ป้ายจราจร คือเครื่องหมายที่ใช้ในการควบคุมการจราจร ซึ่งทำให้ปรากฏอยู่บนแผ่นป้าย กล่อง ผนัง หรือที่อื่นใด โดยทำด้วยแผ่นโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่นใด ที่แสดง ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏไว้ในเขตทางหลวง ในลักษณะและตำแหน่งที่เห็นได้โดยง่ายและชัดเจน เพื่อให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ ปฏิบัติตามเครื่องหมายนั้น หรือเป็นการแจ้งข้อมูล หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ทางหลวงนั้น[1]
รายการด้านล่างนี้เป็นป้ายจราจรที่ใช้ในประเทศไทย
ป้ายบังคับ
ป้ายบังคับ (Regulatory Signs) ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏอยู่ในป้ายนั้น โดยการกำหนดให้ผู้ใช้ทางต้องกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือจำกัดการกระทำ ในบางประการ หรือบางลักษณะ
ป้ายบังคับ มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามข้อบังคับที่ได้แสดงไว้ตาม ข้อความ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนแผ่นป้ายอย่างเคร่งครัด หากผู้ใดฝืนย่อมมีความผิดตามกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
- ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Regulating Signs)
- ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)
- ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)
- ป้ายอื่น ๆ
โดยทั่วไป ป้ายบังคับมีรูปร่างเป็นแผ่นกลม มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย และเส้นขีดกลางเป็นสีแดง ยกเว้นป้ายดังต่อไปนี้
- ป้ายหยุด (Stop Sign) เป็นรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า ตัวอักษรสีขาวบนพื้นป้ายสีแดง เส้นขอบป้ายสีขาว
- ป้ายให้ทาง (Give Way Sign) เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มุมชี้ลง ตัวอักษรสีดำ เส้นขอบป้ายสีแดง พื้นป้ายสีขาว
- ป้ายห้ามจอดรถหรือป้ายห้ามหยุดรถ เป็นรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้ายและเส้นขีดกลางสีแดง
- ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs) เป็นป้ายรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีน้ำเงิน เครื่องหมาย สัญลักษณ์ตัวเลข และเส้นขอบป้ายสีขาว
- ป้ายสุดเขตบังคับ เป็นรูปแผ่นกลม พื้นป้ายสีขาว ไม่มีเส้นขอบป้าย แต่มีเส้นขีดสีดำทแยงจากขวาด้านบนลงซ้ายด้านล่าง
- ป้ายบังคับข้อความ เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้ายสีแดง ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์สีดำหรือสีแดง
- ป้ายประกอบ เป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นสีขาว เส้นขอบป้าย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์สีดำ
ป้ายบังคับประเภทกำหนดสิทธิ์ (Priority Regulating Signs)
- หมายเหตุ
- ป้ายหยุด (ป้ายรูปแบบเดิม )
ป้ายบังคับประเภทห้ามหรือจำกัดสิทธิ์ (Prohibitory or Restrictive Signs)
-
ห้ามแซง
-
ห้ามเข้า
-
ห้ามกลับรถไปทางขวา
-
ห้ามกลับรถไปทางซ้าย
-
ห้ามเลี้ยวซ้าย
-
ห้ามเลี้ยวขวา
-
ห้ามเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางซ้าย
-
ห้ามเปลี่ยนช่องทางเดินรถไปทางขวา
-
ห้ามเลี้ยวขวาหรือกลับรถ
-
ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือกลับรถ
-
ห้ามรถยนต์ผ่าน
-
ห้ามรถบรรทุกผ่าน
-
ห้ามรถจักรยานยนต์ผ่าน
-
ห้ามรถพ่วงผ่าน
-
ห้ามรถยนต์สามล้อผ่าน
-
ห้ามรถสามล้อผ่าน
-
ห้ามรถจักรยานผ่าน
-
ห้ามล้อเลื่อนลากเข็นผ่าน
-
ห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตรผ่าน
-
ห้ามเกวียนผ่าน
-
ห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์ผ่าน
-
ห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ และรถจักรยานยนต์ผ่าน
-
ห้ามรถจักรยานยนต์ และรถยนต์สามล้อผ่าน
-
ห้ามใช้เสียง
-
ห้ามคนผ่าน
-
ห้ามจอดรถ
-
ห้ามหยุดรถ
-
หยุดตรวจ
-
หยุดตรวจ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
จำกัดความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
จำกัดน้ำหนัก (ห้ามรถหนักเกินกำหนดผ่าน)
-
จำกัดน้ำหนัก(ห้ามรถหนักเกินกำหนดผ่าน) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
จำกัดความกว้าง (ห้ามรถกว้างเกินกำหนดผ่าน)
-
จำกัดความกว้าง (ห้ามรถกว้างเกินกำหนดผ่าน) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
จำกัดความสูง (ห้ามรถสูงเกินกำหนดผ่าน)
-
จำกัดความสูง (ห้ามรถสูงเกินกำหนดผ่าน) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
จำกัดความยาว (ห้ามรถยาวเกินกำหนดผ่าน)
-
จำกัดความยาว (ห้ามรถยาวเกินกำหนดผ่าน) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- หมายเหตุ
- มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ในป้าย เนื่องจากบางป้ายมีการปรับสัญลักษณ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลทั่วไป เช่น ป้ายห้ามเข้า เป็นต้น มีจำนวน 17 ป้าย ได้แก่
- ป้ายห้ามเข้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายห้ามรถยนต์
- ป้ายห้ามรถบรรทุก
- ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์
- ป้ายห้ามรถพ่วง
- ป้ายห้ามรถยนต์สามล้อ
- ป้ายห้ามรถสามล้อ
- ป้ายห้ามรถจักรยาน
- ป้ายห้ามล้อเลื่อนลากเข็น
- ป้ายห้ามรถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์
- ป้ายห้ามรถจักรยาน รถสามล้อ และรถจักรยานยนต์
- ป้ายหยุดตรวจ (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายจำกัดความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายจำกัดน้ำหนัก
