บันทึกแวมไพร์วานิทัส หน้าปกของมังงะ บันทึกแวมไพร์วานิทัส เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย
ヴァニタスの手記( カルテ ) (Vanitasu no Karute )ชื่อภาษาอังกฤษ The Case Study of Vanitas หรือ Vanitas No Carte แนว
มังงะ Les Memoires de Vanitas บันทึกแวมไพร์วานิทัส เขียนโดย จุน โมจิซุกิ สำนักพิมพ์ สแควร์เอนิกซ์ สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์ นิตยสาร กังกังโจ๊กเกอร์รายเดือน กลุ่มเป้าหมาย โชเน็ง วางจำหน่ายตั้งแต่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 – ปัจจุบันจำนวนเล่ม 10 (หนังสือ )
อนิเมะโทรทัศน์ Vanitas No Carte The Case Study Of Vanitas ヴァニタスの手記 บันทึกแวมไพร์วานิทัส กำกับโดย โทโมยูกิ อิตามูระ อำนวยการสร้างโดย
เขียนบทโดย เดโกะ อากาโอะ ดนตรีโดย ยูกิ คาจิอูระ สตูดิโอ โบนส์ (สตูดิโอ) ถือสิทธิ์โดย อนิพลัสเมเดียเน็ตเวิกส์เอเชีย เครือข่าย โตเกียวเอ็มเอกซ์ , GYT , GTV , BS11 , MBS , CBC , HBC , RKB เครือข่ายภาษาไทย อนิพลัส (ais paly) , อ้ายฉีอี้ , ปีลีปีลี , วีทีวี ฉาย 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 – 2 เมษายน พ.ศ. 2565 ตอน 24 (รายชื่อตอน )
สถานีย่อยการ์ตูนญี่ปุ่น
บันทึกแวมไพร์วานิทัส (ญี่ปุ่น : ヴァニタスの手記( カルテ ) ; โรมาจิ : Vanitasu no Karute ) หรือในชื่ออื่นว่า The Case Study of Vanitas , Les Memoires de Vanitas, Vanitas no Shuki , Vanitas no Carte และชื่ออื่นในภาษาอีกมากมาย นั้นเป็นซีรีส์มังงะ ญี่ปุ่น เขียนเรื่องและวาดภาพโดยจุน โมจิซุกิ ตีพิมพ์ในนิตยสารกังกังโจกเกอร์รายเดือน ของสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีฉากเป็นเมืองปารีส ในศตวรรษที่ 19 เนื้อเรื่องแนวดาร์กแฟนตาชี ดราม่า แอคชั่น คอมเมดี้ โรแมนติก อาญากรรมและลึกลับ แวมไพร์ และสตีมพังก์ แล้วอ้างอิงนิยายกับประวัติศาสตร์ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะ โทรทัศน์โดยสตูดิโอโบนส์ ออกอากาศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงเมษายน พ.ศ. 2565
ภายในเดือนมิถุนายน 2564 บันทึกแวมไพร์วานิทัสมียอดจำหน่ายมากกว่า 5.5 ล้านเล่มทางฝั่งต่างประเทศ มังงะเรื่องนี้ได้รับการยกย่องเรื่องไดนามิกของตัวละครโดยเฉพาะวานิทัสและโนเอ้ และใช้ฉากแอคชั่นผสมความตลกขบขัน รวมความลึกลับและโรแมนติก มีความเป็นแวมไพร์สตรีมพังก์ ทำให้แฟนชาวไทยบางคนชื่นชอบ นอกจากนี้การดัดแปลงของเวอร์ชั่นอนิเมะยังได้รับการตอบรับที่คล้ายคลึงในด้านภาพอนิเมชั่นและองค์ประกอบด้านแฟนตาชี โดยเรื่องราวเน้นไปที่สองคู่หูอย่างวานิทัสกับโนเอ้ เพื่อรักษาแวมไพร์โดยใช้ตำราวานิทัส ซึ่งจุน โมจิซุกิได้รับแรงบันดาลใจจากการเขียนซีรีส์วานิทัสมาจากการที่เธอไปเยือนฝรั่งเศส และภาพยนตร์แวมไพร์ lgbt+ ซึ่งเธอตั้งใจจะก้ามข้ามผลงานเก่าอย่าง Pandora Hearts โดยเน้นวาดฉากต่อสู้ที่น่าดึงดูดใจ และเพิ่มความรักเข้าไปในงาน เน้นไปที่ธีมที่ซ่อนตัวตนอยู่มากขึ้น อนิเมะที่ฉายอยู่นั้นแบ่งการฉายออกเป็นสองพาร์ทมีจำนวนตอนทั้งหมด 24 ตอน ฉายพาร์ทละ 12 ตอน โดยพาร์ทแรกจะออกอากาศฉายตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคมถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2564 ส่วนพาร์ทสองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2565
หลังจากมีการเขียนเวโรนิก้ากับมาคิน่าเป็นเลสเบี้ยนแคนน่อน ทำให้มีการพิจารณาบทสัมภาษณ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจ และจัดวานิทัสให้อยู่ในหมวดหมู่ซีรีย์ lgbt โดยมีตัวละครหลักอย่างวานิทัส โนเอ้ ฌาน โดมิเป็นไบเซ็กซวล (Bisexual)
เนื้อเรื่อง
เดิมทีมนุษย์และแวมไพร์นั่นเคยอาศัยอยู่ร่วมกันแต่หลังจากที่สงครามระหว่างสองเผ่าพันธุ์สิ้นสุดลงและเหล่าแวมไพร์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ มนุษย์จึงขึ้นเป็นใหญ่ทำให้แวมไพร์ที่เหลือจำต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อัลทัสซึ่งเป็นมิติคู่ขนานแทน แต่อย่างไรก็ตามยังมีแวมไพร์บางส่วนเลือกที่จะใช้ชีวิตปะปนอยู่กับมนุษย์โดยอยู่ภายใต้การดูแลของเคานต์ผู้ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยองค์ราชินีแวมไพร์ เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 แวมไพร์หนุ่มนามว่า โนเอ้ ได้รับคำสั่งจากอาจาย์ให้เดินทางมาตามหาตำราวานิทัสที่ปารีส ในระหว่างการเดินทางเขาได้พบกับวานิทัสชายหนุ่มผู้ลึกลับ ผู้อ้างตนว่าเป็นหมอรักษาคำสาปให้กับเหล่าแวมไพร์ แล้วเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ทำให้โนเอ้รู้สึกประหลาดใจมาก จึงติดตามเขาไปด้วยในฐานะคู่หู
Word Building
โลกของวานิทัสมีมนุษย์ แวมไพร์และแดมพีร์ (ลูกครึ่งมนุษย์-แวมไพร์) อาศัยอยู่ร่วมกันทว่าหลังจากที่แวมไพร์ได้พ่ายแพ้มนุษย์เมื่อสงคราม 100 ปีก่อน แวมไพร์จึงแยกตัวและไปสร้างมิติของตัวเองที่ชื่อว่า "อัลทัส" ด้วยเหตุนี้แวมไพร์จึงกลายเป็นแค่นิทานก่อนนอนสำหรับบางคน แต่ยังมีแวมไพร์ที่อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์และไม่เปิดเผยตัวตน กับเหล่ากลุ่มคนที่ล่วงรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของเหล่าแวมไพร์ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า "ชาสเซอร์" ซึ่งเป็นคนของโบสถ์ที่ทำหน้าที่ไล่ล่าแวมไพร์เพราะรู้สึกเกลียดซังสิ่งที่แปลกปลอมที่ไม่ใช่มนุษย์ ในอดีตกาลแวมไพร์เคยเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ว่าหลังจากเกิดปรากฏการณ์สิ่งที่เรียกว่า "บาเบล" ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และถูกแปรสภาพแล้วโดนเขียนค่าสมการขึ้นมาใหม่ให้เป็น "สายพันธุ์ใหม่" ซึ่งเรียกว่าการเล่นแร่แปรธาตุ ทำให้ก่อกำเนิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งแร่แอสเทอร์ไมต์ที่สร้างขึ้นจากถ่านหินนำมาใช้เป็นพลังงานเพื่อนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นเรือเหาะ รถยนต์อาวุธ ล้วนใช้แร่แอสเทอร์ไมต์ทั้งสิ้น สิ่งนี้เรียกว่าสตรีมพังค์ นอกจากนี้บาเบลยังให้กำเนิดดอกไม้สีฟ้า