ปลาช่อนเจ็ดสี หรือ ปลาช่อนสายรุ้ง (อังกฤษ : Rainbow snakehead ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Channa bleheri เป็นปลาช่อน แคระชนิด หนึ่งที่มีเฉพาะถิ่น บริเวณลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในรัฐอัสสัม และรัฐอรุณาจัลประเทศ ของอินเดีย[ 2] เป็นหนึ่งในปลาช่อนชนิดที่มีสีสันสวยงามมากที่สุด[ 3]
การกระจายพันธุ์และนิรุกติศาสตร์
ในธรรมชาติสายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำในรัฐอัสสัมของอินเดียเป็นหลัก โดยมีชื่อเรียกในภาษาอัสสัม ว่า sengeli หรือ chengeli (อัสสัม : চেঙেলী ) ชื่อทวินามเป็นเกียรติแก่นักสำรวจและผู้ค้าปลาต่างถิ่น ไฮโค เบลเฮอร์ (Heiko Bleher ) ชาวเยอรมัน[ 4] ที่ช่วยเหลือในการรวบรวมชนิดและมอบตัวอย่างให้กับนักมีนวิทยา เยิร์ค เฟียร์เค (Jörg Vierke )[ 5]
เป็นปลาเฉพาะถิ่นของลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ปลาชนิดนี้มีถิ่นที่อยู่ที่เมืองดิบรูการห์ (ডিব্ৰুগড় ) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอัสสัม[ 3] สายพันธุ์ที่ใกล้ชิดที่สุดคือ Channa burmanica ซึ่งมีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของพม่า [ 3]
ลักษณะและความนิยมเป็นปลาตู้
จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ขนาดเล็กเช่นเดียวกับปลาก้าง (C. limbata ) และปลาก้างอินเดีย (C. gachua ) คือ ขนาดเมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่เกิน 20 เซนติเมตร แต่ได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนแคระที่มีสี สันสวยงาม มาก โดยมีหลากหลายสีในตัวเดียวกัน ทั้ง ขาว , น้ำเงิน , แดง , ส้ม สลับกันไปบนพื้นลำตัวสีน้ำตาล อีกทั้งครีบต่าง ๆ โดยเฉพาะครีบหูก็มีลวดลายเป็นริ้ว ๆ สีดำ อีกด้วย
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาช่อนชนิดที่มีลวดลายสวยงามอื่น โดยสามารถเลี้ยงรวมกับปลาช่อนสวยงามขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ ได้ เนื่องด้วยปลาในกลุ่มนี้จัดว่ามีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว อีกทั้งยังมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยเริ่มจากปลาวัยอ่อนที่มีความยาวประมาณหนึ่งเซนติเมตร (0.4 นิ้ว) ซึ่งจะมีลำตัวสีเหลือง และเมื่อโตเต็มวัยจึงจะมีจุดสีส้มหรือสีแดงขนาดใหญ่บนลำตัว[ 3]
พฤติกรรมในธรรมชาติ ปลาช่อนกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิหลากหลายเปลี่ยนแปลงต่างขั้วกันในรอบปี ตั้งแต่ฤดูที่มีฝนตกหนัก ฤดูร้อนที่อุณหภูมิร้อนจัด ไปจนถึงฤดูหนาวที่มีการละลายของหิมะจากเทือกเขาสูงตามแนวเทือกเขาหิมาลัย จึงมีพฤติกรรมขุดโพรงลึกตามรากไม้เพื่อจำศีล จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูที่เหมาะสมต่อการหากินและแพร่ขยายพันธุ์ต่อไป[ 6]
พฤติกรรมในการขยายพันธุ์
ปลาช่อนเจ็ดสี วัยอ่อนในอควาเรียม
ในบรรดาปลาช่อนแคระ ชนิดนี้เป็นเพียงชนิดพันธุ์เดียวที่ทำรัง ขณะที่ชนิดอื่น ๆ จะอมไข่ไว้ในปาก ตัวเมียซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ดูเหมือนจะเริ่มการเกี้ยวพาราสีแม้ว่าตัวผู้จะเป็นผู้เลือกสถานที่ทำรัง และปลาพ่อแม่ทั้งสองจะคอยช่วยกันดูแลตัวอ่อน[ 3]
ตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยจะขยับเข้าใกล้ผิวน้ำเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์[ 3] ปลาชนิดนี้เป็นปลาที่หากินบริเวณหน้าดิน (benthopelagic ) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้กับบริเวณพื้นแหล่งน้ำ[ 7]
ปัญหาสิ่งแวดล้อมและกฎหมายในสหรัฐ
รัฐบาลกลางสหรัฐกังวลว่าการปล่อยปลาชนิดนี้ลงในแหล่งน้ำในประเทศอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม นักล่าชนิดนี้สามารถฆ่าสัตว์พื้นเมืองได้โดยเฉพาะในพื้นที่ทางใต้ เช่น ฟลอริดา , เท็กซัส และฮาวาย ที่มีอากาศอบอุ่นคล้ายกับสภาพอากาศของรัฐอัสสัม[ 3]
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมายในสหรัฐที่จะครอบครอง, นำเข้า หรือจำหน่ายปลาชนิดนี้รวมทั้งไข่ของมัน[ 8] [ 9] แต่การละเมิดกฎหมายนี้เกิดขึ้นในหลายรัฐ (เช่น เคนทักกี และจอร์เจีย )[ 3]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Chaudhry, S. (2010). "Channa bleheri " . IUCN Red List of Threatened Species . 2010 : e.T168567A6516424. doi :10.2305/IUCN.UK.2010-4.RLTS.T168567A6516424.en . สืบค้นเมื่อ 22 December 2019 .
↑ SeriouslyFish: Channa bleheri . Retrieved 11 February 2019.
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Courtenay, Walter and Williams, James. Snakeheads (Pisces, Channidae): A Biological Synopsis and Risk Assessment , p. 63 (U.S. Department of the Interior, U.S. Geological Survey, Jan 1, 2004).
↑ Freshwater and Marine Aquarium , Volume 16, Issues 1-4, p. 56 (1993).
↑ Christopher Scharpf; Kenneth J. Lazara (21 October 2019). "Order ANABANTIFORMES: Families ANABANTIDAE, HELOSTOMATIDAE, OSPHRONEMIDAE, CHANNIDAE, NANDIDAE, BADIDAE, and PRISTOLEPIDIDAE" . The ETYFish Project Fish Name Etymology Database . Christopher Scharpf and Kenneth J. Lazara. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019 .
↑ ชวิน ตันพิทยคุปต์; ชัยพัทธ์ งามบุษบงโสภิน (December 2013). "CHANNA CRAZY คนคลั่งช่อน , "Wild Ambition" ". Aquarium Biz . Vol. 4 no. 42. สนพ. ชบาเงิน. p. 103. ISSN 1906-9243 .
↑ Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2006). "Channa bleheri " in FishBase . January 2006 version.
↑ South Carolina Invasive Species Management Plan เก็บถาวร 2021-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (September 2008).
↑ Code of Federal Regulations , 50 CFR 16.13 (2010).
แหล่งข้อมูลอื่น