ปีเตอร์ ซุนเด |
---|
ซุนเดเมื่อพ.ศ. 2552 |
เกิด | ปีเตอร์ ซุนเด โกลมิซอปปิ (1978-09-13) 13 กันยายน ค.ศ. 1978 (46 ปี) อุดเดอวัลลา ประเทศสวีเดน |
---|
ชื่ออื่น | brokep |
---|
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ร่วมก่อตั้งเดอะไพเรตเบย์ ผู้ก่อตั้ง Flattr ผู้ร่วมก่อตั้งKvittar ผู้ร่วมก่อตั้ง IPREDator |
---|
ปีเตอร์ ซุนเด โกลมิซอปปิ (อังกฤษ: Peter Sunde Kolmisoppi) เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2521 นามแฝง โบรค เป็น นักการเมือง ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์ และโฆษก ที่มีต้นตระกูลจากประเทศนอร์เวย์และประเทศฟินแลนด์[1][2] เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตโฆษกของเว็บไซต์เดอะไพเรตเบย์ ซึ่งเป็นเสิร์ชเอนจินบิตทอร์เรนต์[3] เขาเป็นผู้สนับสนุนความเท่าเทียมและแสดงความกัลวลเกี่ยวกับการรวมตัวของอำนาจในสหภาพยุโรปในบล็อกของเขา[4] ซุนเดได้เข้าร่วม พรรคไพเรตแห่งประเทศฟินแลนด์ (Pirate Party of Finland) อีกด้วย
ชีวิตส่วนตัว
ก่อนการก่อตั้งไพเรตเบย์ ซุนเดทำงานที่บริษัททางการแพทย์เยอรมันขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ในพ.ศ. 2546 เขากลายเป็นสมาชิก Piratbyrån (สำนักงานเดอะไพเรต) ของประเทศสวีเดน ไม่กี่เดือนต่อมา เฟรดริก นีล (Fredrik Neil) และ ก็อตฟรายด์ สวาร์ตโฮล์ม (Gottfried Svartholm) ร่วมกันก่อตั้งเดอะไพเรตเบย์ โดยมีซุนเดเป็นโฆษก เขาทำงานเป็นโฆษกของเดอะไพเรตเบย์จนพ.ศ. 2542 (สามปีหลังจากที่สิทธิความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ถูกโอนให้รีเซอร์เวลล่า (Reservella) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 ซุนเดและผู้ร่วมก่อตั้งไพเรตเบย์อย่าง เฟรดริก นีล เปิดตัวเว็บไซต์แชร์ไฟล์ที่ชื่อว่าเบย์ไฟล์ส์ (BayFiles) ซึ่งมีเป้าหมายในการแชร์อย่างถูกกฎหมาย ซุนเดเป็นวีแกน[5] และพูดภาษาสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ อังกฤษ และเยอรมัน
ปีเตอร์ ซุนเด ลงสมัครในการเลือกตั้งพ.ศ. 2557 ของรัฐสภายุโรปในพรรคไพเรตแห่งประเทศฟินแลนด์[6]
ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ไม่กี่วันหลังการเลือกตั้งรัฐสภายุโรป และเป็นเวลา 8 ปีพอดีที่ตำรวจบุกยึดระบบเซิร์ฟเวอร์ของเดอะไพเรตเบย์ ซุนเดถูกจับกุมตัวในฟาร์มในเมืองมัลเมอ และถูกจำคุกในคดีของไพเรตเบย์[7] เขาถูกปล่อยตัว 5 เดือนต่อมาหลังถูกจำคุกเป็นเวลา 2 ใน 3 ของโทษที่มีระยะเวลาแปดเดือน[8]
คดีไพเรทเบย์
ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2541 ผู้ดำเนินการเดอะไพเรตเบย์ ซึ่งมี ซุนเด, เฟรดริก นีล, ก็อตฟรายด์ สวาร์ตโฮล์ม, และ คาร์ล ลุนด์สตอม (Carl Lundström) ผู้เป็นกรรมการผู้จัดการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเจ้าเก่าของเดอะไพเรทเบย์ ถูกฟ้องด้วยข้อหา "ช่วยเหลือ [ผู้อื่น] ในการละเมิดลิขสิทธิ์"[9] คดีเริ่มเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ในวันที่ 17 เมษายน ปีเดียวกัน ซุนเดและจำเลยคนอื่นถูกพบว่ามีความผิดฐาน "ให้ความช่วยเหลือในการทำให้ข้อมูลละเมิดลิขสิทธ์เข้าถึงได้" ในศาลเขตกรุงสต็อกโฮล์ม จำเลยแต่ละคนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีและต้องจ่ายค่าปรับร่วมกันถึง 30 ล้านโครนา หรือเท่ากับประมาณ 130 ล้านบาท[10] หลังคำตัดสินได้มีการจัดงานแถลงข่าวซึ่งซุนเดทำการเซ็นหนังสือยอมรับสภาพหนี้และบอกว่าเขาจะจ่ายค่าเสียหายทั้งหมด และยังเพิ่มเติมอีกว่า "ถึงผมจะมีเงิน ผมก็จะเผาทุกอย่างที่เป็นของผม และจะไม่ให้แม้แต่ขี้เถ้าแก่พวกเขา พวกเขาจะหยิบมันขึ้นมาเองก็ได้ นั่นคือความเกลียดวงการสื่อของผม"[11]
บางส่วนของบทสัมภาษณ์กับซุนเดที่พูดถึงลิขสิทธิ์ อินเทอร์เน็ต และวัฒนธรรม พบได้ในภาพยนตร์สารคดีในพ.ศ. 2550 ที่ชื่อว่า Steal This Film และสารคดีพ.ศ. 2556 TPB AFK
Flattr
Flatter คือ ระบบไมโครเพย์เมนต์ก่อตั้งโดย ซุนเด และ ไลนัส โอลซัน (Linus Olson) ซึ่งทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถบริจาคเงินจำนวนน้อยให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์ โดนการคลิดปุ่ม "Flattr this" ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ขณะประกาศเกี่ยวกับโครงการ ซุนเดอธิบายว่า "เงินที่คุณจ่ายในแต่ละเดือนจะถูกแบ่งไปยังปุ่มที่คุณคลิกในแต่ละเดือนในปริมาณเท่าๆ กัน เราอยากส่งเสริมให้ผู้คนแบ่งปันเงินเช่นเดียวกับเนื้อหา"[12] Flattr เองเก็บค่าบริการในปริมาณ 10%[12]
หลังการเปิดตัวของวิกิลีกส์ บริษัทอย่าง วีซ่า มาสเตอร์การ์ด เพย์พอล และมันนี่บุกเกอร์ ทำการบล็อกเงินบริจาคและเงิยที่ถูกโอนเข้าเว็บไซต์วิกิลีกส์ ทว่า Flattr ยังคงอนุญาตให้บริจาคเงินไปยังวิกิลีกส์ได้ ซุนเดกล่าวว่า "พวกเรา [Flattr] คิดว่างานของพวกเขาคือสิ่งที่มีความต้องการและหากเราสามารถช่วยเขาได้แม้แต่นิด เราก็จะทำ"[13]
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น