พระราชวรคุณ[1] นามเดิม สมศักดิ์ ดีมาก ฉายา ปณฺฑิโต อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต), อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดบูรพาราม พระอารามหลวง เฉลิมพระเกียรติ
ชาตภูมิ
พระราชวรคุณ นามเดิมชื่อ สมศักดิ์ ดีมาก เกิดวันเสาร์ที่ 24 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2474 ตรงกับวันขึ้น13 ค่ำ เดือน11 ปีมะแม ณ บ้านตานงค์ หมู่ที่ 14 ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โยมบิดาชื่อ นายธรรม โยมมารดาชื่อ นางเบียน นามสกุล ดีมาก
การศึกษา
การบรรพชาและอุปสมบท
ในปี พ.ศ. 2491 อายุได้ 16 ปีบริบูรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบูรพารามตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบ20 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันพุธ ที่4 เดือน เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (ดูลย์ อตุโล) สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูคุณสารสัมบัน (โชติ คุณสมฺปนฺโน) สมณศักดิ์สุดท้ายที่พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์วรารามวรวิหาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่าปณฺฑิโต
การรวบรวม/เรียบเรียง จัดทำตำราหนังสือคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
หลวงปู่สมศักดิ์ เป็นผู้ที่อุปัฏฐากรับใช้ดูแลการบริหารงานภายในวัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งพระราชวุฒาจารย์ (ดุลย์ อตุโล) ละสังขาร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526 หลังจากพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์แล้ว ท่านเป็นผู้ที่รวบรวมคำสอนของ หลวงปู่ดูลย์อย่างละเอียด หลักธรรมคำสั่งสอน โอวาทธรรมของหลวงปู่ดูลย์ ซึ่งจะกล่าวเพียงสั้นๆ พูดน้อยๆ แต่ละคำพูดของท่าน แต่ละประโยคมีความหมายเนื้อหาลึกซึ้งมีปฏิภาณไหวพริบเร็วฉับไวมาก ฟังแล้วต้องตริตรองด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง เช่น หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ อตุโล ไม่มีใดเทียม เป็นต้น
ตำแหน่งงานทางคณะสงฆ์
รางวัลเกียรติคุณ
มรณภาพ
พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) อาพาธด้วยโรคประจำตัว และโรคชราภาพ เป็นผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พำนักรักษาตัว ณ ห้องปลอดเชื้อ กุฏิพิทยาภรณ์ วัดบูรพาราม และถึงแก่มรณภาพ[2]ลงอย่างสงบ ณ ห้องปลอดเชื้อ กุฏิทิพยาภรณ์ วัดบูรพาราม วันที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 15.09 น.
สมณศักดิ์
ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม ๙๐,ตอนที่ ๑๗๗, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖,ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ .พระสมศักดิ์ วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ เป็น พระครูนันทปัญญาภรณ์ แจ้งความ ณ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๖ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2522 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระโพธินันทมุนี (12 สิงหาคม พ.ศ. 2535)[4]
- พ.ศ. 2548 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรคุณ วิบูลธรรมโสภิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิง
- ↑ http://www.kaentong.com/index.php?topic=11984.0
- ↑ chanhena, Bandit. "คณะศิษย์อาลัย "หลวงปู่สมศักดิ์" วัดบูรพาราม ละสังขารสงบ สิริอายุ 91 ปี". เดลินิวส์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม ๙๐,ตอนที่ ๑๗๗, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖,ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ .พระสมศักดิ์ วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ เป็น พระครูนันทปัญญาภรณ์ แจ้งความ ณ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๑๖ สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101, 12 สิงหาคม 2535, ฉบับพิเศษ หน้า 11
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 5