- ป้ายจำกัดความกว้าง
- ป้ายจำกัดความสูง
- มีการเพิ่มป้ายใหม่ เนื่องจากสภาพการจราจรหรือกายภาพของถนนที่เปลี่ยนไป ป้ายเหล่านี้ไม่มีในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรของกรมทางหลวงมาก่อน มีจำนวน 9 ป้าย ได้แก่
- ป้ายห้ามกลับรถไปทางซ้าย
- ป้ายห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย
- ป้ายห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา
- ป้ายห้ามเลี้ยวขวาหรือกลับรถ
- ป้ายห้ามเลี้ยวซ้ายหรือกลับรถ
- ป้ายห้ามเกวียน
- ป้ายห้ามรถจักรยานยนต์และรถยนต์สามล้อ
- ป้ายห้ามคน
- ป้ายจำกัดความยาว
ป้ายบังคับประเภทคำสั่ง (Mandatory Signs)
-
ให้เดินรถทางเดียวไปข้างหน้า
-
ทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย
-
ทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา
-
ให้ชิดซ้าย
-
ให้ชิดขวา
-
ให้ไปทางซ้ายหรือไปทางขวา (ให้ชิดซ้ายหรือชิดขวา)
-
ให้เลี้ยวซ้าย
-
ให้เลี้ยวขวา
-
ให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
-
ให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย
-
ให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา
-
วงเวียน
-
ช่องเดินรถประจำทาง
-
ช่องเดินรถมวลชน
-
ช่องเดินรถจักรยานยนต์
-
ช่องเดินรถจักรยาน
-
เฉพาะคนเดิน
-
ความเร็วขั้นต่ำ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
-
ความเร็วขั้นต่ำ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- หมายเหตุ
- ป้ายบังคับประเภทคำสั่งบางแผ่นป้ายยังคงใช้แบบสัญลักษณ์เดิม แต่เปลี่ยนสีพื้นป้ายและสีสัญลักษณ์ในป้าย มีจำนวน 8 ป้าย ได้แก่
- ป้ายให้รถเดินทางเดียวไปข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายทางเดินรถทางเดียวไปทางขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายให้ชิดซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายให้ชิดขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายให้เลี้ยวซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายให้เลี้ยวขวา (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายวงเวียน (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายบังคับประเภทคำสั่งบางแผ่นป้าย ได้มีการเพิ่มเข้ามาใหม่ มีจำนวน 10 ป้าย ได้แก่
- ป้ายให้ชิดซ้ายหรือชิดขวา
- ป้ายให้เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
- ป้ายให้ตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย
- ป้ายให้ตรงไปหรือเลี้ยวขวา
- ป้ายช่องเดินรถประจำทาง
- ป้ายช่องเดินรถมวลชน
- ป้ายช่องเดินรถจักรยานยนต์
- ป้ายช่องเดินรถจักรยาน
- ป้ายเฉพาะคนเดิน
- ป้ายความเร็วขั้นต่ำ
ป้ายอื่น ๆ
- หมายเหตุ
- ป้าย สุดเขตบังคับ ใช้เมื่อสิ้นสุดเขตบังคับของป้ายบังคับที่ติดตั้งก่อนหน้านี้แล้ว เช่น เมื่อสิ้นสุดเขตห้ามแซง หรือ เมื่อสิ้นสุดเขตห้ามใช้เสียง หรือ เมื่อสิ้นสุดเขตจำกัดความเร็ว เป็นต้น
- ป้ายสุดเขตบังคับ (ชื่อเดิม “ป้ายสุดเขตบังคับความเร็ว” และ “ป้ายสุดเขตบังคับห้ามแซง”) (ป้ายรูปแบบเดิม , )
ป้ายบังคับข้อความ
-
ป้ายจำกัดความเร็ว (ในเขตกรุงเทพมหานคร)
-
ป้ายจำกัดความเร็ว (ในเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล และเมืองพัทยา)
-
ป้ายจำกัดความเร็ว (นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล และเมืองพัทยา)
-
ป้ายพิกัดความเร็วรถ (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายพิกัดความเร็วรถ ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564
-
ป้ายเขตควบคุมความเร็ว ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบทที่กำหนด พ.ศ. 2564
-
ป้ายห้ามขับรถขึ้นทางลงจากทางพิเศษ
-
ป้ายห้ามพาหนะใช้ทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายห้ามพาหนะใช้ทางพิเศษ
-
ป้ายห้ามพาหนะใช้ทางหลวงพิเศษที่เปิดใช้ชั่วคราว (เฉพาะรถยนต์ 4 ล้อเท่านั้น ติดตั้งบน
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6)
-
ป้ายรถช้าชิดซ้าย
-
ป้ายช่องขวาเฉพาะแซง
-
ป้ายให้รถโดยสารและรถบรรทุกทุกคันใช้เกียร์ต่ำ
-
ป้ายห้ามแซงเนื่องจากระยะมองเห็นจำกัด
-
ห้ามสวนทาง
-
ช่องขวาสุดเฉพาะกลับรถ
-
ช่องซ้ายให้เลี้ยวซ้าย
-
หยุดรอสัญญาณที่นี่
-
ป้ายกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกสำหรับทางหลวงชนบท
-
ป้ายกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกสำหรับทางหลวงท้องถิ่น
-
ป้ายกำหนดน้ำหนักรถบรรทุกสำหรับทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายห้ามเผาขยะและวัสดุอื่นๆในทางหลวง
-
ป้ายห้ามขับขี่และจอดรถบนไหล่ทาง (ติดตั้งบน
ทางหลวงพิเศษ)
- หมายเหตุ ป้ายจำกัดความเร็ว แบบแบ่งความเร็วตามประเภทของยานพาหนะ จะติดตั้งก่อนเข้าเขตชุมชน และหลังออกเขตชุมชน ใช้ในกรณีที่มียานพาหนะหลายประเภท วิ่งผ่านเขตชุมชน ซึ่งยานพาหนะแต่ละประเภทใช้ความเร็วไม่เท่ากัน และความเร็วที่ปรากฏบนป้ายนั้น ๆ ได้อ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราความเร็วของยานพาหนะ และ/หรือประกาศเจ้าพนักงานจราจรจังหวัด.... เรื่อง กำหนดอัตราความเร็วของรถในทาง.... ซึ่งประกาศและบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา แต่ในกรณีที่ต้องการให้ยานพาหนะทุกชนิดใช้ความเร็วสูงสุดเท่ากัน ให้ใช้ป้ายบังคับจำกัดความเร็ว แทน ส่วนจำนวนความเร็วที่มีหน่วยเป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้กำหนดตามดุลยพินิจและการออกแบบตามหลักวิศวกรรม[2]