แล้วมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่มีดวงตาสีแดงเรืองแสงที่เรียกว่า "แวมไพร์" โดยส่วนใหญ่แวมไพร์จะเกิดในคืนพระจันทร์สีแดงเท่านั้น มีชื่อว่าแวมไพร์จันทราสีแดง หากแต่มีเพียงแวมไพร์ตนเดียวเท่านั้นที่เกิดในคืนจันทราสีน้ำเงิน เรียกว่าแวมไพร์จันทราสีน้ำเงินที่ให้ความรู้สึกแปลกแยกจนถูกเผ่าพันธุ์ตัวเองขับไล่ และได้สร้างตำราวานิทัสเพื่อแก้แค้นเหล่าแวมไพร์ โดยตำราสามารถรักษาและควบคุมแวมไพร์นั้นได้ชั่วขณะ แล้วแวมไพร์สายพันธุ์ใหม่ไม่จำเป็นต้องดื่มหรือรู้สึกหิวโหยเหมือนแวมไพร์ในตำนาน เหมือนที่หนังสือเคยเขียนไว้ เพียงแค่สมัยใหม่อาจไม่ต้องดื่มเลือดเพื่อรักษาบาดแผลของตัวเองในสงคราม แต่ก็มีแวมไพร์บางตนที่ชื่นชอบเลือดแบ่งได้เป็นสองประเภทคือผู้เสพติดโลหิต หมายถึง แวมไพร์ที่ชื่นชอบแต่รสชาติเลือดจนไม่สนว่าจะฝังเขี้ยวหรือจะทำให้เหยื่อทรมาณ ด้วยวิธีใด ขอแค่มีเลือดไว้ก่อน กับ ผู้เสพติดการดูดเลือด หมายถึง แวมไพร์ที่ชื่นชอบและสนเรื่องการฝังเขี้ยวใส่เหยื่อ ก่อนจะดื่มเลือดของอีกฝ่าย ขณะเดียวกันนั้นก็มีแวมไพร์ที่ไม่โปรดปรานในรสเลือด และเลือกเป็นมังสวิรัติ เน้นทานอาหารของมนุษย์มากกว่า เหตุผลที่แวมไพร์บางตนดื่มเลือดเพราะมองว่าเลือดคือความบันเทิง และเป็นอาหารยามว่าง เหมือนกับการกินขนมหวานหรือเสพแอลกอฮอล์มึนเมาชั้นดี แต่ถ้าหากคลั่งเลือดมากเกินไป และมีอาการกระหายเลือดจนผิดปกติ โดนช่วงชิงนามที่จริงจะถูกเรียกว่าผู้ต้องสาป ส่วนนามที่จริงของแวมไพร์เปรียบเสมือนวิญญาณและชีวิตของเหล่าแวมไพร์ที่โดนทำให้แปดเปื้อน จะกลับมาเป็นแวมไพร์เหมือนเดิมไม่ได้ จะต้องถูก "Bourreau—บูโร" ที่ทำหน้าที่เป็นแวมไพร์ประหารชีวิตผู้กระทำผิดที่จ้างโดยวุฒิสภานั้นตัดศีรษะ สร้างขึ้นมาจากแวมไพร์ที่ก่ออาญากรรมร้ายแรงแล้วต้องชดใช้ความผิดด้วยการทำงานรับใช้และไล่ล่าผู้กระทำผิด ต่างเป็นที่เกรงกลัวของเหล่าแวมไพร์ทั่วไป บางครั้งอาการกระเลือดหายอย่างรุนแรงมีลักษณะอาการคล้ายผู้เสพติดโลหิต จนสามารถสร้างความสับสนง่ายเรื่องใครเป็นผู้ต้องสาป ไม่สามารถแยกออกได้ และเมื่อแวมไพร์กัดเหยื่อที่หมายปองจะเกิดรอยตราสัญลักษณ์ที่เรียกว่า "มาร์กิ้ง" บ่งบอกว่าแวมไพร์ตนใดเป็นเจ้าของผู้ถูกล่า เสมือนเป็นการประกาศต่อหน้าแวมไพร์ตนอื่นว่าเป็นคนของแวมไพร์ตนนั้น ขณะที่แดมพีร์ (ลูกครึ่งมนุษย์-แวมไพร์) จะอาศัยอยู่ในเมืองลูกผสมโดยเฉพาะ ซึ่งปกครองโดยเซอร์ฟรานซิส มาร์นีย์ หรือมาควิสมาคิน่า ผู้คลั่งหุ่นจักรกล ผู้มีตำแหน่งในวุฒิสภาและเป็นหนึ่งในสามบีสเทีย (เขี้ยวขององค์ราชินี)
การผลิตสื่อ
อาจาย์โมจิซุกิได้รับแรงบันดาลใจความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอ้มาจากเชอร์ล็อกโฮมส์กับวัตสัน
หลังจากอาจาย์โมจิซุกิ จุน ผู้สร้างซีรีส์โด่งดังอย่างแพนโดร่า ฮาร์ท ได้จบซีรีส์อย่างสวยงาม เธอก็ได้ตัดสินใจวาดเรื่องที่เกี่ยวกับแวมไพร์ เดิมทีก่อนมาเป็นซีรีส์บันทึกแวมไพร์วานิทัส อย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาจาย์โมจิซุกิไม่ได้มีความคิดในหัวที่เขียนซีรีย์วานิทัสตั้งแต่แรก เธอนั้นเคยคิดพยามเขียนแนวแวมไพร์ในรั้วโรงเรียน มีตัวละครแวมไพร์หญิงเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักระหว่างชายกับหญิงที่มีไดนามิกโรมิโอกับจูเลียต เต็มไปด้วยพล็อตเซอร์ไพรส์มากมาย ก่อนที่ผู้เขียนเปลี่ยนพล็อตแล้วจบด้วยการให้ฌานเป็นตัวละครซับพอร์ตแทนที่เป็นตัวละครหลัก และวานิทัสคือตัวละครแรกที่ถือกำเนิดขึ้นจากการที่เธอไปท่องเที่ยวมงต์แซงต์มิเชลที่ฝรั่งเศส ระหว่างทางอาจาย์จินตนาการเรื่องการวาดแวมไพร์หญิงที่มีนิสัยไร้เดียงสาเป็นตัวละครหลักกับแวมไพร์ตนหนึ่งที่คอยเฝ้ามองเมืองเป็นเวลาหนึ่งร้อยปี และทุกสิ่งทุกอย่างของบันทึกแวมไพร์วานิทัส เกิดไอเดียที่คล้ายกัน ทว่าแตกต่างกัน โมจิซุกิมีความตั้งใจทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เธอไม่สามารถทำได้ในแพนโดร่า ฮาร์ท ในงานใหม่ผู้เขียนจึงเพิ่มองค์ประกอบความรักและฉากแอคชั่นกับซีรีส์นี้ทว่าบรรณาธิการของเธอคัดค้านและบอกว่าให้ลดมันลงเพราะเธอไม่ถนัดเขียนเรื่องนั้น แต่โมจิซุกิยังคงเชื่อในตัวเองและฝึกวาดรูปต่อไป โดยหวังว่าถ้าเธอฝึกมากขึ้น จะต้องช่วยเพิ่มแรงดึงดูดให้กับผลงานของผู้เขียน[ 3] นอกจากนั้นเธอยังเพิ่มสตีมพังค์เข้าไปเนื่องจากตัวผู้เขียนเป็นแฟนคลับตัวยงที่ชื่นชอบแนวนั้นมานานแล้ว ที่สำคัญซีรีส์นี้มีลักษณะแตกต่างจากแพนโดร่า ฮาร์ท โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นความตั้งใจของโมจิซุกิที่ต้องการให้ผลงานเธอต่างจากเรื่องเก่า
ส่วนวานิทัสกับโนเอ้คือความสัมพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเชอร์ล็อกโฮมส์กับวัตสัน แต่ในขณะที่ความสัมพันธ์วานิทัสกับฌานได้รับแรงบันดาลใจมาจากโรมิโอกับจูเลียต ในสัมภาษณ์ของผู้เขียนนั้น เธอต้องการเขียนคู่รักชายหญิงที่ไม่เป็นมิตรต่อกันมากนัก แต่ต่างพึ่งพากัน และมีความรู้สึกดึงดูดใจต่อกัน
แต่เวลาเดียวกันอีกอิทธิพลสำคัญที่ช่วยอาจาย์โมจิซุกิในการสร้างซีรีส์ มาจากการที่สมัยเด็กเธอเคยมีโอกาสเปิดดูภาพยนตร์แวมไพร์เรื่อง เทพบุตรแวมไพร์ หัวใจรักไม่มีวันตาย โดยบังเอิญซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2537 แต่งขึ้นโดยแอนน์ ไรซ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์/ไบ เมื่อผู้เขียนได้ดูโศกนาฏกรรมแและการดำรงอยู่ของเหล่าแวมไพร์ ตลอดจนถึงฉากดูดเลือดนั้น ทำให้เธอรู้สึกประทับใจ จนไม่สามารถสลัดออกไปได้ มันส่งผลต่อการชื่นชอบไดนามิกตัวละครและผสมเรื่องราวระหว่างชายกับหญิงลงในผลงาน ซึ่งมีอิทธิพลในการจัดวางตัวเอกของผู้เขียน แล้วผู้เขียนยังชอบซีรีย์ "TASOGARE RENREN"[ 4] เป็นมังงะโชโจวเรื่องสั้นที่เขียนโดยอาจาย์ "NARI KUSAKAWA" กลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญที่ช่วยทำให้เธอเขียนฉากแวมไพร์หญิงดูดเลือดชาย[ 4] ซึ่งผู้เขียนให้เหตุผลว่าเคยเจอผลงานแวมไพร์ชายดื่มเลือดผู้หญิงเยอะแล้ว จึงต้องการเขียนฉากเซ็กซี่ที่แวมไพร์หญิงรุกผู้ชาย แวมไพร์ชายกินเลือดผู้ชายด้วยกันนอกจากนี้อาจาย์ผู้แต่งยังต้องการวาดฉากแวมไพร์หญิงกินเลือดหญิงในอนาคต[ 5]
