ฟรองซัวส์ได้เล่นดนตรีร่วมกับนักไวโอลินชาวแคนาดาชื่อ Helene Collerette (ปัจจุบันเป็น 1st soloist of the Philharmonic Orchestra of Radio France) หลังจากนั้นเขาได้ร่วมเล่นดนตรีกับนักไวโอลินชาวออสเตรเลียชื่อ Jane Peters (ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ของการแข่งขันรางวัลไชคอฟสกี้นานาชาติ) พร้อมกับได้ออกทัวร์คอนเสริทภายในประเทศเยอรมันด้วย และในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1990 ฟรองซัวส์ได้รับการยกย่องถึงกับลงพาดหัวคอลัมน์บทความในนิตยสาร “Mainzer Rhein-Zeitung” อันมีชื่อเสียงด้านการวิพากษ์วิจารณ์ดนตรีที่เข้มงวด ว่าเป็น “นักสุดยอดแห่งไวโอลินและมะริมบะ” หลังจากนั้นเขาก็ได้ร่วมแสดงดนตรีกับนักเปียโนชื่อ Ludovic Selmi โดยได้ออกทัวร์คอนเสริทไปทั่วทุกประเทศในยุโรปรวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ซึ่งการเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้เป็นการเยือนครั้งแรกของฟรองซัวส์ ในการแสดงดนตรีร่วมนี้ทำให้ฟรองซัวส์ได้มีโอกาสได้ร่วมทำงานกับวงดนตรีที่มีชื่อเสียง
โด่งดัง “Les Tambours du Bronx” และหลังจากจบกิจกรรมด้านการแสดงร่วมกัน ฟรองซัวส์ก็หันมาจดจ่อที่การแต่งเพลงและอัดเพลงลงแผ่นซีดี
กิจกรรมการแสดงดนตรีร่วมอื่นๆ
Marimba/Oboe – แสดงดนตรีร่วมกับ François Leleux อดีตนักดนตรีโซโลผู้เชี่ยวชาญของวงซิมโฟนี่ออเคสตร้าแห่งสถานีวิทยุบาวาเรียน (วาทยกรโดย Dir. Lorin Maazel)
Marimba/Clarinette – แสดงดนตรีร่วมกับ Patrick Messina นักดนตรีโซโลผู้เชี่ยวชาญของวงออเคสตร้าแห่งประเทศฝรั่งเศส (วาทยกรโดย Dir. Kurt Mazur)
Marimba/Cello – แสดงดนตรีร่วมกับ Henri Demarquette
ได้รับเชิญให้เล่นดนตรีร่วมกับ Trilok Gurtu และ Louis Sclavis ในอัลบั้ม “Lueurs bleue” และ “IL ya de l’Orange dans le bleu” ของ Daniel Goyone
ร่วมแสดงภาพยนตร์
ฟรองซัวส์ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่อง “Lost in Translation” (ภาพยนตร์เรื่องนี้ชนะการประกวดรางวัลออสก้าในหมวดบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ซึ่งกำกับการแสดงโดย Sofia Coppola)
หลักการแบบดูบัวส์ (Dubois Method)
ฟรองซัวส์ ดูบัวส์ได้คิดค้นวิธีการจัดการบริหารอาชีพงาน (career management method) ที่ให้ชื่อว่า “หลักการแบบดูบัวส์ (Dubois Method)” โดยอาศัยประสบการณ์จากการเป็นครูและนักดนตรีตลอดหลายปีที่ผ่านมา รวมทั้งประสบการณ์จากการเป็นนักแสดงรำมวยไท๊เก๊กในระยะหลังนี้ด้วย วิธีการหรือหลักการนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในหลักสูตรวิชา “Personal Career Management” ที่เขารับผิดชอบสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเคโอในประเทศญี่ปุ่น และได้มีการเชิญแขกผู้มีเกียรติมาบรรยายมากมายรวมทั้ง Carlos Ghosn ผู้จัดการบริษัทรถยนต์นิสสันด้วย
เนื้อหาการสอนของหลักการดูบัวส์ดังกล่าวมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ ① เกม ② ออกกำลังกายภาพร่ายรำมวบไท๊เก๊กซึ่งมีรากฐานมาจากศิลปะการต่อสู้กังฟูของจีน และทฤษฏีทางการแพทย์จีน ③ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (มีรากฐานจากทฤษฏีการควบคุมทางจิตวิทยา)④ ด้านดนตรี (มีรากฐานจากทฤษฏีดนตรีของแอฟฟริกา)
