ปรากฏการณ์กอตง

ปรากฏการณ์กอตง (อังกฤษ: Cotton effect) คือการเปลี่ยนแปลงลักษณะเฉพาะของการกระจายการหมุนเชิงแสง (optical rotatory dispersion) และไดโครอิกแบบวงกลม (circular dichroism) ใกล้กับแถบดูดกลืนของวัสดุ ในย่านความยาวคลื่นที่ถูกดูดกลืน ค่าสัมบูรณ์ของการหมุนเชิงแสงในขั้นต้นจะแปรผันอย่างฉับพลันตามความยาวคลื่น ข้ามศูนย์ที่ค่าสูงสุดในการดูดกลืนแสง จากนั้นกลับมาแปรผันอย่างฉับพลันในทิศทางตรงกันข้ามกับความยาวคลื่นอีก

ปรากฏการณ์นี้ได้รับการค้นพบในปี 1895 โดยแอเม กอตง (Aimé Cotton, 1869–1951) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส

ปรากฏการณ์กอตงจะเรียกว่าปรากฏการณ์กอตง "เชิงบวก" หากการหมุนเชิงแสงเพิ่มขึ้นเมื่อความยาวคลื่นลดลง (ซึ่งกอตงค้นพบเป็นครั้งแรก) และปรากฏการณ์กอตง "เชิงลบ" หากการหมุนเชิงแสงเริ่มลดลง[1]

โครงสร้างโปรตีนเช่น β-sheets และ α-helices แสดงปรากฏการณ์กอตงเชิงลบด้วยค่าสูงสุด 199 และ 205 นาโนเมตรตามลำดับ โครงสร้างที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนจะปรากฏการณ์กอตงเชิงบวก[2]

เชิงอรรถ

  1. Ernest L. Eliel and Samuel H. Wilen (1994). Stereochemistry of Organic Compounds. Wiley. p. 1000.
  2. Belitz, Grosch, Schieberle: Lehrbuch der Lebensmittelchemie. Springer Verlag, 2001, ISBN 3-540-41096-1, p. 58

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!