ส่วนการมาเยือนปารีสของโมจิซุกิที่ได้ออกมานอกประเทศญี่ปุ่น นั่นคือครั้งแรกที่ผู้เขียนมาเที่ยวที่ฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เธอประทับใจมาก ทั้งสภาพอากาศที่เบาบางกว่าญี่ปุ่น อาคารที่อนุรักษ์นิยมแตกต่างจากที่ญี่ปุ่นที่มักจะสร้างอาคารใหม่ๆ อยู่เป็นประจำ แล้ววิวสวยๆ ภายในเมือง ผู้เขียนยังพูดอีกว่าสถานที่ของฝรั่งเศสที่ชื่นชอบคือ "แซ็งแฌร์แม็งเดเพร" ตอนจิบกาแฟและมีโอกาสมองโบสถ์สวยๆ ทำให้อยากใช้เวลาในร้านกาแฟไปนานๆ แถมชีวิตคนในฝรั่งเศสต่างจากที่ญี่ปุ่น
แล้วตอนในงาน Japan Expo ผู้เขียนได้ถูกชวนให้เป็นแขกรับเชิญภายในงาน เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โนเอรู้สึกมีความประทับใจมากกว่าปกติ เพราะเกิดความรู้สึกยินดีของอาจาย์โมจิซุกิที่เคยได้ไปสัมผัสประสบการณ์ที่ประเทศฝรั่งเศส สุดท้ายผู้เขียนจึงตัดสินใจวางเซ็ตติ้งเบื้องหลังเป็นประเทศฝรั่งเศส ส่วนไอเดียพาราดินของโบสถ์คาทอลิกนั้นมีต้นแบบมาจากตำนานชาร์เลอมาญ สุดท้ายแม้วานิทัสจะไม่ได้อ้างอิงบุคคลในประวัติศาสตร์จริงเหมือนกันทั้งหมดเกือบร้อยเปอร์เซ็น ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังชอบเล่นไดนามิกความสัมพันธ์และลักษณะนิสัยของตัวละคร ซึ่งโมจิซุกินั้นเคยกล่าวไว้ว่าเธอเคยเห็นเรื่องราวประเภทแวมไพร์ถูกใช้ในงานอื่นบ่อยแล้ว จึงต้องการสร้างเรื่องราวที่ต่างจากเรื่องอื่น โมจิซุกิตระหนักดีว่าแวมไพร์ที่ศึกษาจากตำนาน รวมทั้งรูปลักษณ์ หรือจุดอ่อนหลายจุดที่แตกต่างกันของพวกมันมีความน่าสนใจ ผู้เขียนจึงนำจุดอ่อนแวมไพร์มาใส่เพื่อใช้ประโยชน์จากตรงนั้นในการได้สร้างมุมมองใหม่ ๆ[ 5]
ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจวางบทให้วานิทัสเป็นแวมไพร์ ส่วนโนเอเป็นมนุษย์ โดยวางบทให้วานิทัสเป็นเชอร์ล็อกโฮมส์ แต่โนเอคือวัตสัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเชอร์ล็อกโฮมส์ ทว่าไม่ว่าเธอจะทำด้วยวิธีใดหรือเสนอเรื่องนี้ต่อบรรณาธิการหลายครั้ง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมสักที จนสุดท้ายผู้เขียนยอมแพ้แล้วปรึกษาต่อบรรณาธิการ เขาได้ให้คำแนะนำต่อผู้เขียนว่าลองสลับบทบาทของตัวเอกดู โดยให้เชอร์ล็อกเป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์ ซึ่งตอนแรกผู้เขียนแอบประหลาดใจ แล้วคาดไม่ถึงกับไอเดียเผลออุทานในใจว่า "เชอร์ล็อกโฮมส์เป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์งั้นเหรอ?" ตอนหลังโมจิซุกิยอมรับแล้วจึงยอมเปลี่ยนในตอนสุดท้ายเพราะพบว่ามันโดดเด่นมากกว่า ด้านการออกแบบตัวละครนั้นผู้เขียนได้ถูกเพื่อนร่วมงานวิจารณ์เรื่องดีไซน์ของวานิทัสเพราะพวกเขาไม่ชอบตัวละครแนวใส่แว่นโดยเฉพาะโนเอ้ สุดท้ายเธอจึงยอมเปลี่ยนดีไซน์ทรงผมวานิทัสให้เป็นผมหน้าม้าสองชั้น ส่วนดีไซน์โนเอแตกต่างจากสิ้นเชิงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เดิมทีนั้นดีไซน์ดั้งเดิมของเขาคือวัยกลางคนใส่แว่นที่มีอายุมากกว่าวานิทัสที่มีอายุเพียงแค่ 15 ปี และเป็นคนตลกเฮฮา เธอพยามบังคับให้เปลี่ยนความคิดใหม่และลองร่างตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ รวมอื่น ๆ อีกมากมาย จนเป็นสองคู่หูแบบที่เห็นภายในซีรีส์ เนื่องจากอาจาย์โมจิซุกิชอบให้ตัวละครที่มีลักษณะนิสัยขัดแย้งปะทะกัน เธอจึงพยามหลีกเลี่ยงให้พวกเขาเป็นเพื่อนกันหรือพี่น้องกันในตอนแรก แต่ให้ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นเพียงแค่เพื่อนร่วมงานเท่านั้น งานเขียนของผู้เขียนไม่มีจุดตายตัวใดเป็นพิเศษ แต่เวลาโมจิซุกิคิดไอเดียไม่ออกมักจะลงเอยด้วยการวาดตัวละครลงในภาพสเก็ตช์ หยุดพักไอเดียใหม่ เขียนช่องพาเนลใหม่ ๆ กับตัวผลงานของเธอ เมื่อครั้งใดที่วาดสีหน้าของตัวละคร โมจิซุกิจะวาดจนกว่าเธอรู้สึกพอใจตามที่ได้คาดหวังไว้ และแทนที่จะเขียนให้มีตัวร้ายภายในซีรีส์เหมือนกับแพนโดร่า ฮาร์ท ผู้เขียนจึงตั้งใจให้ตัวละครวานิทัสมีความเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ คนแทน พยามปรับปรุงจุดบกพร่องงานเขียนหลายอย่างที่เคยทำผิดพลาดกับซีรีส์แพนโดร่า ฮาร์ท เช่นในธีมวานิทัสมีความรักเป็นอุปสรรคในการขัดขวางภารกิจ สิ่งที่ช่วยพวกเขาคือความรอด ขณะเดียวกันเหล่าตัวละครในซีรีส์จะมีความตายที่ไม่มีรางวัลตอบแทน แต่ในขณะที่ซีรีส์เก่าของเธอนั้น ตัวละครเผชิญหน้ากับบาดแผลและมีรางวัลเป็นการตอบแทน[ 4]
การปรับตัวของอนิเมะ
สำหรับอนิเมะที่ดัดแปลงโดยสตูดิโอโบนส์ มีคุณนาโอกิ อามาโนะ ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่อยู่เบื้องหลังการผลิตของซีรีส์ ในด้านการเขียนบทมีคุณเดโกะ อากาโอะ เป็นคนรับผิดชอบ รวมทั้งนักแต่งเพลงของซีรีส์ ได้แยกเรื่องราวออกจากกัน และสตอรี่บอร์ดที่ทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียว" เพื่อร่างโครงเรื่องวิดีโอให้เสร็จสมบูรณ์
ซีรีส์วานิทัสถูกตั้งในฝรั่งเศส
อิตามูระ[ 6] ผู้กำกับยังต้องการให้วานิทัสเวอร์ชันอนิเมะมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด เพื่อเป็นการเคราพต้นฉบับ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม เหล่าทีมงานอนิเมะเตอร์พอมีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่นฉากต่อสู้ในตอนแรกที่ใช้เงา ผู้กำกับมักจะระวังเรื่องแอคชั่นที่น่าสนใจในสตอรี่บอร์ด เพื่อสร้างซีนให้ออกมาดูดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และเมื่อวานิทัสใช้ตำราของเขา คุณอิซุมิ ทาคิซาวะ ผู้วาดออกแบบ พยามใช้แอนิเมชั่น 3D ด้วยสีสันสดใสให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด[ 7]
คุณอิตามูระเคยกล่าวไว้ว่าลักษณะงานค่อนข้างแยกออกได้ยาก แต่เขาคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของซีรีส์คือความเป็น "มังงะโชโจว" เขาจึงมุ่งที่การจัดวางฉากและตัวละครให้มีความสวยงามตามสไตล์คือสิ่งที่จำเป็น แล้วเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสพร้อมกับทีมงานเพื่อทำการเก็บข้อมูลบรรยากาศภายในเมือง เขายังต้องการเก็บความมืดมิดของเหล่าแวมไพร์ฉบับภาพยนตร์แบบต้นตำรับไว้ในแอนิเมชัน กระชับบทกับส่วนต่าง ๆ เพราะในมุมมองผู้กำกับเห็นว่าคนสมัยนี้ชอบดูอะไรก็ได้ ที่มีความไว ๆ แล้วความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอต้องอยู่ห่างกัน สิ่งที่ผู้กำกับต้องระมัดระวังมากที่สุดคือความสัมพันธ์ตัวละคร หากทำให้เสน่ห์ตรงนั้นหาย มีความรู้สึกไม่เหมือนเดิม
ส่วนนักพากย์วานิทัสกับโนเอให้เสียงโดยนัตสึกิ ฮานาเอะ และอิชิคาวะ ไคโตะ บทบาททั้งสองได้รับการชื่นชมและตอบรับที่ดีมากในที่ต่าง ๆ ฮานาเอะใช้ประโยชน์จากส่วนที่เท่ และไม่เท่ รวมทั้งความเซ็กซี่อย่างเต็มที่เพื่อดึงเสน่ห์ของวานิทัสออกมา ขณะที่อิชิคาวะถนัดเล่นบทบาทตัวละครจิตใจดีที่เป็นแนว ぼけ "boke" (คนปล่อยมุก) และใช้ข้อมูลเล่าเรื่องที่ผู้กำกับบอกให้เป็นประโยชน์ ฮานาเอะได้บทบาทวานิทัสเพราะความมากประสบการณ์ในฐานะเซย์ยู เล่นน้ำเสียงทางเพศโดยเฉพาะข้อความง่าย ๆ เช่น "ความลับจ้า" ด้านอิโนริ มินาเซะ รับบทเป็นฌาน บอกว่าหายากที่เธอจะได้เล่นบทบาทในฐานะผู้ปกป้อง แม้ว่าเคยรับบทมากมายแต่ส่วนใหญ่เธอจะได้รับแค่บทที่เป็นฝ่ายถูกปกป้อง ไม่ใช่ฐานะบอดี้การ์ดที่คอยปกป้องคนอื่น จากที่มินาเสะเคยคุยกับผู้กำกับ อิตามูระอนุญาตเต็มที่ให้เธอขยายลักษณะเฉพาะของฌานตามความเหมาะสม ฉากที่แวมไพร์ดูดเลือดไม่ว่าจะเป็นโนเอดูดเลือดโดมินิก หรือตอนฌานดูดเลือดวานิทัส ก็ทำเพื่อเน้นความอิโรติก ต่อให้ตัวละครจะสวมเสื้อผ้าก็ตาม เพลงที่เล่นประกอบภายในซีรีส์ ใช้ถ่ายทอดความเร้าอารมณ์ที่มีต่อเรื่อง
ธีม
ในแง่ไอเดียการดำรงอยู่และตัวตน ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและมีสติ ซึ่งมีความสำคัญต่อซีรีส์วานิทัสมากกว่า PandoraHearts และ Crimson-Shell ในองค์ประกอบที่ผู้เขียนตัดสินใจที่จะใช้ เธอต้องการแสดงให้ความรู้สึกส่วนลึกที่ซ่อนอยู่ภายในหัวใจตัวละครภายในเรื่อง เมื่อพวกเขาถูกสำรวจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ตามที่เธอต้องการ คำถามเกี่ยวกับตัวตนและการดำรงตั้งแต่ตอนแรกต้องตามมา วานิทัสต้องเป็นตัวละครที่อิสระและมีความแปลกประหลาด เขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดดั่งใจนึก โดยไม่สนวิธีการว่าดีหรือไม่ดี นอกจากนี้อาจาย์โมจิซุกิยังสร้างความสมดุลให้โนเอ้ มีความใสซื่อ จิตใจดี รักยุติธรรมและมีความรับผิดชอบสูง จนสุดท้ายพวกเขาต้องยอมรับตัวตนหรือส่งเสริมอีกฝ่าย เธอยังบอกว่าลักษณะวานิทัสคือแก่นหลักมังงะเพราะโมจิซุกิต้องการพรรณนาถึงตัวตนที่สูญเสียบุคคลและสามารถกู้คืนได้[ 5]
นามที่แท้จริงของแวมไพร์ เธอมองว่าไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ เพราะมีวิดิโอเกมและเรื่องอื่นมากมายที่ใช้เรื่องพวกนั้นบ่อย แต่พยามเลือกใช้เหตุผลพิเศษเพื่อที่จะเจาะจงโดยเฉพาะ ตอนแรกเธอกำหนดและเขียนให้วานิทัสเป็นฮีโร่ที่เป็นหมอพยามรักษาคนไข้เพื่อกอบกู้เหล่าแวมไพร์ แต่โมจิซุกิคิดว่าการทำให้วานิทัสแสดงบทบาทเป็นหมอในเรื่อง ด้วยการเก่งวิชาหรือมีหัตถการแพทย์แล้วรักษาคนไข้อย่างบริสุทธิ์ใจตามปกติที่เห็นกับซีรีส์อื่น โดยส่วนตัวเธอไม่คิดว่าผู้อ่านของเธอจะชอบมันมากนัก เพราะฉะนั้นโมจิซุกิต้องพยามลองหาแนวคิดบางอย่างที่มากกว่า และนี่คือที่มาไอเดียนามที่แท้จริงต่าง ๆ ของเหล่าแวมไพร์อย่างที่เห็นในเรื่อง ลงเอยด้วยการให้วานิทัสเป็นตัวละครที่น่ารำคาญ ซึ่งตอนแรกอาจาย์ผู้แต่งไม่ได้ตั้งใจทำให้เขาเป็นตัวละครที่น่ารำคาญ แต่เพื่อพัฒนาพล็อต ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนให้เขาดูน่าหงุดหงิดในตอนแรก
ผู้เขียนยังบอกว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจาก อาจาย์วัวผู้เขียน "แขนกลคนแปรธาตุ" เป็นไอดอลที่โมจิซุกิชื่นชม รวมทั้งโชโจว โชเน็น เซเน็นเรื่องต่างๆ แทนที่บอกว่าเป็นความชื่นชอบต้องบอกว่าบางเรื่องเธออ่านเพื่อศึกษางานมากกว่า แต่มีผลงานไม่กี่เรื่องที่เธอชื่นชอบ
จากข้อมูลของเว็บไซต์ Comic Book Resources หรือ CBR เคยคอมเมนท์ว่าแวมไพร์ของเรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่น โดยเฉพาะซีนดูดเลือดของแวมไพร์มีสองแนวคิดที่แตกต่างกัน ตอนฌานดูดเลือดในช่วงต้นของซีรีส์ เพื่อเย้ายวนและถูกกลั่นแกล้งอย่างสนุกสนาน ขณะที่วานิทัสสนใจแวมไพร์ที่เป็นผู้ต้องสาปและทำหน้าที่รักษาเหล่าแวมไพร์ แล้วเขาสนใจเธอในฐานะผู้ต้องสาป จนพวกเขาได้เดตกันนำสู่การกัดโดยสมัครใจ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าวานิทัสกำลังรักษาเธออยู่ หากรู้เรื่องที่เธอเป็นเหยื่อจากการผู้ถูกสาปแช่งเช่นกัน
ดีไซน์ต่างหูวานิทัส เมื่อคุณเดโกะ อากาโอะ ได้เห็นมันครั้งแรกที่สวมอยู่บนหูของวานิทัส รู้สึกหลงไหลและบอกว่านาฬิการู้สึกมีเบื้องหลังบางอย่าง แต่ความคิดที่เคยคาดเดากลับถูกต้องในตอนที่เธอเห็นอดีตน่าเศร้าของวานิทัสในมังงะ Anime News Network ชี้ว่าต่างหูนาฬิกาทรายสะท้อนถึงความตายและอายุขัยที่สั้นของเขา
สื่อ
มังงะ
บันทึกแวมไพร์วานิทัส ถูกเขียนโดยอาจาย์ โมจิซุกิ จุน เริ่มต้นในนิตยสารรายเดือนของ
Gangan Joker [ 8] [ 9] สำนักพิมพ์ สแควร์เอนิกซ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 และถูกซื้อลิขสิทธิ์โดยสยามอินเตอร์คอมิกส์ โมจิซุกิเคยหยุดเขียนมังงะเพราะเรื่องปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 [ 10] ก่อนมังงะจะกลับมาตีพิมพ์อีกครั้งในวันที่ 21 เดือนพฤศจิกายนปี 2559[ 11] , Square Enix ยังรวบรวมตอนต่างๆ ไว้ใน ทังโกบง (tankōbon) ซึ่งเล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ส่วนเล่มสิบได้รับการเผยแพร่แล้ว[ 12] [ 13]
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562[ 14] สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ประกาศ LC ของวานิทัสผ่านหน้าเฟสบุ๊คทางการในวันที่จัดโปรโมชั่นมหกรรมงานหนังสือระดับชาติ ตอนแรกวานิทัสถูกตีพิมพ์ครั้งแรกมีปัญหามากมายทั้งเรื่องรูปเล่ม ฟอนต์ไม่สวย ชื่อไทยดูไม่น่าดึงดูด และใส่คำว่าแวมไพร์มาเกินจากชื่อของต้นฉบับ จนนักอ่านให้ฟีคแบคทางสำนักพิมพ์ จนยอมไปปรับแก้ไข เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562[ 15] ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนชื่อของวานิทัสตามที่นักอ่านบางคนเรียกร้องว่าอยากให้แปลเป็นชื่อต้นฉบับมากกว่า นอกจากนี้มังงะยังได้ลิขสิขสิทธิ์ของไต้หวันโดยชาร์ปพอยท์เพรส [ 16] ในฮ่องกงโดยสปาร์คเคิลโรล [ 17] ในเกาหลีใต้โดยแดวอน ซี.ไอ [ 18] ในฝรั่งเศสโดยKi-oon [ 19] ในเยอรมันนีโดยCarlsen Manga [ 20] ในอิตาลีโดยสตาร์คอมิกส์ (อิตาลี) [ 21] ในสเปนโดยNorma Editorial [ 22] ในรัสเซียโดย Istari Comics[ 23] ในอเมริกันโดยเยนเพรส ซึ่งได้มีการประกาศลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ในทวิตเตอร์ทางการว่าจะเผยแพร่ตอนใหม่ของซีรีส์พร้อมกับญี่ปุ่น ในเวียดนามโดยKim Đồng Publishing House [ 24] และโปแลนด์โดยWaneko[ 25]
อนิเมะ
เมื่อวันที่ 28 มีนาคมพ.ศ.2564 ได้มีการประกาศจากทางAnimeJapan ว่าวานิทัสจะได้รับการดัดแปลงเป็นเวอร์ชั่นทีวีอนิเมะซีรีส์ ทำโดยสตูดิโอโบนส์ กำกับโดยโทโมยูกิ อิตามุระ เขียนบทโดยคุณเดโกะ อากาโอะ และคาแรกเตอร์ดีไซน์ตัวละครนั้นออกแบบโดยคุณโยชิยูกิ อิโต้ แล้วคุณยูกิ คาจิอูระ ผู้ที่เคยแต่งเพลงให้กับซีรีส์ Pandora Hearts มาแต่งเพลงประกอบให้กับซีรีส์วานิทัส[ 26] ซีรีย์นี้แบ่งฉายออกเป็นสองพาร์ทโดยพาร์ทแรกจะออกอากาศฉายตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคมถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2564 ทางโตเกียวเอ็มเอกซ์และช่องทางอื่นๆ[ 27] [ 28] [ a] ส่วนพาร์ทสองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2565[ 30] [ 31] เพลงเปิดในพาร์ทแรกใช้ชื่อว่า "Sora to Utsuro" แต่งโดยคุณ Sasanomaly สื่อถึงมุมมองของโนเอ้ ในขณะที่เพลงปิดพาร์ทแรกที่แต่งโดยคุณ LMYK[ 32] [ 33] ใช้ชื่อเพลงว่า "0 (zero)" หรือเรียกว่าจุดศูนย์สื่อถึงมุมมองและคาแรกเตอร์ของวานิทัส รวมทั้งสื่อไปถึงความหมายของแวมไพร์บลูมูน ส่วนเพลงพาร์ทสองชื่อว่า "your name " แต่งโดยวงลิตเติ้ลกลีมอนสเตอร์ (Little Glee Monster) เคยร้องเพลงให้กับอินุยาฉะภาครุ่นลูก สื่อถึงความหมายของวานิทัสตามหาโนเอ้ และสิ่งที่ล้ำค่าที่มีความหมายสำหรับเขา แต่เพลงปิดพาร์ทสองในชื่อ "salvation " แต่งโดยวง MONONKUL[ 34] สื่อถึงธีมความรอดของวานิทัส แล้วโฟกัสมุมมองของวานิทัส ตอนแรกภาพของเพลงปิดนั้น วานิทัสหันหลังและไม่ยอมเดินไปข้างหน้า จนตอนสุดท้ายของซีรีส์วานิทัสก็ได้หันหลังแล้วเดินพร้อมกับโนเอ้ ไม่หันไปมองข้างหลังอีกเลย นอกจากนี้ Funimation ยังได้รับลิขสิทธิ์นอกเอเซีย ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564 Funimation ประกาศว่าซีรีส์วานิทัสจะได้รับเสียงพากย์ภาษาอังกฤษซึ่งฉายในวันรุ่งขึ้น Plus Media Networks Asia ยังได้ลิขสิทธิ์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเผยแพร่ทางอ้ายฉีอี้ นอกจากนี้บิลิบิลิและสตรีมมิ่งแพตฟอร์มอื่นยังได้ซื้อลิขสิทธิ์ซีรีย์แล้วเอามาฉายในไทย ต่อมาเมื่อซีรีย์รับผลตอบรับที่ดี ทางอ้ายฉีอี้มีประกาศพากย์ภาษาไทย[ 35] รวมไปทั้งบราซิล ฝรั่งเศส สเปน สามารถหาช่องทางดูได้จาก "ครันชี่โรล" หลังจากจบทีวีซีรีย์อนิเมะ คุณยูกิ คาจิอูระได้ปล่อยเพลงซาว์ดประกอบให้ฟังได้ฟรีในแพลต์ฟอร์มต่างๆ เช่นยูทูป
เรื่องที่ไม่สำคัญ "Easter Egg" ของวานิทัสอนิเมะ
วานิทัสเวอร์ชั่นอนิเมะยังได้มีการใส่ Easter Egg หลังท้ายอีพีในแต่ละตอน[ 36] ซึ่งจะมีข้อความตัวอักษรคาตานะญี่ปุ่นปรากฎในทุกตอนตัวอย่างเช่น
ตอนที่ 1: ト (to)
ตอนที่ 2: タ (ta)
ตอนที่ 3: ボ (bo)
ตอนที่ 4: ツ (tsu)
ตอนที่ 5: モ (mo)
ตอนที่ 6: ビ (bi)
ตอนที่ 7: ニ (ni)
ตอนที่ 8: サ (sa)
ตอนที่ 9: イ (i)
ตอนที่ 10: ウ (u)
ตอนที่ 11: ト (to)
ตอนที่ 12: キ (ki)
ถ้าเอามาต่อกันจะได้คำว่า "Totabotsumobinisaiutoki (トタボツモビニサイウトキ)" แต่ถ้าเอามาเรียงจะได้คำว่า "Tota botsu mo bini-sa iu toki (とたぼつもびにさいうとき)" ในคำว่า "時" เป็นการผสมเสียงของ "toki" ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "เวลา" ซึ่งมีแฟนในคอมมูนิตี้พยามถอดรหัสแต่ก็ไม่มีความหมาย จนมีข้อความของแฟนคลับคนหนึ่งได้อธิบายในทวิตและจัดเรียงใหม่จนได้คำว่า "Sabitsuitakiboutotomoni/sabitsuita kibō to tomoni (サビツイタキボウトトモニ (錆びついた希望と共に)"[ 37] แปลว่าด้วยความหวังของสีสนิม ซึ่งเป็นชื่อตอนแรกของวานิทัสในอนิเมะกับมังงะ บางคนตีความว่ามันอาจจะเป็นชื่อจริงของวานิทัส แต่ก็มีแฟนบางคนที่โต้เถียงว่าชื่อจริงของเขาอาจไม่ใช่อย่างที่คาดเดา บางทีวานิทัสอาจมีชื่ออื่นที่คาดเดานอกเหนือจากนั้น แต่ชื่ออาจขึ้นด้วยตัว "R" เหมือนโรมิโอกับจูเลียต ไม่ว่าจะตีความด้วยวิธีใด มันก็เป็นแค่ทฤษฎีของแฟนคลับเท่านั้น
Stage Play (ละครเวที)
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ทวิตเตอร์ทางการ[ 38] ได้ประกาศว่า "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" จะได้รับการดัดแปลงเป็น "Stage Play (ละครเวที)"[ 39] ซึ่งมาจากมังงะที่เขียนและวาดโดยอาจาย์โมจิซุกิ จุน โดยมีกำหนดแสดงวันที่ 21 มกราคมจนถึงวันที่ 30 มกราคม 2565
ณ "THEATRE1010 (シアター1010)" ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ว่าด้วยการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ในวันที่ 29 มกราคม 2021 มีการแสดงเพียงแค่รอบเดียว
และเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม มีการประกาศในทวิตอีกบัญชีทางการหนึ่งในชื่อ "encore" โดยมีกำหนดการแสดงตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคมจนถึง 12 มีนาคม 2023 ณ Sunshine Theatre (サンシャイン劇場) ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[ 40] เนื้อเรื่องของละครเวทีจะอ้างอิงตามเนื้อเรื่องมังงะจนถึงเล่ม 5 (ครึ่งแรก)
แคสติ้ง
ตัวละคร
รายชื่อนักแสดง
แหล่งอ้างอิง
วานิทัส
เคสุเกะ อุเอดะ
โนเอ้ อัสชีวิสต์
ชูจิ คิคุจิ
กาคุ ทาคาโมโตะ (นักแสดงสำรอง)
[ 41]
ฌาน
อามิ โนโจ
