บริทิชมิวเซียม (อังกฤษ: British Museum) ในย่านบลูมส์บรีของลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นสถาบันสาธารณะที่ตั้งขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ประวัติศาสตร์มุนษย์, ศิลปะ และ วัฒนธรรม ของสะสมถาวรของพิพิธภัณฑ์มีจำนวนราวแปดล้านชิ้นและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลก และครอบคลุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์[3] ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมนับตั้งแต่สมัยของจักรวรรดิอังกฤษ เป็นต้นมา ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถบอกเล่าความเป็นมาของมนุษยชาติได้ตั้งแต่อดีต[a] บริทิชมิวเซียมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดแก่สาธารณะแห่งแรกของโลก[4]
พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1753 โดยส่วนใหญ่ได้มาจากของสะสมของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวไอริช เซอร์ฮานส์ สโลน[5] และเปิดสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 1759 ในมอนทากูเฮาส์ ที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน ในปัจจุบันมีสถาบันสาขาของพิพิธภัณฑ์มากมาย โดยสถาบันแรกที่แยกสาขาออกมาคือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในปี 1881.
ความเป็นเจ้าของของพิพิธภัณฑ์เหนือโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดบางชิ้นที่ได้มาจากประเทศอื่นยังคงเป็นที่ถกเถียงในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของงานสลักหินอ่อนเอลกิน[6] จากกรีซ, ศิลารอเซตตา[7] จากอียิปต์ และทองสัมฤทธิ์เบนิน จากราชวงศ์เบนิน
อ้างอิง
- ↑ "Collection size". British Museum.
- ↑ Art Newspaper annual museum survey, 9 April 2020
- ↑ "About us". British Museum. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
- ↑ "History of the British Museum". The British Museum (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ "The Life and Curiosity of Hans Sloane". The British Library (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ Tharoor, Kanishk (29 June 2015). "Museums and looted art: the ethical dilemma of preserving world cultures". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 April 2018.
- ↑ "The Big Question: What is the Rosetta Stone, and should Britain return". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 9 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
วิชาการ | |
---|
ศิลปิน | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน