พัก ว็อน-ซุน (เกาหลี: 박원순; 26 มีนาคม 2499 - 9 กรกฎาคม 2563) เป็นนักกฎหมายชาวเกาหลีใต้ เขาได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีโซล, เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2554[1] ได้รับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ ด้วยการสนับสนุนของพรรคประชาธิปไตยและพรรคแรงงานประชาธิปไตย ชัยชนะของพักพิจารณาได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพรรคเซนูรีและบุคคลที่คาดหมายว่าจะได้รับการเสนอเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี พัก กึนฮเย, ผู้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนา คยองวอน คู่แข่งของพัก โดยพักได้รับการสนับสนุนจาก อัน ชอลซู จนทำให้ได้รับชัยชนะในฐานะผู้สมัครอิสระ.[2] อย่างไรก็ตาม การไร้ความสามารถของพรรคประชาธิปไตยในการที่จะเสนอผู้เข้าชิงของตนเองและคำปฏิเสธของพักในการที่จะเข้าร่วมพรรคหลังจากที่เขาได้รับการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ นำไปสู่การเสนอพักในฐานะผู้สมัครอิสระในความสนใจจากพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นทั้งสอง[2][3]
ในเดือนกรกฎาคม 2563 พักถูกประกาศว่าเป็นบุคคลสูญหาย ภายหลังจากที่บุตรสาวของเขารายงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าพักได้ขาดการติดต่อไป[4] ก่อนจะพบเสียชีวิตในวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ด้วยวัย 64 ปี
นายกเทศมนตรีกรุงโซล
การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงโซล พ.ศ. 2554
พักได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซล ซึ่งได้จัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ในฐานะผู้สมัครอิสระ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคประชาธิปไตย และพรรคแรงงานประชาธิปไตย ชัยชนะของพักหมายความถึงการเอาชนะอิทธิพลของพรรคแซนูรี ของ พัก กึน-ฮเย ซึ่งให้การสนับสนุน นา คย็อง-ว็อน คู่แข่งของพัก และพักยังได้รับคะแนนเสียงจากกลุ่มผู้สนับสนุน อัน ช็อล-ซู ผู้สมัครอิสระคนสำคัญ[2]
ภารกิจ
พักได้เสนอให้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตร และจัดวงดนตรีออเคสตร้า ระหว่างโซลกับเปียงยาง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวงของทั้งสองประเทศ[5] และขายังได้กล่าวชื่อชมระบของรัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่นระหว่างที่เขาเข้าร่วมซ้อมการป้องกันภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น[6]
ในต้นปี พ.ศ. 2555 พักถูกกล่าวหาว่าได้เข้าไปแทรกแซงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในการตรวจสุขภาพเพื่อคัดเลือกเข้าเป็นทหารเกณฑ์ของกองทัพเพื่อให้บุตรชายของเขาได้ไปประจำการในพื้นที่ปลอดภัย[7] อย่างไรก็ตามภายหลังจากการตรวจสุขภาพแล้ว ได้มีการประกาศว่าพักและบุตรชายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และได้รับคำขอโทษจากผู้กล่าวหาแล้ว[7] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 พักได้เข้าร่วมพรรครวมประชาธิปไตย[8]
ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555 ภายใต้การนำของพัก รัฐบาลนครพิเศษโซลประกาศแผนวิสัยทัศน์ร่วม ภายใต้โครงการเมืองแห่งการแบ่งปัน[9] ผลจากโครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำให้พักได้รับการยอมรับจากในเกาหลีใต้และระดับนานาชาติในการเป็นผู้นำแห่งแนวคิดเมืองแห่งการแบ่งปัน[10][11][12]
ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556 รถไฟใต้ดินโซล สาย 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ รถไฟใต้ดินโซล ประกาศขึ้นค่าโดยสารอย่างกระทันหัน[13] พักได้ออกมาคัดค้านการขึ้นค่าโดยสารโดยไม่ได้มีการต่อรองกันกับรัฐบาลนครพิเศษโซล และประกาศว่าถ้ารถไฟใต้ดินโซล สาย 9 ยังดำเนินการขึ้นราคาตามที่ได้ประกาศไว้ รัฐบาลนครพิเศษโซลจะเข้าควบคุมบริษัทรถไฟใต้ดิน[14]จนในที่สุดบริษัทรถไฟใต้ดินโซล สาย 9 ก็ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษประชาชนในกรุงโซล[13][14]
ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 พักได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซลสมัยที่ 2 และในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 พักก็ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซล สมัยที่ 3 ถือเป็นบุคคลแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงโซลติดต่อกันสามสมัย[15]
เสียชีวิต
ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 บุตรสาวของเขาได้แจ้งแก้เจ้าหน้าที่ว่าพักหายตัวไปที่เขตซ็องบุก, โซล[16] โดยในวันดังกล่าวพักได้ลาป่วยและมีผู้พบเห็นครั้งสุดท้ายสี่ชั่วโมงก่อนมีการแจ้งการหายตัวของเขา เมื่อเวลา 17.17 นาที ตามเวลาท้องถิ่น[17] โดยก่อนการหายตัวไปหนึ่งวัน เขาถูกกล่าวหาว่ากระทำการคุมคามทางเพศ[18] โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ของพักมีการปิดเครื่อง และลูกสาวของเขาได้พบเอกสาร ที่มีลักษณะเป็นพินัยกรรม[19] ซึ่งภายหลังรับแจ้งเหตุเจ้าหน้าที่ก็ทำการค้นหาโดยใช้สุนัขและโดรนทั่วทั้งเขตซ็องบุก[20] ต่อมาเมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ตามเวลาประเทศเกาหลีใต้ มีการพบศพของพักใกล้กับประตูซุกจ็อง บนภูเขาบูกักทางตอนเหนือของกรุงโซล[21][22] มีการรายงานว่าพักได้ฆ่าตัวตาย[23][24]