คาน่อน นานากิ (Encore)
ลูก้า ออริเฟรม
มูซาชิ มาเอดะ (องค์ 1)
โซตะ ทามูระ (องค์ 2)
โดมินิก เดอ ซาด
มิกิ ซาวาดะ
อาจาย์
ยาสุยูกิ อาซาโนะ
เคาน์ทปาร์ค ออร์ลอค
เท็ตสึโตะ นากามูระ
น็อกซ์
ฮาลู คาซึกิ
มาเน็ท
ซาไก โชโงะ
อเมเลีย รูธ
นาโนกะ วาตานาเบะ
ดร.มอโร
ริงาคุ ซูซูกิ
หลุยส์ เดอ ซาด
ทาคุยะ ยาชิโระ
เวโรนิก้า เดอ ซาด
อายะ ชิโมมูระ
รูธเวน ออกัสต์
โนโบรุ วาชิโอะ
โลร็องต์ ฟอร์ติส
ฮารุกิ คิยามะ
มาเรีย
อันจู คุโรสุ
จอห์น
ฮิโรอากิ อุมิโมโตะ
คุณแมงมุม
คาเครุ ซาโช
อีกาดำ
ไดโกะ อาทาราชิ
แคทเธอรีน
เรย์จู โนจิมะ
เรื่องไม่สำคัญ
การแสดงละเวทีได้รับความเดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหลายครั้งในนาทีสุดท้ายเพราะอาการป่วยโควิด 19 การแสดงจึงมีแค่รอบเดียวในวันที่ 29 มกราคม และในวันที่ 30 มกราคมเปลี่ยนรอบฉายการแสดง 1/29 ตามด้วยสมาชิกนักแสดงที่ปรากฏตัวบนม่านการแสดงละครเวที
ในวันที่ 20 มกราคม รายการเดบิวต์ในวันที่ 1/21 ถูกยกเลิกเพราะอาการป่วยที่ไม่เปิดเผยในหมู่นักพากย์[ 42] วันต่อมาการแสดงในวันที่ 22/1/22 และ 1/23 ถูกยกเลิก แล้วได้รับการยืนยันว่าสาเหตุมาจากการติดเชื้อโควิด 19[ 43] ในวันที่ 23 การแสดงสำหรับ 1/25 และ 1/26 ก็ถูกยกเลิก[ 44] ในวันที่ 26 ก็ถูกยกเลิกการแสดงเหมือนกัน ส่วน 1/27 และ 1/28 ได้ยืนยันว่านักแสดงสองคน ไดโกะ อาตาราชิ (อีกาดำ) และ ชูจิ คิคุจิ (โนเอ้) มีผลตรวจ PCR เป็นบวก เมื่อวันที่ 20 และ 24 ตามลำดับ บทบาทของอีกาดำที่ถูกเขียนก็ขาดหายไปตลอดจนการแสดง และกาคุ ทาคาโมโตะ เข้ามาแทนที่บทบาทของโนเอ้สำหรับการแสดงในส่วนวันที่ 1/29 จากนั้นก็ดำเนินต่อไปตามแบบแผนการแสดง ส่วน 1/30 อยู่ระหว่างพิจารณาแต่ไม่แน่นอนในตอนนั้น[ 45] [ 44]
ผลจากการที่เปลี่ยนนักแสดงบทบาทโนเอ้ นั้น โมจิซุกิ จุนจึงมอบของขวัญให้กับทีมงานผู้นำเสนอเรื่องบทบาทของโนเอ้[ 46] เป็นภาพชิกิที่วาดด้วยลายเส้นของอาจาย์ผู้เขียน
หลังจากแสดงละครเวทีจบ พวกเขาไม่มีแผนที่จะเปิดตัว "BD/DVD"[ 47] ต่อมาโมจิซุกิและเหล่านักแสดงได้สนับสนุนแฟนคลับในทวิตเตอร์ให้ดูสตรีมมิ่งสดผ่านเว็บไซต์ญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาบันทึกไว้ล่วงหน้าในช่วงระยะเวลาสามวันที่มีอยู่ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ถึง 18 มีนาคม การแสดงแบบสตรีมมิ่งถูกเปิดให้ซื้อได้ แต่ว่าไม่ว่ายังไง ไฟล์กลับถูกล็อคโซนเวลาและไม่สามารถดูได้ หลังจากวันที่ 19 มีนาคม (ระยะ 24 ชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการขาย)
กระแสการตอบรับ
มังงะ
ภายในเดือนมิถุนายนพ.ศ.2564 บันทึกแวมไพร์วานิทัสมียอดจำหน่ายมากกว่า 5.5 ล้านเล่ม[ 48] [ 49] เมื่อเปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่น ซีรีย์วานิทัสได้ติดชาร์ตโอริกอน ซึ่งเหล่านักวิจาณ์ต่างสนุกกับความสัมพันธ์ของเขากับโนเอ้[ 50] [ 51] และชื่นชมการเขียนผสมผสานระหว่างแอคชั่น คอมเมดี้กับการผจญภัยได้อย่างลงตัว ซึ่ง "ดาร์กิส เมลิน่า" ผู้ใช้รีวิวคนนึงของเว็บไซต์แฟนด้อมโพสต์ได้เขียนรีวิวบอกว่ามังงะเรื่องสนุกแล้วเหนือความคาดหมายของเขา[ 52] ่และเขายังเขียนบอกอีกว่าเขาต้องการให้ซีรีย์ที่น่าทึ่งนี้ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมะในปี 2560[ 53] รวมทั้งให้ความสำคัญกับความรักในเนื้อเรื่องหลัก วานิทัสถูกชื่นชมว่าเป็นตัวละครที่เฮฮา แต่ขณะเดียวกันวานิทัสก็เป็นตัวละครที่ตอบรับความรู้สึกรักของเขาที่มีต่อฌานได้ไม่ดี จนซีรีส์ถูกทำเป็นอนิเมะออกฉายในวันที่ 3 กรกฎาคมทั่วโลก[ 54] ในเว็บไซต์ Manga New ชื่นชมวิธีการรับมือและการจัดการอดีตแสนเศร้าของเขา แต่ว่าลักษณะการเขียนที่เข้าใจยากของผู้เขียนของซีรีส์ที่มีต่อวานิทัส บางครั้งก็สร้างความสับสนทำให้ยากที่จะติดตามซีรีย์ตัวนี้[ 55] ในรีวิวครั้งต่อมาของแฟนด้อมโพสต์ของผู้ใช้รีวิว "ดาร์กิส เมลิน่า" เขาได้เขียนรีวิวว่าวานิทัสเล่ม 7 มีการผสมผสานแอคชั่นและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเล่มนี้ ที่สนุกสนานมาก แม้ว่างานอาร์ตจะไม่ได้ลงรายละเอียดมาก แต่มีฉากแอคชั่นที่มากขึ้นมาประกอบภายในเรื่องราว[ 56] คุณ El Palomitrón บอกไว้ว่าแม้ความสัมพันธ์ของสองตัวเอกจะไม่ใช่ บอยเลิฟ และไม่มีความรักโรแมนติกต่อกัน เพราะซีรีย์วานิทัสมุ่งเน้นไปที่การสำรวจความสัมพันธ์อื่นที่ลึกซึ้งมากกว่า และยังรีวิวต่อว่าความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอ้ลึกซึ้งเทียบเท่าได้กับวานิทัสและฌาน[ 57] แล้วสไตล์งานอาร์ตของซีรีย์วานิทัสยังถูก Otaku USA ชื่นชมในด้านการออกแบบฉากสตีมพังค์ตลอดจนถึงลักษณะเฉพาะของเหล่าตัวละครในเรื่อง[ 58] ส่วน Manga News สนุกกับการดีไซน์ออกแบบตัวละครที่หลากหลายตั้งแต่บิโชเน็น (แนวเด็กผู้ชายหน้าตาดี) ไปจนถึงสัดส่วนอนาโตมี่ร่างกายที่สร้างขึ้นล้วนมีผลสัมพันธ์ต่อกัน[ 59] แม้ว่ามังงะจะถูกตีพิมพ์ในนิตยสารของโชเน็น แต่สไตล์อาร์ตก็ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ "มังงะโชวโจวที่งานศิลปะที่สวยงาม" โดยเว็บไซต์ Comic Book Resources ให้ซีรีย์วานิทัสอยู่ระดับเทียบเท่ากับมังงะเรื่อง "Pandora Hearts " [ผลงานเก่าของโมจิซุกิ จุน][ 60] แต่ขณะเดียวกัน "แฟนด้อมโพสต์" ชื่นชมสไตล์งานอาร์ตของวานิทัสว่าเป็นศิลปะที่น่าทึ่งมากโดยยกรายละเอียดของมังงะทุกหน้าไปจนถึงฉากต่อสู้[ 61] ในเว็บไซต์ Anime News Network วิจารณ์ว่าสไตล์งานของวานิทัสได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิทานพื้นบ้าน และพบว่าสไตล์งานอาร์ตค่อนข้างน่าสนใจเพราะได้รับการออกแบบดีไซน์ที่หลากหลาย แต่บางครั้งก็ทำให้ดูออกยากและติดตามดูซีรีย์วานิทัสค่อนข้างยาก[ 50]
หลังจากมีกระแสเวโรนิก้าเป็นเลสเบี้ยนแคนน่อนกับมาคิน่า ทำให้วานิทัสถูกพิจารณาใหม่อีกครั้งในฐานะซีรีย์มังงะ lgbt+ แม้ว่าคนอยากให้ฌานกับโดมิเป็นเลสเบี้ยนมากว่า ส่วนวานิทัสเป็นเกย์ (gay man) กับตัวโนเอ้
อนิเมะ
