บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) |
ประเภท | วัสดุก่อสร้าง |
---|
อุตสาหกรรม | อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง [1] |
---|
รูปแบบ | บริษัทมหาชน SET:SCCC |
---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2512 (55 ปี) |
---|
สำนักงานใหญ่ | 199 อาคารคอลัมน์ทาวเวอร์ ชั้น 3, 10 และ 12 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร [1] |
---|
บุคลากรหลัก | พอล ไฮน์ ฮูเกนโทเบลอร์ (ประธานกรรมการ) รานจัน ซาซเดอวา (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – กลุ่มงานการเงิน) มนตรี นิธิกุล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจปูนซีเมนต์ของประเทศไทย) |
---|
เว็บไซต์ | http://www.siamcitycement.com |
---|
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: SIAM CITY CEMENT PUBLIC COMPANY LIMITED ชื่อย่อ:SCCC) [2] หรือบางครั้งอาจเรียกว่า "ปูนกลาง" [3] คือผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ รายใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2512 ซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2520 และจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดมหาชนตั้งแต่ปี 2536 โดยผลิตปูนซีเมนต์ภายใต้ชื่อ "อินทรี"
ปัจจุบัน ปูนซีเมนต์นครหลวง (บปน.) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ 199 อาคารคอลัมน์ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด ประกอบธุรกิจหลักคือการผลิตปูนซีเมนต์ จัดตั้งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท โดยตระกูลรัตนรักษ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2512 และได้เริ่มดำเนินการผลิตปูนซีเมนต์ตั้งแต่ปี 2515 เป็นต้นมา
ในปี 2520 หลังจากประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
ปูนซีเมนต์นครหลวงได้จดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และในปี 2524 บริษัทได้มีการพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตปูนซีเมนต์ในโรงงาน
ที่จังหวัดสระบุรี จากน้ำมันเตาซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มาเป็นถ่านหินลิกไนต์จากแหล่งภายในประเทศ
และในปี 2532 ปูนซีเมนต์นครหลวงยังเป็นผู้นำและบริษัทแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำระบบผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือใช้ (waste heat recovery system)
ในกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งทำให้ลดการบริโภคน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนหลัก
ในการผลิตปูนซีเมนต์โดยการดักเก็บความร้อนจากเตาเผาปูนซีเมนต์แล้วนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ต่อมาปี 2536 บริษัทเปลี่ยนชื่อเป็นทางการ “บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด(มหาชน)” (Siam City Cement Public Company Limited)
แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หลังจากจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ข้อมูล ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 รวบรวมรายชื่อจาก XO [4]
ลำดับที่ |
รายชื่อผู้ถือหุ้น |
จำนวนหุ้นสามัญ |
สัดส่วนการถือหุ้น
|
1 |
บริษัท ซันไรส์ อีคิวตี้ จำกัด |
205,512,841 |
68.964%
|
2 |
บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด |
28,091,034 |
9.427%
|
3 |
นายปริญญา เธียรวร |
6,700,000 |
2.248%
|
4 |
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด |
3,199,367 |
1.074%
|
5 |
กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ. เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) |
2,920,399 |
0.980%
|
ผลิตภัณฑ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
เกษตรและ อุตสาหกรรมอาหาร | ธุรกิจการเกษตร | |
---|
อาหารและเครื่องดื่ม | |
---|
|
---|
สินค้าอุปโภคบริโภค | แฟชั่น | |
---|
ของใช้ในครัวเรือน และสำนักงาน | |
---|
ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ | |
---|
|
---|
ธุรกิจการเงิน | ธนาคาร | |
---|
เงินทุนและหลักทรัพย์ | |
---|
ประกันภัยและประกันชีวิต | |
---|
|
---|
วัตถุดิบและ สินค้าอุตสาหกรรม | ยานยนต์ | |
---|
วัสดุอุตสาหกรรม และเครื่องจักร | |
---|
กระดาษและวัสดุการพิมพ์ | |
---|
ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ | |
---|
บรรจุภัณฑ์ | |
---|
เหล็กและผลิตภัณฑ์โลหะ | |
---|
|
---|
อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง | วัสดุก่อสร้าง | |
---|
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | |
---|
บริการรับเหมาก่อสร้าง | |
---|
|
---|
ทรัพยากร | พลังงานและสาธารณูปโภค | |
---|
เหมืองแร่ | |
---|
|
---|
บริการ | พาณิชย์ | |
---|
การแพทย์ | |
---|
สื่อและสิ่งพิมพ์ | |
---|
การท่องเที่ยวและสันทนาการ | |
---|
บริการเฉพาะกิจ | |
---|
ขนส่งและโลจิสติกส์ | |
---|
|
---|
เทคโนโลยี | เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร | |
---|
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ | |
---|
|
---|
|