พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต)

พระพิมลธรรม

(ช้อย ฐานทตฺโต)
ส่วนบุคคล
เกิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 (56 ปี 65 วัน ปี)
มรณภาพ15 มกราคม พ.ศ. 2491
นิกายมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2447
อุปสมบทพ.ศ. 2454
ตำแหน่งสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

พระพิมลธรรม นามเดิม ช้อย ฝอยทอง ฉายา ฐานทตฺโต เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายมหานิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ เจ้าคณะตรวจการภาค 1 สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การสาธารณูปการ และสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง

ประวัติ

พระพิมลธรรม มีนามเดิม ช้อย ฝอยทอง เกิดเมื่อวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 ปีเถาะ ตรงกับวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 เวลา 7.05 น. เป็นบุตรนายบุญธรรมกับนางพวง ฝอยทอง ภูมิลำเนาอยู่บ้านใหม่หางกระเบน หมู่ 5 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ 9 ขวบ ท่านได้เข้าศึกษากับพระอาจารย์น้อย วัดจันทร์ประเทศ จนอายุได้ 11 ปี จึงย้ายไปศึกษากับพระมหาหรุ่น ป.ธ. 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

พ.ศ. 2447 ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปีนั้นพระมหาหรุ่นอาพาธต้องกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิด จึงฝากให้พระมหาเฮง เขมจารี เป็นผู้ปกครองแทน ถึงปี พ.ศ. 2454 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (เข้ม ธมฺมสโร) และพระศรีวิสุทธิวงศ์ (เฮง เขมจารี) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์[1]

ขณะยังเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 17 ปีท่านสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค[2] อายุ 18 ปีสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค[3] และอายุ 20 ปีสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค[4] หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ขณะอายุได้ 21 ปี ท่านสอบได้อีกเป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นแพรเหลืองประดับเลื่อม มีนิตยภัตราคาเดือนละ 9 บาท[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2472[6] ต่อมาจึงตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2474[7] เมื่อมณฑลนครสวรรค์ถูกยุบรวมเข้ากับมณฑลอยุธยา จึงโปรดให้ท่านออกจากตำแหน่งเดิม แล้วตั้งเป็นรองเจ้าคณะมณฑลอยุธยาแทนตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475[8]

สมณศักดิ์

  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2463 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสมโพธิ์[9]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชโมลี ศรีปาพจนาภรณ์ธรรมพาที ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2478 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ปรีชาญาณดิลก ตรีปิฎกคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี[12]
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2488 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระพิมลธรรมมหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูสิต ยติกิจสาทร มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]

มรณภาพ

พระพิมลธรรม ตรากตรำทำงานอย่างหนักจนเริ่มอาพาธ และเข้าโรงพยาบาลศิริราชในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2491 แพทย์ตรวจพบว่าท่านเป็นโรคปอดบวม แม้จะถวายการรักษาอย่างเต็มที่ อาการของท่านกลับทรุดลงต่อเนื่อง จนถึงเวลา 5.00 น. เศษ ของวันที่ 15 มกราคม ท่านกล่าวเป็นครั้งสุดท้ายว่า

สังขารไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ขออย่ายึดถือเป็นสาระอะไรเลย
ทั้งสัทธิวิหาริก ทั้งอันเตวาสิก ทั้งท่านผู้เคารพนับถือ และทุก ๆ คน ฉันขอให้อโหสิกรรมในที่สุด

จากนั้นท่านก็ไม่กล่าวอะไรอีก จนกระทั่งมรณภาพในเวลา 5.40 น.[14] สิริอายุได้ 56 ปี 65 วัน

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒, หน้า 197
  2. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง การสอบไล่พระปริยัติธรรมประจำ ศก ๑๒๖ กับรายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่ได้]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 2): หน้า 37. 12 เมษายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี [เรื่อง รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 52): หน้า 1489. 28 มีนาคม ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง รายงานการสอบไล่พระปริยัติธรรม ศก ๑๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 521. 11 มิถุนายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "รายนามพระสงฆ์สามเณร ที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในรัตนโกสินทร์ ศก ๑๓๐ ที่ได้รับพระราชทานพัดเปรียญและเปลี่ยนพัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน ง): หน้า 795. 7 กรกฎาคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ เรื่อง ตั้งรองเจ้าคณะมณฑล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 46 (ตอน 0 ง): หน้า 1808. 1 กันยายน 2472. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ พระราชาคณะลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะยุบและตั้งเจ้าคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 2580. 18 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ พระราชาคณะลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะยุบและตั้งเจ้าคณะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 5188. 27 มีนาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระราชทานสัญญาบัตรพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37: หน้า 3391. 9 มกราคม 2463. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "รายนามพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 44 (ตอน 0 ง): หน้า 2526. 13 พฤศจิกายน 2470. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 48 (ตอน 0 ง): หน้า 2920. 8 พฤศจิกายน 2474. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "แจ้งความนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 52 (ตอน 0 ง): หน้า 1892-1893. 22 กันยายน 2478. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 62 (ตอนที่ 72 ก): หน้า 721-723. 25 ธันวาคม 2488. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. นิพนธ์ต่างเรื่อง, หน้า (12)
บรรณานุกรม
  • กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. หน้า 196-201. ISBN 974-417-530-3
  • พระพิมลธรรม ฐานทตฺตเถร. นิพนธ์ต่างเรื่อง. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2491. 400 หน้า. หน้า (1) - (12). [พิมพ์เป็นอนุสาวรีย์ในงานพระราชทานเพลิงศพขององค์ท่าน ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๑]


ก่อนหน้า พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) ถัดไป
สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)
สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง
(พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2491)
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!