ป้ายบังคับสำหรับทางจักรยาน
- หมายเหตุ
- ป้ายจุดเริ่มต้นทางจักรยาน และป้ายจุดสิ้นสุดทางจักรยาน ใช้ติดตั้งร่วมกับป้ายช่องเดินรถจักรยาน บนเสาป้ายเดียวกัน
ป้ายเสริม
-
ให้รถทางขวาไปก่อน
-
ให้รถในวงเวียนไปก่อน
-
เฉพาะรถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป
-
ป้ายเสริมช่วงเวลาบังคับสำหรับช่องเดินรถประจำทาง
-
ป้ายเสริมช่วงเวลาและทิศทางบังคับ
-
ยกเว้นรถประจำทาง
-
จุดเริ่มต้นช่องเดินรถมวลชน
-
จุดสิ้นสุดช่องเดินรถมวลชน
-
จุดเริ่มต้นช่องเดินรถจักรยานยนต์
-
จุดสิ้นสุดช่องเดินรถจักรยานยนต์
ป้ายบังคับอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรของกรมทางหลวง
ป้ายเตือน
ป้ายเตือน (Warning Signs) ได้แก่ ป้ายจราจรที่มีความหมายเป็นการเตือนผู้ใช้ทางให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางหรือข้อมูลอย่างอื่นที่เกิดขึ้นในทางหรือทางหลวงข้างหน้า อันอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางใช้ความระมัดระวังในการใช้ทางซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุดังกล่าวได้
ป้ายเตือน มีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หรือมีจะการบังคับใช้อุปกรณ์ควบคุมการจราจรบางประเภท ทำให้ผู้ขับขี่ต้องเพิ่มความระมัดระวังและ/หรือต้องลดความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านบริเวณนั้น
บริเวณที่ซึ่งจะใช้ป้ายเตือนมีดังต่อไปนี้
- ทางโค้ง
- ทางแยก
- สัญญาณไฟจราจรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการจราจร
- บริเวณที่จำนวนช่องจราจรลดลง
- บริเวณที่ผิวจราจรแคบลง
- ทางลาดชัน
- สภาพผิวทางไม่ปกติ
- โรงเรียนและทางข้ามต่าง ๆ
- ทางรถไฟตัดผ่าน
- สิ่งกีดขวาง
- อื่น ๆ
โดยทั่วไปป้ายเตือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งมุมขึ้น ยกเว้นป้ายเตือนบางแบบที่ใช้ข้อความ หรือเครื่องหมายนอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ ป้ายเตือนทุกแบบใช้พื้นป้ายสีเหลือง เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ตัวเลข ตัวอักษรสีดำ ยกเว้นป้ายเตือนที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและงานบำรุงทาง ซึ่งจะใช้พื้นป้ายสีส้ม (Orange) เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย สัญลักษณ์ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ
ทางโค้งลักษณะต่าง ๆ
-
ทางโค้งซ้าย
-
ทางโค้งขวา
-
ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวซ้าย
-
ทางโค้งรัศมีแคบเลี้ยวขวา
-
ทางโค้งกลับเริ่มซ้าย
-
ทางโค้งกลับเริ่มขวา
-
ทางโค้งกลับรัศมีแคบเริ่มซ้าย
-
ทางโค้งกลับรัศมีแคบเริ่มขวา
-
ทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย
-
ทางคดเคี้ยวเริ่มขวา
ทางแยกลักษณะต่าง ๆ
-
ทางเอกตัดกัน
-
ทางเอกตัดกันรูปตัววาย
-
ทางเอกตัดกันรูปตัวที
-
ทางโทแยกทางเอกทางซ้าย
-
ทางโทแยกทางเอกทางขวา
-
ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มซ้าย
-
ทางโทแยกทางเอกเยื้องกันเริ่มขวา
-
ทางโทเชื่อมทางเอกจากซ้าย
-
ทางโทเชื่อมทางเอกจากขวา
-
ทางโทแยกทางเอกทางซ้ายรูปตัววาย
-
ทางโทแยกทางเอกทางขวารูปตัววาย
เตือนวงเวียนข้างหน้า
บริเวณที่ผิวจราจรแคบลง (เตือนทางแคบต่าง ๆ)
-
ทางแคบทั้งสองด้าน
-
ทางแคบด้านซ้าย
-
ทางแคบด้านขวา
- หมายเหตุ
- ป้ายทางแคบลงทั้งสองด้าน (ป้ายรูปแบบเดิม )
เตือนสะพานแคบ
บริเวณที่จำนวนช่องจราจรลดลง (เตือนช่องจราจรปิด)
-
ช่องจราจรปิดด้านซ้าย
-
ช่องจราจรปิดด้านขวา
ทางรถไฟตัดผ่าน (เตือนทางข้ามทางรถไฟ)
เตือนความสูงหรือความกว้าง
ทางลาดชัน
-
ทางขึ้นลาดชัน
-
ทางลงลาดชัน
สภาพผิวทางไม่ปกติในลักษณะต่าง ๆ (เตือนสภาพผิวทาง)
-
เตือนรถกระโดด
-
ผิวทางขรุขระ
-
ทางเป็นแอ่ง
-
ทางลื่น
-
ผิวทางร่วน
-
ระวังหินร่วง
-
สะพานเปิดได้
เตือนเปลี่ยนช่องเดินรถ
เตือนทางขนาน
เตือนทางร่วม
-
ทางร่วมด้านซ้าย
-
ทางร่วมด้านขวา
เตือนทางคู่
-
ทางคู่ข้างหน้า
-
สิ้นสุดทางคู่
เตือนจุดกลับรถ
-
จุดกลับรถ (ทางขวา)
-
จุดกลับรถ (ทางซ้าย)
- หมายเหตุ
- ป้ายจุดกลับรถ (ขวา) (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายจุดกลับรถ (ซ้าย) (ป้ายรูปแบบเดิม )
เตือนทางเดินรถสองทิศทาง
สัญญาณไฟจราจรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการจราจร (เตือนลักษณะทางแยก)
- หมายเหตุ
- ป้ายหยุดข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
โรงเรียนและทางข้ามต่าง ๆ
-
ระวังคนข้ามถนน
-
โรงเรียนระวังเด็ก
- หมายเหตุ
- ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก (ป้ายรูปแบบเดิม )
เตือนให้ระวัง
เตือนเขตห้ามแซง
- หมายเหตุ
- ป้าย เขตห้ามแซง จะติดตั้งอยู่ทางด้านขวาของป้ายบังคับห้ามแซง
- ป้ายเขตห้ามแซง (ป้ายรูปแบบเดิม )
เตือนแนวทางต่าง ๆ
ป้ายเตือนอื่น ๆ / ป้ายเตือนเสริม
-
เขตชุมชน
-
เขตชุมชน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
ทางคดเคี้ยว ยาว --- กม.
-
ขึ้นเขา ยาว --- กม.
-
ลงเขา ยาว --- กม.
-
ใช้เกียร์ต่ำ
-
ใช้เกียร์ต่ำ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
รถกระโดด
-
ทางขรุขระ ยาว --- กม.
-
ถนนลื่น
-
ฝนตกถนนลื่น
-
ฝนตกถนนลื่น (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
-
ระวังรถทางซ้าย
-
ระวังรถทางขวา
-
ป้ายเสริมบอกระยะทาง (--- ม.)
-
ป้ายเสริมบอกระยะทาง (ข้างหน้า --- ม.)
-
รถวิ่งสวนทาง
-
สัญญาณไฟข้างหน้า
-
สัญญาณไฟ --- ม.
-
โรงเรียน
-
โรงเรียนระวังเด็ก
-
โรงเรียน --- ม.
-
เตือนความเร็ว
-
เตือนความเร็ว
-
เตือนความเร็ว
-
เตือนความเร็ว
-
ฝนตกถนนลื่น
-
ง่วงจอดพัก
-
ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร)
-
ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกมีสัญญาณไฟจราจร)
-
ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกมีชื่อทางแยก)
-
ป้ายเตือนเขตโรงเรียน
-
ป้ายเตือนโค้งอันตราย
-
ป้ายเตือนทางรถไฟข้างหน้า (กรณีไม่มีเครื่องกั้นทาง)
-
ป้ายเตือนทางรถไฟข้างหน้า (กรณีมีเครื่องกั้นทาง)
-
ป้ายเตือนลดความเร็ว
-
รักษาระยะอย่างน้อย 2 จุด (ระยะห่างของรถข้างหน้า)
- หมายเหตุ
- ป้ายเตือนเสริม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นป้ายสีเหลือง เส้นขอบป้ายสีดำ บรรจุข้อความภาษาไทยและหรือภาษาอังกฤษสีดำใช้เพื่ออธิบายความหมายของป้ายเตือนและ/หรือขยายความหมายขอบเขตความยาวของสภาพทางข้างหน้า
- ป้ายเตือนเสริมใช้ติดตั้งควบคู่ใต้ป้ายเตือนปกติชนิดสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งมุม โดยทั่วไปป้ายเตือนเสริมจะมีขนาดเล็กกว่าป้ายเตือนปกติ ในกรณีที่จำเป็น ขนาดของป้ายอาจกว้างขึ้นได้ แต่ต้องไม่กว้างกว่าป้ายเตือนปกติที่ติดคู่กัน ป้ายเตือนเสริมนี้อาจหมดความจำเป็น เมื่อผู้ใช้ทางส่วนมากเข้าใจความหมายป้ายเตือนปกติแล้ว ป้ายเตือนเสริมไม่จำเป็นต้องติดตั้งเสมอไป เมื่อมีความจำเป็นต้องติดตั้งให้พิจารณาติดตั้งเฉพาะกับป้ายเตือนปกติที่แสดงไว้ในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรเท่านั้น
- ป้ายเตือนความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายเตือนความเร็ว (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกไม่มีสัญญาณไฟจราจร) (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายเตือนทางแยกข้างหน้า (กรณีทางแยกมีสัญญาณไฟจราจร) (ป้ายรูปแบบเดิม )
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 60 กม./ชม.
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 80 กม./ชม.
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 90 กม./ชม.
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 100 กม./ชม.
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 110 กม./ชม.
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับความเร็ว 120 กม./ชม.
ป้ายเตือนช่องหยุดฉุกเฉิน (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายเตือนช่องหยุดรถฉุกเฉินล่วงหน้า ที่ระยะ 2 กม.
-
ป้ายเตือนช่องหยุดรถฉุกเฉินล่วงหน้า ที่ระยะ 1 กม.
-
ป้ายเตือนช่องหยุดรถฉุกเฉินล่วงหน้า ที่ระยะ 500 ม.
-
ป้ายเตือนช่องหยุดรถฉุกเฉินข้างหน้า
- หมายเหตุ
- ช่องหยุดรถฉุกเฉิน เป็นช่องทางเดินรถรูปแบบพิเศษ ในกรณีที่ยานพาหนะขัดข้องไม่สามารถหยุดรถได้ทันท่วงที (เบรกแตกหรือขัดข้อง) ขณะขับรถลงทางลาดชัน เพื่อให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะดังกล่าวสามารถหักหลบเข้าช่องหยุดรถฉุกเฉินได้ มักพบตามทางหลวงที่มีความลาดชันและพาดผ่านพื้นที่ภูเขาสูง
ป้ายเตือนช่องทางไต่ทางลาดชัน สำหรับรถบรรทุกหนัก (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายเตือนช่องทางไต่ลาดชันล่วงหน้า ที่ระยะ 2 กม.
-
ป้ายเตือนช่องทางไต่ลาดชันล่วงหน้า ที่ระยะ 1 กม.
-
ป้ายเตือนช่องทางไต่ลาดชันล่วงหน้า ที่ระยะ 500 ม.
-
ป้ายเตือนช่องทางไต่ลาดชันข้างหน้า
-
ป้ายเตือนจุดสิ้นสุดช่องทางไต่ลาดชัน
ป้ายเตือนแบบแขวนสูง (Mast arm) (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
เขตโรงเรียน
-
เขตชุมชน
-
ระวังรถไฟ
-
ทางแยก
-
จุดกลับรถ
ป้ายเตือนทางน้ำล้นผ่าน (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายเตือนทางน้ำล้นผ่าน
-
ป้ายเตือนทางลดระดับ
ป้ายเตือนงานอำนวยความปลอดภัยและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กรณีติดตั้งอุปกรณ์เตือนรถเข้าสู่ทางแยก (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
ป้ายเตือนทางรถไฟ (แบบมาตรฐานงานทางสำหรับ อปท. กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายเตือนทางรถไฟที่ระยะ 100 เมตร
-
ป้ายเตือนทางรถไฟที่ระยะ 300 เมตร
-
ป้ายเตือนทางรถไฟที่ระยะ 500 เมตร
ป้ายเตือนที่ใช้ป้ายเตือนเสริมติดตั้งด้วยเพื่ออำนวยความปลอดภัย
รูปป้าย |
ป้ายที่ใช้
|
|
ความหมายของป้ายและการใช้งานป้าย
|
|
|
ป้ายทางคดเคี้ยวเริ่มซ้าย และป้ายเตือนเสริม ทางคดเคี้ยวยาว --- กม.
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางโค้งคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางซ้าย ซึ่งทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
|
|
|
ป้ายทางคดเคี้ยวเริ่มขวา และป้ายเตือนเสริม ทางคดเคี้ยวยาว --- กม
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางโค้งคดเคี้ยวโดยเริ่มไปทางขวา ซึ่งทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางโค้งคดเคี้ยวนั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
|
|
|
ป้ายสะพานแคบ และป้ายให้รถสวนทางมาก่อน
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสะพานแคบ รถไม่สามารถเดินสวนทางหรือหลีกทางกันได้ ต้องให้รถที่กำลังแล่นสวนทางมาก่อน ใช้ในกรณีที่ข้างหน้ามีสะพานแคบ ซึ่งรถไม่สามารถเดินสวนทาง หรือหลีกทางกันได้ และสะพานนั้น ๆ เหมาะสมที่จะจัดการจราจรในรูปแบบที่ให้รถสวนทางขับผ่านไปก่อนได้
|
|
|
ป้ายทางขึ้นลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ขึ้นเขายาว --- กม.
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดชันขึ้นเขาหรือขึ้นเนิน สันเขาหรือสันเนิน อาจกำบังสายตาไม่ให้มองเห็นรถที่สวนทางมา ซึ่งทางขึ้นเขานั้น มีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางขึ้นเขานั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
|
|
|
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ลงเขายาว --- กม.
