ปีแยร์ บัลแม็ง

ปีแยร์ บัลแม็ง
เกิด18 พฤษภาคม ค.ศ. 1914(1914-05-18)
แซงต์-ฌอง-เดอ-มัวเรียน, จังหวัดซาวัว, ฝรั่งเศส
เสียชีวิต29 มิถุนายน ค.ศ. 1982(1982-06-29) (68 ปี)
ปารีส, ฝรั่งเศส
อาชีพดีไซเนอร์
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งบัลแม็ง
Notable creditNeiman Marcus Fashion Award, 1955; เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์, 1962; เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร, 1963; Drama Desk Award for Outstanding Costume Design winner[1]

ปีแยร์ บัลแม็ง (ฝรั่งเศส: Pierre Alexandre Claudius Balmain, 18 พฤษภาคม 1914 – 29 มิถุนายน 1982) เป็นดีไซเนอร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสและผู้ก่อตั้ง "บัลแม็ง" แบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นที่รู้จักในด้านความสง่างามและความซับซ้อนของงานออกแบบ เขาเปรียบเทียบศิลปะการตัดเย็บเสื้อผ้าเสมือนเป็น 'สถาปัตยกรรมแห่งการเคลื่อนไหว'[2]

ชีวิตวัยเด็ก

บิดาของบัลแม็งซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขายส่งผ้าม่านเสียชีวิตขณะที่เขาอายุเพียง 7 ขวบ ฟรองซัวส์มารดาของเขาร่วมกับพี่สาวน้องสาวของเธอเปิดร้านบูติกเสื้อผ้าชื่อ กาเลรี ปารีเซียง[1] เขาเข้าเรียนที่ช็องเบรี และเมื่อมีโอกาสไปพักผ่อนกับลุงที่อ็อกซ์-เล-แบนส์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เขาได้พบกับสุภาพสตรีชั้นสูงหลายท่าน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาหลงใหลในความสง่างามและความประณีตของแฟชั่นชั้นสูง[1]

บัลแม็งเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรม ณ โรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งชาติ (École des Beaux-Arts) ในปี 1933 พร้อมกันนี้ยังทำงานฟรีแลนซ์ด้านการออกแบบให้กับนักออกแบบชื่อดังอย่างโรแบร์ พิเกต์ ไปด้วย

อาชีพ

หลังจากเยี่ยมชมสตูดิโอของเอ็ดเวิร์ด มอลินูซ์ ในปี 1934 บัลแม็งได้รับข้อเสนองาน ทำให้เขาตัดสินใจหยุดเรียนและเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับมอลินูซ์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี[3] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปีแยร์ บัลแม็งได้เข้าทำงานกับลูเซียน เลอลง ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับคริสตีย็อง ดียอร์ ดีไซเนอร์หนุ่มดาวรุ่ง[2][3]

เสียชีวิต

ปีแยร์ บัลแม็ง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับที่โรงพยาบาลอเมริกันในปารีส ขณะอายุ 68 ปี หลังจากเพิ่งวาดภาพร่างคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วงเสร็จสิ้น[4]

แบรนด์บัลแม็ง

แบรนด์บัลแม็งเปิดตัวในปี ค.ศ. 1945[3] แบรนด์บัลแม็งโดดเด่นในช่วงแรกด้วยกระโปรงทรงระฆังยาวเอวคอด ซึ่งเป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีดีไซเนอร์ชื่อดังอย่างดียอร์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด "New Look" ในปี 1947[3] คอลเล็กชั่นแรกของบัลแม็งเปิดตัวในนิตยสารโว้ก ฉบับเดือนพฤศจิกายน และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ว่า เสื้อผ้าของแบรนด์นั้น "สวยงามและน่าอยากใส่"

บัลแม็งออกแบบฉลองพระองค์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1960

บัลแม็ง มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับโลก จนได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบฉลองพระองค์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960[5]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 staff. "Voguepedia:Pierre Balmain". Vogue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2014. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  2. 2.0 2.1 "Balmain". Elle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2011. สืบค้นเมื่อ 26 March 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Balmain Biography". stylesequel.com. Style Sequel. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
  4. Morris, Bernadine (30 June 1982). "PIERRE BALMAIN IS DEAD AT 68; DESIGNER OF WOMEN'S CLOTHES". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
  5. Seaman, Margo; Rhodes, Nelly. "Balman, Pierre". fashionencyclopedia.com. Fashion Encyclopaedia. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!