ครอบครัวของพักได้ยินยอมให้มีการจัดรัฐพิธีศพ ซึ่งจัดขึ้นที่ศาลาว่าการกรุงโซล และมีการถ่ายทอดผ่านช่องทางออนไลน์ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ทั้งยังมีการไว้อาลัยกว่า 992,000 คน ผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ของสำนักงานนครพิเศษโซล แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงไม่เห็นด้วยในการจัดรัฐพิธีศพเนื่องจากพักถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศ แต่งานรัฐพิธีศพก็ยังคงจัดต่อไปโดยใช้เงินภาษีประชาชน[24]
อ้างอิง
- ↑ http://blogs.voanews.com/breaking-news/2011/10/26/seoul-residents-elect-liberal-novice-as-mayor/
- ↑ 2.0 2.1 2.2 'Outsider in: A blow for mainstream parties, of whatever hue'. The Economist, retrieved 27 October 2011. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "economist" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
- ↑ 'Seoul Election Spells 'No-Confidence' in Political Establishment'. Chosun Ilbo, retrieved 27 October 2011.
- ↑ "Seoul Mayor Park Won-soon reported missing, sparking police search". The Los Angeles Times. July 9, 2020.
- ↑ Park, Ki-yong (January 2, 2012). "Park Won-soon suggests Seoul-Pyongyang soccer match and orchestra performance". The Hankyeoreh. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2012. สืบค้นเมื่อ February 10, 2012.
- ↑ Lee (이), Chung-weon (충원) (February 10, 2012). "Archived copy" 박원순 "일본식 작고 합리적 자치시스템 배워야". Yonhap News (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2016. สืบค้นเมื่อ February 10, 2012.
{{cite news}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
- ↑ 7.0 7.1 Kim, Ji-seop (February 22, 2012). "병무청 제출 박원순시장 아들 MRI, 본인 것 맞다". Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2012. สืบค้นเมื่อ February 22, 2012.
- ↑ "Won-Soon Park". Berggruen.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2019. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ Seoul Metropolitan Government. ""The Sharing City Seoul" Project". SEOUL website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2017. สืบค้นเมื่อ March 23, 2018.
- ↑ Johnson, Cat (June 3, 2014). "Sharing City Seoul: a Model for the World". Shareable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2018. สืบค้นเมื่อ March 29, 2018.
- ↑ Gorenflo, Neal (November 18, 2016). "Seoul's Mayor Park Launches Korea-wide Sharing Cities Collaboration at Annual Sharing Festival". Shareable. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2018. สืบค้นเมื่อ March 23, 2018.
- ↑ McLaren, Duncan; Agyeman, Julian (2015). Sharing cities : a case for truly smart and sustainable cities. MIT Press. pp. 71–77. ISBN 9780262029728.
- ↑ 13.0 13.1 "9호선 요금 500원 인상? 서울시 "공문 안떼면 과태료". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2013. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
- ↑ 14.0 14.1 "9호선쪽 "예정대로 요금 인상" 서울시 "9호선사장 해임 명령". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2013. สืบค้นเมื่อ April 6, 2013.
- ↑ Wallace, Danielle (July 9, 2020). "Missing Seoul mayor's body found after massive search". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ Im, Gi-chang (July 9, 2020). [속보] "박원순 서울시장 실종" 딸이 경찰에 신고 (ภาษาเกาหลี). Yonhap News Agency. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ Kim, Jun-yeop (July 9, 2020). [속보] "박원순 서울시장 유언 남기고 나가" 딸이 경찰에 신고. Kookmin Ilbo (ภาษาเกาหลี). Kookmin Ilbo Company. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ "박원순이 성추행, 사진도 보내 前비서 어제 고소장". Chosun Ilbo. July 9, 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Search has begun for missing Seoul mayor, whose phone was turned off". Inquirer. July 9, 2020.
- ↑ "Seoul mayor Park Won-soon missing; search op underway". IB Times. July 9, 2020. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ "박원순 서울시장 북악산 숙정문 인근서 숨진 채 발견". 연합뉴스. July 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ "Seoul mayor found dead in northern Seoul: police". Yonhap News Agency. July 10, 2020. สืบค้นเมื่อ July 9, 2020.
- ↑ Park, Si-soo (10 July 2020). "Mayor killed himself: police". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ 24.0 24.1 "Controversy over how to mourn Seoul's 'feminist mayor' reportedly accused of sexual harassment". Australian Broadcasting Corporation. 13 July 2020. สืบค้นเมื่อ 13 July 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)