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน ซึ่งทางลงเขานั้น มีระยะทางตามที่ป้ายเตือนเสริมระบุ ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นมีระยะทางตั้งแต่ 1 กม. ขึ้นไป
|
|
|
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ใช้เกียร์ต่ำ
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน และผู้ขับรถควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อความปลอดภัย ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นลาดชันมากและเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ
|
|
|
ป้ายทางลงลาดชัน และป้ายเตือนเสริม ใช้เกียร์ต่ำ
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าเป็นทางลาดลงเขาหรือลงเนิน และผู้ขับรถควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อความปลอดภัย ใช้ในกรณีที่ทางลงเขานั้นลาดชันมากและเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ
|
|
|
ป้ายเตือนรถกระโดด และป้ายเตือนเสริม รถกระโดด
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีการเปลี่ยนระดับอย่างกะทันหัน เช่น บริเวณคันชะลอความเร็ว ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังในการขับรถผ่านบริเวณดังกล่าว
|
|
|
ป้ายเตือนทางขรุขระ และป้ายเตือนเสริม ทางขรุขระ
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีการเปลี่ยนระดับอย่างกะทันหัน เช่น บริเวณคันชะลอความเร็ว ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังในการขับรถผ่านบริเวณดังกล่าว
|
|
|
ป้ายทางลื่น และป้ายเตือนเสริม ถนนลื่น
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าลื่น เมื่อผิวทางเปียกอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการขับรถผ่านบริเวณผิวทางที่ลื่นได้ง่าย
|
|
|
ป้ายทางร่วมด้านซ้าย และป้ายเตือนเสริม ระวังรถทางซ้าย
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีรถเข้ามาร่วมทิศทางเดียวกันจากทางซ้าย ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังรถทางด้านซ้าย
|
|
|
ป้ายทางร่วมด้านขวา และป้ายเตือนเสริม ระวังรถทางขวา
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าจะมีรถเข้ามาร่วมทิศทางเดียวกันจากทางขวา ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังรถทางด้านขวา
|
|
|
ป้ายทางเดินรถสองทาง และป้ายเตือนเสริม รถวิ่งสวนทาง
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้าจะเป็นทางเดินรถสองทิศทาง และสวนทางกัน ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังที่รถสวนทางมา
|
|
|
ป้ายสัญญาณจราจร และป้ายเตือนเสริม สัญญาณไฟข้างหน้า
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร
|
|
|
ป้ายสัญญาณจราจร และป้ายเตือนเสริม สัญญาณไฟ --- ม.
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีสัญญาณไฟจราจร ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังและพร้อมที่จะปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจร
|
|
|
ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก และป้ายเตือนเสริม โรงเรียน
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านเขตโรงเรียน
|
|
ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก และป้ายเตือนเสริม โรงเรียนระวังเด็ก
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านเขตโรงเรียน
|
|
ป้ายโรงเรียนระวังเด็ก และป้ายเตือนเสริม โรงเรียน 200 ม.
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีโรงเรียนตั้งอยู่ข้างทาง ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านเขตโรงเรียน
|
|
|
ป้ายเตือนแนวทางและป้ายเตือนความเร็ว
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทิศทางที่ชี้ตามลักษณะตามลูกศร และต้องใช้ความเร็วไม่เกินกว่าที่ป้ายระบุ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ป้ายเตือนระวัง 100 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ
|
|
|
ป้ายเตือนระวัง 300 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ
|
|
|
ป้ายเตือนระวัง 500 เมตร ถึงทางรถไฟ และป้ายเตือนเสริมความเร็ว
|
|
หมายความว่า ทางข้างหน้ามีทางรถไฟตัดผ่าน ซึ่งห่างจากบริเวณที่ติดตั้งป้ายตามระยะห่างที่ระบุบนป้ายเตือนเสริม ใช้ในกรณีที่ต้องการจะเตือนให้ระมัดระวังขณะขับรถผ่านทางรถไฟ
|
|
ป้ายเตือนอื่น ๆ ที่ไม่ปรากฏในคู่มือมาตรฐานป้ายจราจรของกรมทางหลวง
-
ป้ายเตือนเขตโรงเรียน (แบบมาตรฐานสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร)
-
ป้ายเตือนเขตโรงเรียน (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายเตือนทางข้าม (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้าย "ระวังรถไฟ" สำหรับติดตั้งที่ทางรถไฟผ่านถนนเสมอระดับทุกประเภท ด้านถนนรถยนต์ (แบบมาตรฐาน
การรถไฟแห่งประเทศไทย)
-
ป้ายเตือนระวังช้างป่าและสัตว์ป่าข้ามถนน
-
ป้ายเขตตรวจจับความเร็ว 24 ชั่วโมง
-
ป้ายเตือนห้ามกลับรถข้างหน้า
-
ป้ายเตือนเขตตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง
-
ป้ายเตือนระวังชนท้ายรถคันหน้า
-
ป้ายเตือนให้ระวังหลับในเนื่องจากเป็นทางตรงที่มีระยะทางยาว
ป้ายเตือนในงานก่อสร้าง
ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง รวมทั้งงานซ่อมแซมก่อสร้างสาธารณูปโภคบนทางหลวง จัดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด เช่นเดียวกับป้ายจราจรทั่วไปที่ติดตั้งบนทางหลวง คือ
- ป้ายบังคับ
- ป้ายเตือน
- ป้ายแนะนำ
สำหรับป้ายแนะนำให้รวมถึงป้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่น ป้ายที่ใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ และป้ายโครงการเป็นต้น
