human Lexical Semantics" (PDF) . Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America . 113 (7): 1766–1771. arXiv :1504.07843 . Bibcode :2016PNAS..113.1766Y . doi :10.1073/pnas.1520752113 . PMC 4763760 . PMID 26831113 . สืบค้นเมื่อ May 4, 2017 .
↑ Seal, Bernard (20 August 2012). Academic Encounters Level 4 Student's Book Reading and Writing: Human Behavior . Cambridge University Press. ISBN 9781107602977 . สืบค้นเมื่อ May 4, 2017 .
↑ "What Hand Gestures Mean In Different Countries" . Busuu . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ Sep 9, 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2017 .
แหล่งข้อมูลอื่น