ปัญญา จินตะเวช

ปัญญา จินตะเวช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 ธันวาคม พ.ศ. 2490
จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
เสียชีวิต24 กันยายน พ.ศ. 2565 (74 ปี)
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
พรรคการเมืองปวงชนชาวไทย (2531–2535)
ความหวังใหม่ (2535–2543)
มหาชน (2543–2550)
ชาติพัฒนา (2550–2552)
เพื่อไทย (2552–2565)
คู่สมรสสืบทรัพย์ จินตะเวช

ปัญญา จินตะเวช (19 ธันวาคม พ.ศ. 2490 – 24 กันยายน พ.ศ. 2565) อดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ

ปัญญา เกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของ วิฑูรย์ จินตะเวช มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน รวมถึง ตุ่น จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี หลายสมัย พี่ชาย และนายศักดิ์ชัย จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี น้องชาย อุดร จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี

ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2516 สมรสกับนางสืบทรัพย์ จินตะเวช อดีตสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานีหลายสมัย มีบุตร 3 คน ได้แก่ นายประภูศักดิ์ จินตะเวช นายเศกสิทธิ์ จินตะเวช และนางวิเกศญา จินตะเวช พัชรธรรมพันธุ์[1] สมรสกับนายวิเชียร พัชรธรรมพันธุ์ อัยการศาลสูงจังหวัดอุบลราชธานี อดีตอัยการจังหวัดปทุมธานี และอัยการจังหวัดเดชอุดม

สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหนองแสง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนมัธยมวิฑูรย์วิทยาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิลัยวัฒนาอุบลราชธานี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา (ศษ.ม.) จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

การทำงาน

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 ทำกิจการโรงภาพยนตร์ที่อำเภอเดชอุดม ชื่อโรงหนังหลักเมืองภาพยนตร์ ร่วมกับบิดาและพี่ชาย ต่อมาในปีพ.ศ. 2516 ได้ทำกิจการหน่วยฉายภาพยนตร์เคลื่อนที่ ชื่อ ปัญจพรภาพยนตร์  เร่ฉายภาพยนตร์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและใกล้เคียง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 5 หน่วยบรรทุกด้วยรถยนต์บรรทุกสิบล้อ ซึ่งเป็นหน่วยเร่ฉายภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี ใช้จอความกว้างใหญ่ถึง ๓๖ เมตร โดยพากย์เสียงภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศด้วยตนเอง ได้รับรางวัลโล่เกียรติยศทองคำฝังเพชร ในการประกวดการฉายภาพยนตร์จากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีในขณะนั้น ในระหว่างเร่ฉายภาพยนตร์ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในจังหวัด

ในปีพ.ศ. 2526 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอุบลราชธานี เขตอำเภอเดชอุดม ประกอบด้วยตำบลจำนวน 16 ตำบล ได้รับการเลือกตั้งจำนวน 2 สมัย

ในปีพ.ศ. 2531 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ ๒ ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอบุณฑริก ในนามพรรคปวงชนชาวไทย ซึ่งมีพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก  อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับการเลือกตั้ง ด้วยคะแนน 81,000 คะแนนเศษ

ต่อมาในปีพ.ศ. 2535 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 2 ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอบุณฑริก ในนามพรรคความหวังใหม่ ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค เนื่องจากพรรคปวงชนชาวไทย ได้ยุบพรรค โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 มีวาระเพียง 8 เดือนเศษ จึงมีการยุบสภาผู้แทนราษฏร เนื่องจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ถูกรัฐประหาร  และได้รับเลือกตั้งในสมัยที่ 3 ในปีเดียวกันมีวาระ 2 ปีเศษ ได้รับตำแหน่ง กรรมาธิการการสาธารณสุข และโฆษกคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น

พ.ศ. 2538 ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม นายพูลสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ถ่ายภาพคู่ท่านนายก ดร.ทักษิณ ชินวัตร

พ.ศ. 2538 ได้ยื่นแปรญัติขอจัดตั้งศาลจังหวัดเดชอุดม และผลักดันจนสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติผ่านกฎหมาย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2538 โดยมีสาระสำคัญคือ จัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยให้มีเขตอำนาจตลอดท้องที่อำเภอเดชอุดม อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก กิ่งอำเภอทุ่งศรีอุดม และกิ่งอำเภอนาเยีย เนื่องจากปริมาณคดีในเขตอำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าวมีปริมาณพอสมควร การคมนาคม ระหว่างตัวจังหวัดกับอำเภอต่างๆ บางแห่งมีระยะทางห่างไกล และไม่สะดวกในการเดินทาง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่ต้องรับบริการด้านอำนวยความยุติธรรมจากรัฐ

และในปีเดียวกันขณะดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ผลักดันให้กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้ง วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม เป็นผลสำเร็จ

ต่อมาในปีพ.ศ. 2539 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 3 ประกอบด้วยอำเภอเดชอุดม อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอนาเยีย และอำเภอบุณฑริก ในนามพรรคความหวังใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4 ด้วยคะแนน 98,000 คะแนนเศษ  ได้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (มีนายสุขวิทย์ รังสิตพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) และได้ดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อีกตำแหน่ง

ปีพ.ศ. 2552 ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย และในปีพ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 9 ประกอบด้วย อำเภอนาจะหลวย อำเภอบุณฑริก  และตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร  ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงเป็นอันดับต้นของจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น โดยชนะคู่แข่งเท่าตัว เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยที่ 5 ได้รับตำแหน่ง กรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภาผู้แทนราษฎร และประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

ในปีพ.ศ. 2557 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในเขตเลือกตั้งเดิม เป็นสมัยที่ 6

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!