ลักษณะของป้ายจราจรนี้ให้เป็นไปตามแบบและมาตรฐานป้ายจราจรทั่วไป แต่เพื่อที่จะเน้นให้ผู้ขับขี่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น จึงกำหนดให้ใช้สีป้ายเตือนและป้ายแนะนำเป็นสีส้ม (Fluorescent Orange) เป็นส่วนมาก
ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง (แบบที่ใช้สัญลักษณ์)
ป้ายจราจรที่ใช้ในงานก่อสร้าง งานบูรณะ และงานบำรุงทางหลวง (แบบที่ใช้ข้อความและลูกศร)
-
ทางก่อสร้าง
-
ทางก่อสร้างแนวใหม่
-
ทางรักษาสภาพทาง
-
งานก่อสร้างทางข้างหน้า
-
งานก่อสร้างสะพานข้างหน้า
-
ทางปิดข้างหน้า
-
ลดความเร็ว
-
ทางเบี่ยงซ้าย
-
ทางเบี่ยงขวา
-
บอกระยะทาง
-
งานซ่อมทางข้างหน้า
-
งานไหล่ทางข้างหน้า
-
มีกองวัสดุบนไหล่ทาง
-
ทางขาดข้างหน้า
-
น้ำท่วมทางข้างหน้า
-
อุบัติเหตุข้างหน้า
-
เตือนลูกศรขนาดใหญ่
-
เตือนลูกศรขนาดใหญ่
-
เตือนลูกศรขนาดใหญ่
-
แสดงระยะถึงทางปิด
-
แสดงระยะถึงทางขาด
-
เส้นทางชั่วคราว
-
ใช้ทางเบี่ยงขวา
-
ใช้ทางเบี่ยงซ้าย
-
แสดงระยะทางก่อสร้าง
-
สิ้นสุดเขตก่อสร้าง
-
ทางปิด
-
ทางปิดห้ามรถผ่าน
-
ทางขาดรถผ่านไม่ได้
-
เตือนปิดช่องจราจร (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
เตือนการใช้ช่องจราจร (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
เตือนเขตก่อสร้าง (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
งานอำนวยความปลอดภัยข้างหน้า (แบบมาตรฐานทางหลวงชนบท)
-
เครื่องจักรกำลังทำงาน
-
ทางชำรุดโปรดระมัดระวัง
-
เหตุฉุกเฉินข้างหน้า
- หมายเหตุ
- ป้ายเตือนอุบัติเหตุข้างหน้า (ป้ายรูปแบบเดิม )
- ป้ายเตือนงานอำนวยความปลอดภัยข้างหน้า ใช้ติดตั้งก่อนถึงงานก่อสร้างประเภทงานอำนวยความปลอดภัย งานตีเส้นจราจร งานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง หรืองานติดตั้งไฟสัญญาณจราจร เป็นต้น
ป้ายจราจรที่ใช้ในงานสาธาณูปโภค (แบบที่ใช้ข้อความ)
ป้ายจราจรที่ใช้ในโครงการก่อสร้าง
-
จุดเริ่มต้นโครงการก่อสร้าง
-
จุดสิ้นสุดโครงการก่อสร้าง
-
บอกระยะทางถึงสำนักงานควบคุมโครงการก่อสร้าง
-
บอกระยะทางถึงสำนักงานควบคุมโครงการก่อสร้าง
ป้ายแนะนำ
ป้ายแนะนำ (Guide Signs) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ป้ายแนะนำทั่วไป (Guide Sign – Conventional Highways) และป้ายแนะนำบนทางหลวงพิเศษ (Guide Sign – Freeways and Expressways)
ป้ายแนะนำ มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ผู้ขับขี่ทราบถึงทิศทางและระยะทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเดินทางตลอดการใช้บริการทางหลวงนั้น ๆ ด้วย และเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทางตามความหมายของป้ายนั้น ๆ เช่น แนะนำทิศทางของการเดินทางล่วงหน้า จุดหมายปลายทาง บอกสถานที่ บอกระยะทาง ตำแหน่งคนเดินข้ามทาง ข้อมูลสำคัญและทางเดินรถประจำทาง เป็นต้น
ป้ายแนะนำทั่วไปมี 3 ลักษณะ คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านสั้นเป็นส่วนตั้ง หรือมีด้านยาวเป็นส่วนตั้ง และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยการใช้สีบนป้ายแนะนำทั่วไปมี 4 รูปแบบ ดังนี้
- แบบที่ 1 พื้นป้ายสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ใช้สีดำ หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย บรรจุอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยทั่วไปใช้สำหรับ ป้ายบอกหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง ป้ายบอกระยะทาง และป้ายบอกสถานที่
- แบบที่ 2 พื้นป้ายสีน้ำเงิน เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษร และสัญลักษณ์ใช้สีขาว หรือสีอื่นที่กำหนดเฉพาะป้าย บรรจุอยู่ในสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยทั่วไปใช้สำหรับแสดงข้อมูล ข่าวสาร และการบริการ เช่น ป้ายแสดงตำแหน่งของทางข้าม ป้ายแสดงโรงพยาบาล ป้ายแสดงที่พักริมทาง และป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน
- แบบที่ 3 พื้นป้ายสีน้ำเงิน ตัวป้ายมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีด้านยาวเป็นด้านตั้ง ภาพสัญลักษณ์สีน้ำเงิน บรรจุในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาว เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข และตัวอักษรใช้สีขาว ใช้สำหรับป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ กิจกรรม และแหล่งชุมชน
- แบบที่ 4 พื้นป้ายสีขาว ตัวป้ายมีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีด้านยาวเป็นด้านตั้ง ภาพสัญลักษณ์เป็นสีขาว บรรจุอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีน้ำตาล เส้นขอบป้าย เครื่องหมาย ตัวเลข ตัวอักษรสีน้ำตาล ใช้สำหรับป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวโบราณทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน
-
ป้ายแนะนำล่วงหน้า
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (ป้ายชี้ทาง)
-
ป้ายบอกระยะทาง (สำหรับทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายบอกระยะทาง (สำหรับทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายบอกระยะทาง (สำหรับทางหลวงพิเศษประเภทไม่เก็บค่าผ่านทาง)
-
ป้ายบอกระยะทาง (สำหรับทางหลวงพิเศษประเภทเก็บค่าผ่านทาง)
-
ป้ายชื่อแม่น้ำ คลอง บึง
-
ป้ายแบ่งเขตปกครอง
-
ป้ายบอกสถานที่ (ชื่อหมู่บ้าน)
-
ป้ายบอกสถานที่ (ชื่อหมู่บ้าน)
-
ป้ายชื่อคลอง (แบบมาตรฐาน กทม.)
-
ป้ายชื่อทางแยก (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายชื่อทางแยก (แบบมาตรฐานทางหลวงชนบท)
-
ป้ายชื่อทางแยกต่างระดับ (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายชื่อทางแยก (แบบมาตรฐาน กทม.)