หนังสือพิมพ์อะซะฮิ ปีค.ศ.2005 – ค.ศ.2006 เป็นนักเขียนประจำคอลัมน์ของ “AERA Eng” เขียนบทความเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
แจแปน ไทม์ส (Japan Times) ปีค.ศ.2007 เป็นนักเขียนคอลัมน์ “Japan Times Jr” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
หนังสือพิมพ์นิคเค ปีค.ศ.2008 – ค.ศ.2009 เป็นนักเขียนคอลัมน์ “Ecolomy” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
หนังสือพิมพ์อาซาฮิ ปีค.ศ.2010-2011 เขียนประจำคอลัมน์ “Job Labo” เขียนเกี่ยวกับการวางแผนการทำงาน Career Planning
สมาคมอิเอะโนะฮิคาริ (Ie no hikari) ปีค.ศ. 2011-2012 เขียนประจำคอลัมน์ “อิเอะโนะฮิคาริ” ซึ่งเป็นคอลัมน์เกี่ยวกับสุขภาพกายและจิตใจ
งานเขียน
“anata wa motto sugoi ikikata ga dekiru” (“คุณสามารถมีชีวิตที่วิเศษยิ่งขึ้น”) (สำนักพิมพ์ Mikasashobo, Japan) ISBN 4837956688
“koibito no tsukurikata” (“วิธีหาแฟน”) (สำนักพิมพ์ Graph-sha, Japan) ISBN 4766209788
“dame na jibun ga kawaru hon” (“หนังสือที่สามารถเปลี่ยนส่วนบกพร่องในตัวคุณเอง”) ได้รับการแนะนำจากนายMogi Kenichiro นักจิตวิทยาและนักวิจัยทางสมอง (สำนักพิมพ์ WAVE, Japan) ISBN 4872902769
“nihonjin ni wa oshienakatta gaikokujin toppu no sugoi shigoto jutsu” (“กลยุทธการทำงานอันวิเศษของยอดชาวต่างชาติ ที่ชาวญี่ปุ่นไม่เคยรู้มาก่อน”) พร้อมเนื้อหาของแขกผู้รับเชิญหลัก Carlos Ghosn (สำนักพิมพ์ Kodansha Biz) ISBN 4062820498
“Dubois shikou hou” (“แนวทางดูบัวส์”) (สำนักพิมพ์ Diamond-sha) ISBN 4478005958
“itsumo ii houkou ni jinnsei ga ugoku 1% no hitotachi” (“คนเพียง1% ที่สามารถนำชีวิตมุ่งหน้าไปในทางที่ดีเสมอ”) (สำนักพิมพ์ Seishunshuppan) ISBN 4413036905
“unmei o kaeru sainou no mitsukekata Dubois Method” (“หลักการดูบัวส์ ช่วยทำให้ค้นพบพรสวรรค์ในการเปลี่ยนชะตาชีวิต”) (สำนักพิมพ์ Magazine House) ISBN 4838721676
“jinsei o yutaka ni ayumu tameni taisetsu na koto doudemo ii koto” (“สิ่งที่สำคัญ และสิ่งที่ไม่สำคัญ เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์”) (สำนักพิมพ์ Diamond-sha) ISBN 4478014213
“karada o ugokaseba kokoro wa hontou no kotae o dasu!” (“การเคลื่อนไหวทางกายภาพส่งผลให้จิตใจพบคำตอบที่แท้จริง”) (สำนักพิมพ์ Seishunshuppan) ISBN 4413037952
”taikyokuken ga oshietekureta jinsei no takaramono – chuugoku, butou zan 90 nichikan shuugyou no ki” (“สมบัติแห่งชีวิตจากการเรียนการออกกำลังกายศิลปะมวยไท๊เก๊ก – บันทึกการฝึกฝน 90 วันบนเขาวูดัง(Wudang mountains) ประเทศจีน”) (สำนักพิมพ์ Koudansha bunko) ISBN 4062770644
“fransujin mentaa ga oshiete kureru , 49 no majikku pointo:jibun no kansei de ikiyou!” (“49 จุดมหัศจรรย์จากนักจิตแนะแนวชาวฝรั่งเศส:ดำรงชีวิตโดยแรงบันดาลจากความรู้สึกของตนเอง”) (สำนักพิมพ์ Keimeisha ภาษาเกาหลี) ISBN 978-89-7256-105-7, 03320
“hassou-hou to ikiru houhou :Dubois sensei to, sekai teki CEO tachi to no taiwa” (วิธีคิดค้น และวิธีการดำรงชีวิต :การสนทนาระหว่างอาจารย์ดูบัวส์ และผู้นำระดับบริหารกิจการหรือหน่วยงานต่างๆ ระดับโลก”) (สำนักงาน Shin sekai shuppansha) ISBN 978-7-5104-2549-3