บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน
ภาพถ่ายของ บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน
เกิด ค.ศ. 1870ซานลุยส์ หรือ ซานฮวน , อาร์เจนตินา เสียชีวิต ค.ศ. 1960มอนเตวิเดโอ , อุรุกวัย อาชีพ นักข่าว นักกิจกรรม มีชื่อเสียงจาก เผยแพร่หนังสือพิมพ์อนาธิปไตย จัดตั้งการเดินขบวนเมย์เดย์ เป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้
บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน (ค.ศ. 1870 – 1960) เป็นนักข่าวและนักกิจกรรมอนาธิปไตย และสตรีนิยม ชาวอาร์เจนตินา เชื้อสายเยอรมัน เธอได้ถูกยกย่องว่าเป็นนักพูดที่มีพรสวรรค์[ 1] [ 2] และถูกถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี ในประเทศอาร์เจนตินา ใน ค.ศ. 1902 เธอถูกเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศอุรุกวัย ซึ่งเป็นที่ที่เธออาศัยอยู่จนกระทั่งถึงแก่กรรม
ประวัติ
บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน เป็นลูกสาวของผู้อพยพชาวเยอรมัน เธอเกิดเมื่อ ค.ศ. 1870 ในประเทศอาร์เจนตินา เมืองซานลุยส์หรือซานฆวนไม่แน่ชัด เธอใช้ชีวิตวัยเด็กในรัฐซานฆวน และย้ายไปอาศัยที่เมืองโรซาริโอ เมื่ออายุ 14 ปี หลังจากก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เธอได้ทำงานเป็นช่างทำรองเท้าและคนงานโรงงานน้ำตาล ขณะทำงานเป็นช่างทำรองเท้าเธอได้พบกับผู้จัดตั้งสหภาพแรงงานรองเท้า ฆวน มาร์เกซ ซึ่งพวกเขาได้สมรสกันในภายหลัง[ 3] ด้วยความที่เธอรู้จักกับ ปีเอโตร โกรี (Pietro Gori) จึงทำให้เธอได้เข้ามาสู่แวดวงแนวคิดอนาธิปไตย[ 4] ภายหลังจากการทำกิจกรรมในขบวนการแรงงาน อนาธิปไตย และสตรีนิยมเป็นเวลาหลายปี ใน ค.ศ. 1902 เธอถูกเนรเทศไปยังอุรุกวัย ตามกฎหมายถิ่นที่อยู่ (สเปน : Ley de Residencia ) ของอาร์เจนตินาในขณะนั้น[ 1] [ 5]
ความเคลื่อนไหว
ใน ค.ศ. 1888 บ็อลเทินได้มาเป็นหนึ่งในผู้จัดพิมพ์ของหนังสือพิมพ์อนาธิปไตยสำนักแรก ๆ สำนักหนึ่งในอาร์เจนตินาชื่อ El Obrero Panadero de Rosario (ไทย: คนงานร้านขนมปังแห่งโรซาริโอ ) ใน ค.ศ. 1889 เธอได้จัดตั้งการเดินขบวนและการนัดหยุดงานในภายหลังของช่างเย็บผ้าหญิงในโรซาริโอ ซึ่งนี่อาจเป็นการนัดหยุดงานของคนทำงานเพศหญิงเป็นครั้งแรกในอาร์เจนตินา[ 3] [ 6]
ใน ค.ศ. 1890 บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน, โรมูโล โอวีดี (Romulo Ovidi) และ ฟรันซิสโก เบร์ริ (Francisco Berri) เป็นผู้จัดงานหลักของการเดินขบวนเมย์เดย์ ครั้งแรก ๆ บรรณาธิการคนอื่น ๆ ของ El Obrero Panadero de Rosario ก็มีหน้าที่ที่สำคัญไม่แพ้กันในการจัดงานเดินขบวนแต่ละครั้ง[ 3] ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1890 (หนึ่งวันก่อนการเดินขบวน) เธอถูกควบคุมตัวและสอบสวนโดยกองกำลังตำรวจท้องถิ่นด้วยข้อหาการแจกใบปลิวข้างนอกโรงงานหลัก ๆ ภายในพื้นที่ ระหว่างการเดินขบวนเมย์เดย์ เธอได้เดินนำคนทำงานจำนวนหลักพันคนกลุ่มหนึ่งไปยังปลาซาโลเปซ (Plaza Lopez) ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในเขตชานเมืองของโรซาริโอ ตลอดการเดินขบวนเธอถือธงแดง ซึ่งมีข้อความเขียนไว้ว่า "Primero de Mayo - Fraternidad Universal; Los trabajadores de Rosario cumplimos las disposiciones del Comité Obrero Internacional de París" (ไทย: วันที่หนึ่งเมษายน - ภราดรภาพสากล; คนทำงานเมืองโรซาริโอกระทำตามข้อกำหนดของสภาแรงงานสากลแห่งปารีส )[ 7] [ 8] [ 9] หลังจากถูกเนรเทศไปยังอุรุกวัย เธอได้สานต่อการต่อสู้ของเธอในมอนเตวิเดโอ [ 1]
La Voz de la Mujer
บ็อลเทินอาจมีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อว่า La Voz de la Mujer (ไทย: เสียงของผู้หญิง ) ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ออกมาเก้าฉบับในเมืองโรซาริโอระหว่างวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1896 ถึงวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1897 และได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ใน ค.ศ. 1901 สิ่งพิมพ์ที่คล้ายกันและมีชื่อเดียวกันนั้นได้มีรายงานว่าถูกตีพิมพ์ขึ้นในภายหลังที่เมืองมอนเตวิเดโอ ซึ่งมีการเสนอขึ้นว่าบ็อลเทินอาจเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาและทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการภายหลังที่เธอถูกเนรเทศ[ 1]
