พระครูภาวนากิจจาภิรม วิ. (นามเดิม: สมชาย แสงสิน) น.ธ.เอก, ปบ.ส., พธ.บ., พธ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน) ผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์[3], เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3[4][5], รองเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา[6] พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน[7] เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 อุปสมบทเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2530 หลังจากสำเร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ. 2533 ได้ออกธุดงค์และไปอยู่ที่สวนโมกขพลารามเพื่อฝึกปฏิบัติธรรมกับท่านพุทธทาส จนหลังจากท่านพุทธทาสมรณภาพในปี พ.ศ. 2536 ท่านจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดคุ้งตะเภา จนถึงปัจจุบัน
ท่านเป็นพระสงฆ์นักพัฒนา เป็นประธานมูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา[8] เป็นนักเผยแผ่ศาสนาพุทธ และนักปฏิบัติธรรมรูปสำคัญในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดเจนในหมู่คณะพระนักเผยแผ่ และคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งในด้านสาธารณูปการ สาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาคณะสงฆ์ มานับสิบปี เป็นที่เคารพนับถือของบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วไปในจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน[9]
ด้วยเหตุที่ท่านเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ จึงทำให้ท่านได้รับถวายรางวัลจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มากมาย จนในปี พ.ศ. 2554 ท่านจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดที่มอบถวายแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย[10]
ประวัติ
แรกบวช
พระครูภาวนากิจจาภิรม วิ.[a] (สมชาย) เกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของพ่ออู๋ แสงสิน และแม่ละมาย แสงสิน ชาติภูมิคนคุ้งตะเภาโดยกำเนิด บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2530 ณ พัทธสีมาวัดคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีพระครูคัมภีร์ธรรมคุณ เจ้าคณะตำบลท่าเสา เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันพระสมุห์สมชายจำพรรษาอยู่ที่วัดคุ้งตะเภา
ออกปฏิบัติ
หลังจากบรรพชาอุปสมบท หลวงพ่อสมชาย ได้ศึกษาปริยัติธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2533 ท่านได้ปฏิเสธการรับตำแหน่งพระสังฆาธิการเจ้าอาวาส และได้มีศรัทธาออกธุดงค์ในช่วงหลังออกพรรษาของทุกปีไปยังพื้นที่ป่าเขาชนบททั้งในและนอกประเทศ เพื่อโปรดสาธุชนและฝึกปฏิบัติธรรม ตั้งแต่สิบสองปันนา (ประเทศจีน) เชียงตุง (ประเทศพม่า) รัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) กัมพูชา รวมถึงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2534 หลวงพ่อสมชายได้ธุดงค์ไปจังหวัดภาคใต้ และได้เข้าพักที่สวนโมกขพลาราม และอยู่ฝากตัวเพื่อปฏิบัติศึกษาธรรมกับหลวงพ่อพุทธทาสก่อนที่ท่านพุทธทาสจะมรณภาพ และเป็นหนึ่งในพระลูกศิษย์ไม่กี่รูปที่อยู่ในวันฌาปนกิจสรีระของหลวงพ่อพุทธทาสในปี พ.ศ. 2536
สร้างบารมี
หลังจากหลวงพ่อพุทธทาสมรณภาพลง ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดคุ้งตะเภา วัดบ้านเกิดของท่าน และได้รับตราตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ แต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ในปี พ.ศ. 2540[12] ได้รับฐานานุกรมที่พระสมุห์ในปี พ.ศ. 2542[13] และเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ในปี พ.ศ. 2554 [14] โดยหลังจากท่านกลับมาจำพรรษายังวัดบ้านเกิด ท่านได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการแก่วงการพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้งในด้านสาธารณูปการ สาธารณสงเคราะห์ และการศึกษาคณะสงฆ์จนถึงปัจจุบัน
ผลงาน
ในด้านการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมในวัดคุ้งตะเภา จัดการศึกษาศาสนศึกษาแก่เด็กและเยาวชนในตำบลคุ้งตะเภา ตั้งศูนย์พุทธศาสนศึกษาวันอาทิตย์ในวัดโดยไม่หวังพึ่งงบประมาณจากภาครัฐ รวมถึงเป็นประธานริเริ่มจัดโครงการต่าง ๆ มากมาย เพื่อส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมสู่เยาวชน และประชาชน เช่น โครงการ บวร บ้าน-วัด-โรงเรียน, โครงการปาฐกถาธรรมนำใจ, โครงการต้นไม้พูดได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นประธานจัดโครงการสืบสานศาสนทายาทบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และโรงเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพระธรรมวิทยากรจัดอบรมเยาวชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ค่ายคุณธรรมจริยธรรม, ค่ายพุทธบุตร และโครงการปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติด โดยจัดนับสิบโครงการตลอดทั้งปี มานานนับสิบปี และมีเยาวชนผ่านโครงการต่าง ๆ ที่จัดแล้วนับหมื่นคน ด้านการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อสมชายได้จัดโครงการปฏิบัติธรรมธุดงค์วัตรธรรมจาริก เพื่อฝึกพระภิกษุให้มีความชำนาญด้านการปฏิบัติภาวนา ความอดทน เป็นการสร้างพระวิทยากรที่ชำนาญการปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และฉลองศรัทธาแก่ชาวเขาและสาธุชนผู้เลื่อมใสในเขตทุรกันดารมานานนับสิบรุ่น
ในด้านสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ หลวงพ่อสมชาย เป็นพระสงฆ์รูปสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ที่มีความเชี่ยวชาญในงานด้านนวกรรม ดังปรากฏผลงานการเป็นผู้นำประชาชนก่อสร้างศาสนสถานกว่ายี่สิบแห่ง รวมถึงเป็นผู้นำประชาชนในชุมชนนำสิ่งของบรรเทาทุกข์แจกจ่ายแก่ผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ สิ้นงบประมาณไปกว่ายี่สิบล้านบาท จนเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของประชาชนทั่วไป
หลวงพ่อสมชาย เป็นพระสงฆ์วัดบ้านนักปฏิบัติที่มีความรู้สามารถและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ชัด แต่เป็นพระสงฆ์ที่ไม่มีความถือตัวและไม่ปรารถนาตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ใด ๆ ในหมู่ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดจะรู้กันเป็นอย่างดีว่าหลวงพ่อสมชายเป็นพระสงฆ์ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านมักหาโอกาสภาวนาเสมอ ๆ ไม่สะสมเงินทอง ไม่เคยมีอารมณ์ขึ้นหรือลงทั้งวาจาและการกระทำ ทำให้สหธรรมิกผู้ได้รู้จักใกล้ชิดจะมีความเคารพรักและศรัทธาในปฏิปทาของท่าน[15] ทำให้ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในปี พ.ศ. 2565[16]
การศึกษา
เกียรติคุณที่ได้รับ
รางวัลพระราชทาน และรางวัลประทาน จากพระบรมวงศานุวงศ์
รางวัลจากองค์กรต่าง ๆ
สมณศักดิ์
เชิงอรรถ
