ภาพรวมของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในวิดีโอเกม
ในวิดีโอเกม ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถูกใช้เพื่อสร้างการตอบสนอง, ปรับตัวได้ หรือเชาวน์ปัญญา โดยเฉพาะในเหล่าตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม (NPCs) ซึ่งคล้ายกับปัญญาที่เหมือนมนุษย์ ปัญญาประดิษฐ์เป็นส่วนสำคัญของวิดีโอเกมตั้งแต่การเริ่มในคริสต์ทศวรรษ 1950[ 1] ปัญญาประดิษฐ์ในวิดีโอเกมเป็นขอบเขตย่อยที่แตกต่างกันและแตกต่างจากปัญญาประดิษฐ์เชิงวิชาการ ซึ่งช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้เล่นเกมมากกว่าการเรียนรู้ของเครื่องหรือการตัดสินใจ ในช่วงยุคทองของวิดีโอเกมอาร์เคด ความคิดของปัญญาประดิษฐ์ฝ่ายตรงข้ามได้รับความนิยมอย่างมากในรูปแบบของแบ่งขั้นระดับความยาก, รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน และเหตุการณ์ในเกมโดยขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลของผู้เล่น เกมสมัยใหม่มักใช้เทคนิคที่มีอยู่ เช่น การค้นหาเส้นทาง และการเรียนรู้แบบต้นไม้ตัดสินใจ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม ปัญญาประดิษฐ์มักใช้ในกลไกที่ผู้ใช้มองไม่เห็นในทันที เช่น การทำเหมืองข้อมูล และการสุ่มสร้างเนื้อหาขึ้นอย่างเป็นระบบ [ 2]
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วปัญญาประดิษฐ์ของเกมไม่ได้เป็นอย่างที่คิด และบางครั้งก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเช่นนั้น ซึ่งหมายถึงการทำให้บุคคลเทียมให้เป็นที่สอดคล้องกับตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุม ในลักษณะของการพูด, การทดสอบทัวริง หรือปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป
ภาพรวม
คำว่า "เอไอเกม" ใช้เพื่ออ้างถึงชุดอัลกอริทึม แบบกว้าง ๆ ซึ่งรวมถึงเทคนิคต่าง ๆ จากทฤษฎีระบบควบคุม , วิทยาการหุ่นยนต์ , คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไป ดังนั้น เอไอวิดีโอเกมมักไม่ได้เป็น "ปัญญาประดิษฐ์ที่แท้จริง" ซึ่งเทคนิคดังกล่าวไม่จำเป็นต้องอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์หรือเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ โดยเป็นเพียง "การคำนวณอัตโนมัติ" หรือที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และชุดคำตอบที่จำกัดสำหรับคำตอบที่กำหนดไว้ล่วงหน้า รวมถึงชุดอินพุตที่จำกัด[ 3] [ 4] [ 5]
อุตสาหกรรมและกระแสเสียงขององค์การจำนวนมาก[ 6] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง ] อ้างว่าปัญญาประดิษฐ์วิดีโอเกมมาไกลในแง่ที่ว่าได้ปฏิวัติวิธีที่มนุษย์โต้ตอบกับเทคโนโลยีทุกรูปแบบ แม้ว่านักวิจัยผู้เชี่ยวชาญหลายคน[ใคร? ] จะไม่เชื่อในคำกล่าวอ้างดังกล่าว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดที่ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสมกับคำจำกัดความของ "ปัญญา" ที่ใช้เป็นมาตรฐานในประชานศาสตร์ [ 3] [ 4] [ 5] ซึ่งกระแสเสียง[ 7] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง ] ทำให้เกิดข้อโต้แย้งว่าปัญญาประดิษฐ์มีความหลากหลายมากขึ้นในวิธีที่เราใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งหมดมากกว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์อนุญาตให้เทคโนโลยีดำเนินการได้หลายวิธี โดยถูกกล่าวหาว่าพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองและปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อนของผู้ใช้[ 8]