ซีรีส์นี้ได้รับการจัดอันดับสองครั้งโดยเว็บไซต์ Anime News Network ว่าให้เป็นหนึ่งในอนิเมะที่ดีที่สุดประจำปี 2021 ขณะที่ IGN จัดให้อยู่ในอันดับรายการของตัวเอง[ 62] [ 63] [ 64] การจัดการระหว่างแวมไพร์ฌานและมนุษย์อย่างวานิทัส รวมถึงโดยมินิคกับโนเอ้ได้รับการระบุโดย "เคทลิน มัวร์ จาก Anime News Network" บอกไว้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในอนิเมะจะได้ฉายแสงเพราะเนื้อเรื่องมีฉากแสดงทางเพศมากมายที่แสดงให้เห็น แถมแฟนด้อมโพสต์ยังเห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่าเรื่องแรงดึงดูดทางเพศตอนที่ฌานดื่มเลือดของวานิทัส เป็นการเปรียบเปรยเทียบเท่าได้กับเรื่องเพศแบบโต้งๆ โดยไม่ต้องกัก และบอกถึงว่าเหตุผลว่าทำไม? ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมของพวกเขายังคงดำเนินต่อไปในซีรีย์วานิทัส[ 65] [ 66] [ 67]
เดอะแฟนด้อมโพสต์พบว่าฉากแอคชั่นของซีรีย์วานิทัสในช่วงแรกเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด เมื่อคิดถึงคาแรกเตอร์ที่คาดเดาไม่ได้ของวานิทัสที่ต้องรับมือกับฌาน แต่ซีรีย์นี้มีองค์ประกอบนิยายความเป็นวิทยาศาสตร์น้อยกว่าตามที่เคยมีคำวิจารณ์ไป[ 68] [ 69] แต่ยังมีเหล่านักวิจารณ์บางคนให้ความสนใจไปที่ความสัมพันธ์วานิทัสกับแวมไพร์ฌาน ซึ่งฉากวานิทัสขืนใจฌานโดยจูบเธออย่างไม่ยินยอม เคยถูกวิจารณ์ว่าไม่ควรแสดงให้ฉากตึงเครียดอย่างนั้นเป็นซีนตลก[ 70] [ 71] จนเมื่ออนิเมะได้ฉายจนถึงตอนที่ 5 มีฉากรุนแรงเกี่ยวกับเด็กและโดนตัดศีรษะ "ฟูนิเมชั่น" สตรีมมิ่งของอินเตอร์จึงมีการติดป้ายเตือนผู้ชมที่รู้สึกอ่อนไหวแล้วกำลังดูซีรีส์ตัวนี้อยู่ ให้พยามหลีกเลี่ยง[ 72] อนิเมชั่นของโบนส์ได้รับการชมเชยว่าถ่ายทอดบรรยากาศเช็ตติ้งโลก และรายละเอียดตัวละครกับแบล็คกราว์ดเบื้องหลังที่น่าสนใจควบคู่ไปกับซาว์ดประกอบของยูกิ คาจิอูระ [ 67] [ 73] ส่วนการแสดงบทบาทของฮานาเอะ นัตสึกิที่พากย์วานิทัสทำให้ได้รับคำชมอย่างมากจากเว็บไซต์ Anime Feminist สำหรับวิธีที่เขาถ่ายทอดตัวละครในด้านต่างๆ จนบางครั้งวานิทัสโดนมองว่าเป็นภัยสังคมเดินได้[ 74] เดอะแฟนด้อมโพสต์บอกว่าฉากวานิทัสกับฌานสนุกกว่าเนื้อเรื่องหลัก มีจุดที่คาดเดาได้มากมายในอนาคตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขา[ 65] นักเขียนบทความของ Anime News Network ให้กระแสตอบรับบันทึกแวมไพร์วานิทัสพาร์ทสองในทางที่ดีเพราะมีการพัฒนาตัวละครที่ยอดเยี่ยม รวมไปถึงมูลค่าการผลิตของซีรีย์ จนถึงจุดที่พวกเขาคิดว่าวานิทัสเป็นอนิเมะดีที่สุดประจำซีซั่นวินเทอร์ในปี 2021[ 75]
ในปี 2022 นั้น "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขา "เบสแฟนตาซี" ของคันซิโร่อนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 6[ 76] นอกจากนี้ฌาน[ 77] [ 78] [ 79] วานิทัส และโนเอ้ยังได้รับความนิยมมากในเว็บไซต์ Anitrendz โดยวานิทัสกับฌานเคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาคู่ชิปที่ยอดเยี่ยมของปี 2022[ 80] [ 81] ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลของคันซิโร่อนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 7 ในประเภทสาขา "เบสแฟนตาชี" อีกครั้งในปี 2023[ 82] แล้ววานิทัสยังเคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล reddit vote anime 2021 ในสาขานักพากย์ญี่ปุ่น โดยกรรมการเสนอชื่อให้นัตสึกิ ฮานาเอะได้รับรางวัลในบทบาทของวานิทัสให้เป็นอันดับที่หนึ่ง[ 83] ต่อมาวานิทัสได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีกครั้งใน reddit vote anime 2022 ซึ่งกรรมการชื่นชมวานิทัสว่าเป็นตัวละครที่ดีที่สุดประจำปี 2022 เพราะดีไซน์ที่หรูหราของเขา แล้วความสัมพันธ์วานิทัสกับฌานมีพัฒนาการมากขึ้นจากพาร์ทแรก ท่าทีไม่หยอกล้อและมีแต่ความจริงใจให้กัน ทำให้รู้สึกซับซ้อน ขัดแย้งกับอารมณ์ทั้งความรู้สึกปฎิเสธคนที่ยอมรับเขากับความรู้สึกที่หวั่นไหวที่เขามีต่อฌาน เมื่อเขาเผชิญหน้ากับคนที่ยอมรับเขา ทว่าการดำเนินเรื่องไม่ค่อยดี แต่ถึงอย่างนั้นทางกรรมการก็ยังจัดอันดับให้เขาอยู่ที่ 4 ในสาขาตัวละครดราม่าพร้อมกับผลโหวตผู้ชมที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกัน รวมทั้งสาขานักพากย์ที่กรรมการให้วานิทัสอยู่ที่อันดับที่ 2[ 84] ใน vanitas anime.com ยังได้จัดกิจกรรมโหวตโดยให้แฟนคลับที่ติดตามทวิตเตอร์ของออฟฟิเซี่ยลโหวตฉากที่ประทับใจมากที่สุด ซึ่งฉากของเขากับโนเอ้ถูกจัดอันดับให้อยู่ 1 แต่ฉากจูบแรกของวานิทัสกับฌานถูกโหวตให้ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2[ 85]
เนื่องจากมีการเปลี่ยนฉากในอนิเมะของโนเอ้และโดมิทำให้เสียงแตกจากแฟนคลับโดยเฉพาะสาววายจำนวนมาก ซึ่งวานิทัสโดนวิพากษ์วิจาร์ณจากเหล่าแม่ยกฝ่ายอินเตอร์ (มีแฟนคลับมากกว่าในคอมมูนิตี้อื่น) ว่าผู้เขียนและทีมงานยัดเยียดสเตรทจนดูน่ารำคาญ แทนเขียนให้มีแต่เกย์และเลสเบี้ยน เริ่มตัดสินว่าโนเอ้เป็นเกย์ในตอนที่ 12 เพราะมีการเปลี่ยนฉาก ทั้งๆ ที่ในมังงะไม่ได้มีการคอมเฟิร์มรสนิยมทางเพศของโนเอ้ให้เป็นที่แน่ชัด ผิดกับโดมิที่ถูกยืนยันตั้งแต่มังงะว่าเธอเป็นไบเซ็กซวล แต่เพราะการเร่งรีบอนิเมะทำให้เธอถูกมองว่าเป็นเลสเบี้ยน รวมไปถึงวานิทัส ความไม่พอใจที่รสนิยมทางเพศตัวละครไม่ตรงกับเฟติซตามที่พวกเขาต้องการ ทำให้มีกระแสตีกันของแม่ยกอีกฝั่งที่ไม่เห็นด้วยที่ยัดเยียดตัวละครไบเซ็กซวลให้เป็นเกย์กับเลสเบี้ยน ขณะเดียวกันแฟนคลับที่ชื่นชอบวานิทัสกับฌานก็วิจาร์ณตัวละครมาคิน่ากับเวโรนิก้าว่ามันคือการยัดเยียดเพื่อเอาใจสาววายที่ชื่นชอบ bl กับยูริ ทั้งที่คนเขียนได้มีการวางแผนมานานและชี้แจ้งในบทสัมภาษณ์แล้ว
บทสัมภาษณ์แปลคิคัง
บทสัมภาษณ์ของโมจิซุกิ จุนที่ให้ไว้กับนิตยสารคิคังในเดือนธันวาคม ปี 2021 ซึ่งหน้าปกเป็นภาพวานิทัสกลายเป็นแวมไพร์นอนในโลงศพ ปากของเขามีเลือดไหลอยู่จากการดื่มเลือด ใส่คอร์เซ็ทรัดรูป ผมและเครื่องประดับมีสีฟ้ากับน้ำเงินแสดงถึงสัญลักษณ์แวมไพร์จันทราสีแดงกับน้ำเงิน มีมือโนเอ้ยื่นมาจับกุหลาบสีแดงเพื่อสื่อว่าไม่มีทางปล่อยเขาไป มันถูกวางขายในอเมซอน
Q1 : โมจิซุกิเซนเซย์ คุณช่วยบอกจุดเริ่มต้นไอเดียของวานิทัสได้รึเปล่า??