-
ป้ายแสดงทางข้าม
-
ป้ายแสดงโรงพยาบาล
-
ป้ายแสดงโรงพยาบาล
-
ป้ายแสดงโรงพยาบาล
-
ป้ายแสดงโรงพยาบาล
-
ป้ายแสดงโรงพยาบาล
-
ป้ายเดินรถทางเดียวไปทางซ้าย
-
ป้ายเดินรถทางเดียวไปทางขวา
-
ป้ายทางตัน
-
ป้ายแนะนำทางเข้าทางหลัก-ทางออกทางขนาน (ทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายแนะนำทางเข้าทางหลัก-ทางออกทางขนาน (ทางหลวงพิเศษไม่เก็บค่าผ่านทาง)
-
ป้ายแสดงจุดกลับรถ (ขวา)
-
ป้ายแสดงจุดกลับรถ (ซ้าย)
-
ป้ายเริ่มต้นทางด่วน/ทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายสิ้นสุดทางด่วน/ทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายเริ่มต้นช่องเดินรถประจำทาง
-
ป้ายแสดงช่องเดินรถประจำทาง
-
ป้ายสำหรับคนพิการ
-
ป้ายสิ้นสุดช่องเดินรถประจำทาง
-
ป้ายแสดงช่องเดินรถมวลชน
-
ป้ายชุดไป
-
ป้ายชุดไป
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก
-
ป้ายแสดงที่พักริมทาง
-
ป้ายแสดงที่พักริมทาง
-
ป้ายแสดงสถานที่ชมทิวทัศน์
-
ป้ายแสดงสถานที่ชมทิวทัศน์
-
ป้ายแสดงสถานที่ชมทิวทัศน์
-
ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ กิจกรรม และแหล่งชุมชน
-
ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวโบราณทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน
-
ป้ายแสดงสถานที่ท่องเที่ยวโบราณทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน
-
ป้ายบอกทางแหล่งโบราณสถาน (กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม)
-
ป้ายแสดงสถานที่สำคัญทางศาสนา (มัสยิด)
-
ป้ายรวมแหล่งท่องเที่ยว
-
ป้ายชื่อถนน
-
ป้ายทางเฉพาะจักรยาน
-
ป้ายจักรยานและจักรยานยนต์ชิดซ้าย
-
ป้ายประชาสัมพันธ์หมายเลขสายด่วน 1669
-
ป้ายแสดงแนวทางหลวงเดิม
-
ป้ายแสดงแนวทางหลวงเลี่ยงเมือง
-
ป้ายแสดงแนวทางหลวงเข้าเมือง
-
ป้ายไป (สำหรับประกอบป้ายชุดไป : ติดตั้งบนทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายทางด่วน/ทางพิเศษ (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย)
-
ป้ายแนะนำเส้นทางลัด (แบบมาตรฐาน กทม.)
-
ป้ายแนะนำชี้ทางออกสำหรับทางแยกทั่วไป (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายแนะนำชี้ทางออกสำหรับทางแยกทั่วไป (แบบมาตรฐาน กทม.)
-
ป้ายแนะนำการใช้ช่องจราจรบริเวณทางแยก (แบบมาตรฐาน กทม.)
-
ป้ายแสดงโครงข่ายทางหลวง (ทางหลวงพิเศษ)
- หมายเหตุ
- ป้ายจุดกลับรถขวา (ป้ายรูปแบบเดิม , )
- ป้ายจุดกลับรถซ้าย (ป้ายรูปแบบเดิม , )
- ป้ายแสดงสถานีตรวจสอบน้ำหนัก (ชื่อเดิม “ป้ายแสดงด่านชั่งน้ำหนัก”) (ป้ายรูปแบบเดิม , , )
- ป้ายจักรยานและจักรยานยนต์ชิดซ้าย (ชื่อเดิม “ป้ายจักรยานชิดซ้าย”) (ป้ายรูปแบบเดิม )
ป้ายแนะนำพื้นที่เฉพาะรถจักรยานและรถจักรยานยนต์บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร (Bike Box)
-
ป้ายแนะนำพื้นที่เฉพาะรถจักรยานและรถจักรยานยนต์บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร (Bike Box) (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
-
ป้ายแนะนำพื้นที่เฉพาะรถจักรยานและรถจักรยานยนต์บริเวณทางแยกสัญญาณไฟจราจร (Bike Box) (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
ป้ายแนะนำทั่วไปและป้ายแนะนำโครงการ (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายชุดบอกรายละเอียดทางแยก (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายบอกชื่อหมู่บ้าน (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายสิ้นสุดสายทาง (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายกรมทางหลวงชนบท
-
ป้ายแนะนำโครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเล (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายแนะนำโครงการถนนสวยหน้าหมู่บ้าน (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายแนะนำโครงการถนนสวยหน้าหมู่บ้านพร้อมชื่อชุมชน เนื่องในโอกาสมหามงคล
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายแนะนำโครงการถนนสวยหน้าหมู่บ้านพร้อมชื่อชุมชน (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายแนะนำโครงการหน้าโรงเรียนปลอดภัยฯ (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายประชาสัมพันธ์ด้านกำกับและบังคับใช้กฎหมาย (กรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายสายด่วนกรมทางหลวงชนบท
ป้ายชี้ทางไประบบขนส่งมวลชน
-
ป้ายชี้ทางไปท่าอากาศยาน
-
ป้ายชี้ทางไปท่าอากาศยาน
-
ป้ายชี้ทางไปท่าอากาศยาน
-
ป้ายชี้ทางไปท่าอากาศยาน (พร้อมชื่อท่าอากาศยานปลายทาง)
-
ป้ายชี้ทางไปสถานีขนส่ง
-
ป้ายชี้ทางไปท่าแพขนานยนต์
-
ป้ายชี้ทางไปสถานีรถไฟ
-
ป้ายชี้ทางไปท่าเรือโดยสาร
ป้ายแสดงการบริการในจุดบริการทางหลวง
-
ป้ายแสดงการให้บริการสุขา
-
ป้ายแสดงการให้บริการร้านอาหาร
-
ป้ายแสดงร้านอาหารที่ไม่มีบริการที่นั่งทานอาหาร
-
ป้ายแสดงการให้บริการกาแฟและเครื่องดื่ม
-
ป้ายแสดงการให้บริการที่พักค้างแรม
-
ป้ายแสดงบริการ Wi-Fi และ Internet
-
ป้ายแสดงการให้บริการร้านสะดวกซื้อ
-
ป้ายแสดงการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
-
ป้ายแสดงการให้บริการที่พักชั่วคราว จุดกางเต็นท์ หรือจุดตั้งแคมป์
-
ป้ายแสดงศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว
-
ป้ายแสดงที่จอดรถ
-
ป้ายแสดงหน่วยบริการทางการแพทย์
-
ป้ายแสดงสถานีบริการน้ำมัน
-
ป้ายแสดงสถานีบริการก๊าซ NGV
-
ป้ายแสดงสถานีบริการก๊าซ LPG
-
ป้ายแสดงสถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า
-
ป้ายแสดงสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85
-
ป้ายแสดงสถานีบริการน้ำมันไบโอดีเซล B20
ป้ายจราจรมาตรฐานสูง (แบบแขวนสูงชนิดแขนยื่นเหนือผิวจราจร)
-
ป้ายชี้ทางออกสำหรับทางหลวงที่มีทางขนาน
-
ป้ายแนะนำทางออกล่วงหน้าสำหรับทางหลวงที่มีทางออกทางขนาน
-
ป้ายออกทางขนานชิดซ้าย
-
ป้ายแนะนำทางออกล่วงหน้าสำหรับทางหลวงที่มีทางเข้าทางหลัก
-
ป้ายเข้าทางหลักชิดขวา
-
ป้ายแนะนำจุดกลับรถล่วงหน้า (ที่ระยะทาง 1 กิโลเมตร)
-
ป้ายกลับรถชิดขวา
ป้ายจราจรมาตรฐานสูง (แบบแขวนสูงชนิดคร่อมผิวจราจร)
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (แบบแขวนสูง) สำหรับทางหลวงแผ่นดิน