อย่างไรก็ตาม ผู้คน[ 9] [ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง ] ในวงการปัญญาประดิษฐ์แย้งว่าปัญญาประดิษฐ์ในวิดีโอเกมไม่ใช่ปัญญาที่แท้จริง แต่คำโฆษณาที่ใช้ในการอธิบายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้อัลกอริธึมการเรียงลำดับและการจับคู่อย่างง่ายเพื่อสร้างภาพลวงตาของพฤติกรรมที่ชาญฉลาด ในขณะที่ให้ซอฟต์แวร์ที่มีกลิ่นอายของความซับซ้อนและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีที่ทำให้เขว[ 3] [ 4] [ 5] อนึ่ง เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์เกมสำหรับตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุมนั้นเน้นที่รูปลักษณ์ของความฉลาดและรูปแบบการเล่นที่ดีภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อม แนวทางของปัญญาประดิษฐ์สำหรับตัวละครที่ผู้เล่นไม่ได้ควบคุมจึงแตกต่างจากปัญญาประดิษฐ์แบบเดิมมาก
ประวัติ
การเล่นเกมเป็นงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ตั้งแต่เริ่ม ตัวอย่างแรกของปัญญาประดิษฐ์คือเกมคอมพิวเตอร์ของนิม ที่ได้รับการสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1951 และเผยแพร่ใน ค.ศ. 1952 แม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงในปีดังกล่าวที่ได้รับการสร้างขึ้น 20 ปีก่อนเกมป็อง แต่เกมดังกล่าวมีรูปแบบเป็นกล่องที่ค่อนข้างเล็กและสามารถชนะเกมได้อย่างสม่ำเสมอแม้กระทั่งกับผู้เล่นที่มีทักษะสูงของเกม[ 1] ใน ค.ศ. 1951 คริสโตเฟอร์ สเตรชีย์ ใช้เครื่องเฟอร์แรนติมาร์ก 1 ของมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เขียนโปรแกรมหมากฮอส และดีทริช พรินทซ์ เขียนโปรแกรมหมากรุกสากล [ 10] โดยสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ๆ ที่เคยเขียน ส่วนโปรแกรมหมากฮอสของอาเธอร์ ซามูเอล ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 50 และต้นคริสต์ทศวรรษ 60 ในตอนท้ายก็มีทักษะเพียงพอที่จะท้าทายมือสมัครเล่นคู่บ้านคู่เมือง[ 11] กระทั่งการทำงานเกี่ยวกับหมากฮอสและหมากรุกทำให้แกรี คาสปารอฟ พ่ายแพ้โดยคอมพิวเตอร์ดีปบลู ของไอบีเอ็ม ใน ค.ศ. 1997[ 12] ทั้งนี้ วิดีโอเกม ตอนแรกที่พัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เช่น สเปซวอร์! , ป็อง และกอตชา (ค.ศ. 1973) เป็นเกมที่ใช้ตรรกะไม่ต่อเนื่อง และมีพื้นฐานมาจากการแข่งของผู้เล่นสองคน โดยไม่มีปัญญาประดิษฐ์
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Grant, Eugene F.; Lardner, Rex (2 August 1952). "The Talk of the Town – It" . The New Yorker .
↑ Yannakakis, Geogios N (2012). "Game AI revisited" (PDF) . Proceedings of the 9th Conference on Computing Frontiers : 285–292. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2020-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-03-01 .
↑ 3.0 3.1 3.2 Bogost, Ian (March 2017). " "Artificial Intelligence" Has Become Meaningless" . สืบค้นเมื่อ 22 July 2017 .
↑ 4.0 4.1 4.2 Kaplan, Jerry (March 2017). "AI's PR Problem" . MIT Technology Review .
↑ 5.0 5.1 5.2 Eaton, Eric; Dietterich, Tom; Gini, Maria (December 2015). "Who Speaks for AI?". AI Matters . 2 (2): 4–14. doi :10.1145/2847557.2847559 . S2CID 207233310 .
↑ "How artificial intelligence will revolutionize the way video games are developed and played" . 6 March 2019.
↑ "Why gaming AI won't help make AI work in the real world—but could" . 30 August 2018.
↑ Eastwood, Gary. "How video game AI is changing the world" . CIO (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ February 28, 2017. สืบค้นเมื่อ 28 February 2017 .
↑ "Why video games and board games aren't a good measure of AI intelligence" . 19 December 2019.
↑ See "A Brief History of Computing" at AlanTuring.net.
↑ , Schaeffer, Jonathan. One Jump Ahead:: Challenging Human Supremacy in Checkers , 1997,2009, Springer, ISBN 978-0-387-76575-4 . Chapter 6.
↑ แม่แบบ:McCorduck 2004 , p. 480-483
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น