La Nueva Senda
ในอุรุกวัย บ็อลเทินได้สานต่องานกิจกรรมของเธอ โดยได้จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ชื่อว่า La Nueva Senda (ไทย: เส้นทางใหม่ ) ระหว่าง ค.ศ. 1909 ถึง 1910[ 10]
สิ่งตีพิมพ์อื่น
เธอได้เผยแพร่บทความหลายชิ้นในวารสารและหนังสือพิมพ์ลัทธิอนาธิปไตย-คอมมิวนิสต์ ที่เป็นที่รู้จักที่สุดมีชื่อว่า La Protesta และ La Protesta Humana [ 3] [ 11]
มรดก
สวนสาธารณะ
สวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตปูเอร์โตมาเดโร ของบัวโนสไอเรส ถูกตั้งชื่อตามเธอเพื่อเป็นเกียรติแด่เธอ[ 12]
ภาพยนตร์
ใน ค.ศ. 2007 รัฐบาลรัฐซานลุยส์ ในอาร์เจนตินาได้ลงทุนในการถ่ายทำภาพยนตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน[ 13] โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของบ็อลเทิน คตินิยมสิทธิสตรีแบบอนาธิปไตย และสภาพทางสังคมซึ่งนำไปสู่การตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ La Voz de la Mujer ซึ่งมีชื่อว่า Ni dios, ni patrón, ni marido (ไทย: ไม่มีพระเจ้า ไม่มีเจ้านาย ไม่มีสามี ) ซึ่งตั้งตามคติพจน์อันหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น[ 13] โดยมี ฆูลิเอตา ดิอัซ (Julieta Díaz) รับบทเป็น บีร์ฆิเนีย บ็อลเทิน ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งออกฉายในวันที่ 29 เมษายน 2010 ในอาร์เจนตินามี เลารา มาญญา (Laura Mañá) เป็นผู้กำกับชาวสเปน
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Molyneux, M. (1986). "No God, No Boss, No Husband: Anarchist Feminism in Nineteenth-Century Argentina" . Latin American Perspectives . Vol. 13 no. 1. SAGE. p. 130. JSTOR 2633723 .
↑ Moya 2002 , p. 205: "Some gifted orators, including women such as Virginia Bolten, María Collazo, and Ramona Ferreyra, could 'pack the house' by themselves."
↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Biography of Virginia Bolten" . 29 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
↑ Carlson, M. (1988). Feminismo!: the woman's movement in Argentina from its beginnings to Eva Perón . Academy Chicago Publishers. p. 127. ISBN 9780897331524 .
↑ Molyneux, M. (2003). Movimientos de mujeres en América Latina: estudio teórico comparado (ภาษาสเปน). แปลโดย Cruz, J. Universitat de València. p. 42. ISBN 9788437620862 . สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
↑ Moya 2002 , p. 202: "The anarchist Virginia Bolten had led in 1889 what was perhaps the first strike by women in the country - that of the dressmakers in Rosario [...]"
↑ Portugal, A. M. (8 มีนาคม 2005). "Anarquistas: "Ni Dios, Ni Patrón, Ni Marido" " (ภาษาสเปน). Mujeres Hoy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 พฤษภาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
↑ "Museo de la Ciudad" (PDF) (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ Avigliano, M. (3 มิถุนายน 2016). "La palabra rugiente" . Página 12 (ภาษาสเปน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2022 . [...] con una bandera negra con letras rojas en las que se leía 'Primero de Mayo, Fraternidad Universal. Los trabajadores de Rosario cumplimos las disposiciones del Comité Obrero Internacional de París.'
↑ Ehrick, C. (2005). The shield of the weak: feminism and the State in Uruguay, 1903-1933 . UNM Press. p. 61. ISBN 9780826334688 . สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
↑ Prieto, Cordero & Muñoz 2014
↑ "Argentina: Caputo, Salvatori associate" . South American Business Information. 6 ธันวาคม 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
↑ 13.0 13.1 Simeoni, A. (3 ตุลาคม 2007). "Film Adaptation of Virginia Bolten's activities" . Página 12 (ภาษาสเปน). อาร์เจนตินา . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มีนาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2010 .
บรรณานุกรม