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (แบบแขวนสูง) สำหรับทางหลวงแผ่นดิน
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (แบบแขวนสูง) สำหรับทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายเตือนทางออกระยะ 1 กิโลเมตร (แบบแขวนสูง) สำหรับทางหลวงพิเศษ
-
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง (แบบแขวนสูง) สำหรับทางหลวงชนบท
ป้ายแบ่งเขตควบคุม (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
ป้ายแนะนำทางเลี่ยงช่วงเทศกาล (แบบมาตรฐานกรมทางหลวง)
ป้ายแจ้งข่าว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
ป้ายหมายเลขทางหลวงตามประเภททางหลวง
รูปป้าย |
ประเภททางหลวง |
ความหมาย
|
|
ทางหลวงแผ่นดิน |
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (1 หลัก)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (2 หลัก)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (3 หลัก)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงแผ่นดิน (4 หลัก)
|
|
ทางหลวงพิเศษ |
ป้ายหมายเลขทางหลวงพิเศษ (ไม่เก็บค่าผ่านทาง)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงพิเศษ (เก็บค่าผ่านทาง)
|
|
ทางหลวงเอเชีย/อาเซียน |
ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (1 หลัก)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (2 หลัก)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงเอเชีย/อาเซียน (3 หลัก)
|
|
ทางหลวงชนบท |
ป้ายหมายเลขทางหลวงชนบท (สำหรับติดตั้งในสายทางหลวงชนบท)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงชนบท (สำหรับติดตั้งในสายทางหลวงแผ่นดิน)
|
|
ทางหลวงท้องถิ่น |
ป้ายหมายเลขทางหลวงท้องถิ่น (แสดงรหัสสายทาง)
|
|
ป้ายหมายเลขทางหลวงท้องถิ่น (แสดงชื่อสายทาง)
|
ป้ายกิโลเมตรลักษณะต่าง ๆ
-
ป้ายกิโลเมตรชนิด A (บนทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายกิโลเมตรชนิด A (บนทางหลวงพิเศษ)
-
ป้ายกิโลเมตรชนิด A (บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง)
-
ป้ายกิโลเมตรชนิด B
-
ป้ายกิโลเมตร (บนทางหลวงชนบท)
-
ป้ายกิโลเมตรชนิด B (บนทางหลวงชนบท)
-
ป้ายกิโลเมตร (บนทางพิเศษ)
-
ป้ายหลักร้อยเมตร (บนทางหลวงแผ่นดิน)
-
ป้ายกิโลเมตรย่อย (บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง)
-
ป้ายกิโลเมตรย่อย (บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง) แบบเดิม
ป้ายหมายเลขทางออก
ป้ายลูกศรระบุทิศทาง
ป้ายชุดทางหลวงเปลี่ยนทิศทาง (Advance turn arrow signs/Route Turn Assemblies)
ทางหลวงแผ่นดิน |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง |
ทางหลวงพิเศษ
|
|
|
|
|
|
|
ป้ายชุดระบุทิศทาง (Directional arrow signs)
ทางหลวงแผ่นดิน |
ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง |
ทางหลวงพิเศษ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายแหล่งท่องเที่ยว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายบอกทิศทางแหล่งท่องเที่ยว (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายบอกทิศทางแหล่งท่องเที่ยวและระยะทาง (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
-
ป้ายบอกทิศทางแหล่งท่องเที่ยวและระยะทาง (แบบมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท)
สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งธรรมชาติ
-
น้ำพุ
-
ที่พัก
-
วนอุทยาน
-
น้ำตก
-
ภูเขา
-
เกาะ
-
ชายหาด
-
ถ้ำ
-
ทะเล
-
แหล่งน้ำ
-
หน้าผา
-
เขื่อน
-
สนามกอล์ฟ
-
สถานที่ตากอากาศ
-
ไร่องุ่น
-
สวนสัตว์
สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งโบราณสถานและศาสนสถาน
-
โบราณสถาน
-
ศาสนาพุทธ
-
วัดและโบสถ์
-
ศาสนาคริสต์
-
มัสยิด
-
ศาลเจ้า
สัญลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งกิจกรรม
-
สนามกีฬา
-
ชายแดน
-
สวน, ไร่
-
ตลาด
-
อนุสาวรีย์
-
ศูนย์วิจัย
-
ศูนย์ศิลปาชีพ
-
พิพิธภัณฑ์
-
สวนสาธารณะ
ป้ายรูปแบบเดิม
-
ป้ายแนะนำโครงการก่อสร้างทางและสะพานของกรมทางหลวงชนบท
-
ป้ายแนะนำโครงการก่อสร้างทางและสะพานของกรมทางหลวงชนบท
-
ป้ายโครงการก่อสร้างทาง สะพาน และถนนในหมู่บ้าน (กรมโยธาธิการ)
-
ป้ายโครงการก่อสร้างทาง (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
-
ป้ายชื่อหมู่บ้าน (สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท)
เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง
เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่ทำให้ปรากฏอยู่บนพื้นทาง ทางจราจร ไหล่ทาง ทางเท้า ขอบทาง ขอบวงเวียน หรือขอบคันหิน โดยการใช้กระเบื้อง หมุดโลหะ วัสดุสะท้อนแสง สี หรือวัสดุอื่นใด ปูตอก ฝัง พ่น ทา รีดทับ หรือทำโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้ปรากฏซึ่งเครื่องหมายจราจร
เครื่องหมายจราจรบนพื้นทาง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทบังคับ ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่มีความหมายเป็นการบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตามความหมายของเครื่องหมายนั้น โดยกำหนดให้ผู้ใช้ทางต้องกระทำ งดเว้นการกระทำ หรือจำกัดการกระทำในบางประการหรือบางลักษณะ
- เครื่องหมายจราจรบนพื้นทางประเภทเตือน ได้แก่ เครื่องหมายจราจรที่มีความหมายเป็นการเตือนผู้ใช้ทางให้ทราบล่วงหน้าถึงสภาพทางหรือข้อมูลอย่างอื่นที่เกิดขึ้นในทางหรือทางหลวงข้างหน้าอันอาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้นได้ เพื่อให้ผู้ใช้ทางใช้ความระมัดระวังในการใช้ทาง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุดังกล่าวได้
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- คู่มือการติดตั้งป้ายจราจร (กรมทางหลวง : มีนาคม 2561)
- คู่มือและมาตรฐานเครื่องหมายจราจร ฉบับสมบูรณ์ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม
เก็บถาวร 2019-04-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- คู่มือการติดตั้งป้ายจราจร (กรมทางหลวง : มีนาคม 2561)
- ↑ ปรับจากกฎกระทรวงกำหนดการจัดทำ ปัก ติดตั้งป้ายจราจร เครื่องหมายจราจร หรือสัญญาณจราจร สำหรับการจราจรบนทางหลวง พ.ศ. 2563
- ↑ แบบแนะนำการติดตั้งป้ายจำกัดความเร็ว