- ↑ วิ. คือคำย่อต่อท้ายราชทินนามที่ปรากฏในพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ในปัจจุบัน แสดงถึงพระราชศรัทธาตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรหรือพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ เทียบได้กับฝ่ายอรัญวาสีในสมัยโบราณ โดยสมณศักดิ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระมีลำดับพัดยศสมณศักดิ์สูงกว่าฝ่ายคามวาสีในชั้นเดียวกัน[11]
อ้างอิง
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2563, 6 มกราคม). คำสั่งที่ 01/2563 เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ. (2561, 28 มกราคม). ตราตั้งพระอุปัชฌาย์ ที่ 20/2561 [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2563, 6 มกราคม). คำสั่งที่ 01/2563 เรื่อง การแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙
- ↑ มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2559, 9 พฤษภาคม). คำสั่งที่ 01/2559 เรื่อง ตราตั้งรองเจ้าคณะตำบล [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554, 29 ธันวาคม). คำสั่งที่ 10/2554 เรื่อง ตราตั้งเจ้าอาวาส [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ "มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา", เล่ม ๑๓๓ ตอน ๔๔ ง, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๔๙-๕๐
- ↑ เทวประภาส มากคล้าย. (2553). คุ้งตะเภา จากอดีตสู่ปัจจุบัน : พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ประเพณีวัฒนธรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ISBN 9789743648847
- ↑ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. (2554). ข่าวในพระราชสำนัก สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ประจำปี ๒๕๕๔. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : [1] เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 11-5-54
- ↑ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร. (2565). ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรมและเปรียญ ในพระราชพิธีและรัฐพิธี พ.ศ. ๒๕๕๙
. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.m-culture.go.th/phichit/article_attach/article_fileattach_20220912145054.pdf }}
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2540, 24 กุมภาพันธ์). คำสั่งที่ 25/2540 เรื่อง ตราตั้งรองเจ้าอาวาส [พระสมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์. (2542, 26 ธันวาคม). คำสั่งที่ 3/2542 เรื่อง ตราตั้งฐานานุกรม โดยพระบรมราชานุญาต [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ เจ้าอาวาส (จร.) : พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ คำสั่งเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2554, 29 ธันวาคม). คำสั่งที่ 10/2554 เรื่อง ตราตั้งเจ้าอาวาส [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ คณะกรรมการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร. (2553). สูจิบัตรพิธีมอบรางวัลพุทธคุณูปการ ประจำปี 2553. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. หน้า240
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระครูสัญญาบัตร, เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๕๖ ข, ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑๕
- ↑ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2554). ประกาศคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี 2554 เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [2][ลิงก์เสีย][3][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 11-10-53
- ↑ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ . (2558). รางวัล “เสาอโศกผู้นำศีลธรรม”. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=10290:2015-05-20-12-49-34&catid=170:2014-11-20-15-55-13&Itemid=422[ลิงก์เสีย]
- ↑ กระทรวงวัฒนธรรม. (2556). ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง ผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๖. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [4][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 1-10-56
- ↑ สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. (2556). ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ถวายโล่ประกาศเกียรติคุณแด่พระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อจังหวัดอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [5][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 27-9-56
- ↑ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร. (2553). สรุปผลการประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 37 วันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 1 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 1. คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ใน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [6][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 27-8-53
- ↑ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร. (2553). ประกาศ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่ 5 / 2553 เรื่อง รายนามผู้ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา [7][ลิงก์เสีย]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 11-10-53
- ↑ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2554, 2 สิงหาคม). ใบประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อคณะเกษตรศาสตร์ ด้านภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่น [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ กองบัญชาการทหารสูงสุด. (๒๕๔๖). รางวัลเกียรติยศดีเด่น ศูนย์พัฒนาคุณธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในฐานะศูนย์พัฒนาคุณธรรมตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพ ตามโครงการ กองทัพธรรม กองทัพไทย ต้านภัยยาเสพติด ประจำปี ๒๕๔๖. ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์. (2538, 30 มีนาคม). ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ ประจำปี 2538 [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระครูสัญญาบัตร, เล่ม ๑๓๙ ตอนที่ ๕๖ ข, ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑๕
- ↑ เจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์. (2542, 26 ธันวาคม). คำสั่งที่ 3/2542 เรื่อง ตราตั้งฐานานุกรมในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ [พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ].
แหล่งข้อมูลอื่น