A1: เมื่อฉันคิดถึงผลงานใหม่เรื่องถัดไปนั้น ฉันไม่เพียงลงมือจุดเริ่มต้นแล้วมาพูดว่า "นี่แหละคือสิ่งที่ฉันจะลงมือทำต่อไป" แต่ฉันยังนำ "องค์ประกอบที่ฉันต้องการวาดที่ฉันมีด้วย ซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่สมัยยังวาด "Pandora Hearts อยู่" เช่นฉันต้องการวาดซีนนี้ หรือจัดการกับเรื่องแบบนี้ แล้วหยิบพวกมันออกมาจากลิ้นชักแล้วเขียนลบและบิดให้เป็นเรื่องราวอันเดียวกัน
(ปัจจุบันพล็อตโรงเรียนได้ถูกเอามาใส่ในโอเมเกะ ซึ่งอยู่ในเล่มที่ 7 ของโคลเอ้)
ตอนที่ฉันไปงานฝรั่งเศสเพื่อร่วมงาน japan expo และไปเที่ยวมงแซงค์มิเซลครั้งแรก ผู้ช่วยของฉันรวมทั้งตัวฉันมีความคิดเรื่อง "แวมไพร์ตนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีแล้วคอยดูแลผู้อาศัยอยู่ที่แห่งนี้
มีเหล่าบาทหลวงคอยจับตาดูเหล่าแวมไพร์ และทั้งสองก็ติดตามปัญหาและชีวิตประจำวันของชาวเมือง..." ทำให้กลายเป็นต้นแบบของ vanitas no carte ในปัจจุบัน
มีเหล่าบาทหลวงคอยจับตาดูเหล่าแวมไพร์ และทั้งสองก็ติดตามปัญหาและชีวิตประจำวันของชาวเมือง..." ทำให้กลายเป็นต้นแบบของ vanitas no carte ในปัจจุบัน
สุดท้ายฉันตัดสินใจว่าในเมื่อฉันได้เขียนความสัมพันธ์เจ้านาย-ทาสมากมายใน "Pandora Hearts" ฉันอยากลองเขียนคู่หูดูโอ้สักครั้ง ฉันจึงบอกหัวหน้างานว่าฉันต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ของพวกเขาในรูปแบบ "เชอร์ล็อกโฮมล์" ของกาย ริชชี่เพื่อเป็นแนวทาง ด้วยการแสดงตัวตนของพวกเขาให้อยู่ในสภาพที่สับสนวุ่นวายมากขึ้น
บก.ของ GanGan JOKER ได้บอกกับฉันว่า "ฉันหวังว่าจะมีการหักมุมและเรื่องราวที่ไม่คาดคิดสองหรือสามครั้ง" ตอนนั้นฉันก็แบบว่า "สองถึงสามครั้งงั้นเหรอ?" แล้วเอามือวางบนหัว
ฉันคิดว่าผู้อ่าน "Pandora Hearts " คงจะสงสัยในสิ่งที่ฉันอธิบายไปแล้ว ดังนั้นฉันจึงพยามทำให้พวกเขารู้สึกว่าแวมไพร์คือวานิทัสตั้งแต่แรกเห็น และเดาว่าโนเอ้คือชาสเซอร์ โดยแนะนำในตอนแรกว่าเขาคือนักล่าแวมไพร์ของคริสต์จักร มีเป้าหมายในการช่วยแวมไพร์แต่ไม่ใช่ฆ่าพวกมัน....
แต่มีบางอย่างขาดหายไป....ยังไม่ถึงระดับที่ต้องการ....หลังจากที่คิดอยู่สักพักหนึ่ง ฉันก็คิดว่ามาเล่าเรื่องให้จบตั้งแต่จุดเริ่มต้นกันเถอะ"
แต่ถึงอย่างนั้น ฉันก็ยังกังวลว่าสิ่งนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกวางใจมากเกินไป มีความคิดว่า "มีเรื่องราวจนถึงขั้นฆ่าวานิทัสเท่ากับเขาไม่ตายในตอนจบ" และพวกเขาไม่สามารถรู้สึกซีเรียสระหว่างเรื่องได้ แล้วในทางกลับกันการเล่าตอนจบในตอนแรกที่วานิทัสกับโนเอ้เข้ากันได้มากเท่าไรจะยิ่งจำตอนจบตั้งแต่จุดเริ่มต้นได้ยากเท่านั้น" ซึ่งอันนั้นอร่อยดีไปอีกแบบเหมือนกัน
ฉันจึงเลือกอย่างหลังเพราะฉันคิดว่า "ผลกระทบในตอนเดียวสำคัญกว่าการกังวลพัฒนาในภายหลัง" และฉันคิดว่า "มีการพัฒนาที่เลวร้ายเกี่ยวกับความตายอีกมากมาย"
ดังที่ฉันได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ผู้อ่าน "Pandora Hearts" ของฉันคงสงสัยในสิ่งที่ฉันเขียนไปแล้ว เพราะฉะนั้น vanitas no carte จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ตรงไปตรงมามากกว่า Pandora Hearts มาก ฉันนะจะทำให้ดีที่สุดเพื่อทำให้เรื่องราวน่าสนใจ
Q2 : เนื่องจากสีธีมของวานิทัสเป็นสีฟ้าเพราะเรื่องราวของแวมไพร์ และวานิทัสก็เป็นแวมไพร์จันทราสีน้ำเงินด้วย ทำไมต้องเป็นเป็นสีฟ้าละ? ส่วนใหญ่สีของแวมไพร์มักเกี่ยวข้องกับสีดำหรือแดง แต่ทำไม? ต้องเป็นสีน้ำเงิน
A2: อย่างที่คุณพูด แวมไพร์ส่วนใหญ่มีธีมภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าแวมไพร์ต้องเป็นสีดำกับแดง ฉันจึงอยากเบี่ยงเบนไปจากภาพเหล่านั้น นี่คือเหตุผลที่ฉันเลือกสีน้ำเงินเป็นธีมหลักในงานของฉัน แล้วก็ฉันต้องขอโทษด้วย ถ้าเหตุผลหลักของฉันที่ขอโทษอาจจะดูไร้สาระไปสักหน่อย แต่ผู้อ่านคงไม่โกรธนะถ้าฉันวาดภาพด้วยสีฟ้าเท่านั้น แต่จริงๆ ตั้งแต่เริ่มตีพิมพ์ฉันเองก็เริ่มเบื่อสีฟ้าแล้วเหมือนกัน.... (หัวเราะ) ถึงอย่างนั้นฉันพยามเรียนรู้การกลั่นกรองสีฟ้าให้เป็นสิ่งที่ดีสุดในทุกสิ่ง
Q3: วานิทัสเป็นคำภาษาละตินที่แปลว่า ไร้ประโยชน์ หรือ ว่างเปล่า ซึ่งเชื่อมโยงกับความหมายชีวิตที่ไร้ความหมายบนโลกและคงอยู่ของสิ่งที่ไร้สาระ อ.โมจิซุกิถึงตั้งชื่อตัวละครหลักและตำราพิเศษที่มีพลังแทรกแซงนามที่แท้จริงของเหล่าแวมไพร์ที่ตัวละครหลักถือครองอยู่ แล้ววานิทัสคืออะไรกันแน่??
A3: ฉันเจอวานิทัสครั้งแรกก็ตอนหนังสือภาพวาดของโทรุ คาเมอิ ฉันจึงรู้สึกทึ่งกับเสียงและความหมายของคำมากจนเริ่มมีความคิดขึ้นมาลางๆ ว่าชื่อตัวละครหลักในผลงานต่อไปของฉัน ควรตั้งว่าวานิทัส ตอนนั้นฉันเองก็จดจำระยะเวลาไม่ได้ว่านานเท่าใดต้นแบบของวานิทัสจะเสร็จสมบูรณ์
แน่นอนว่าหลังจากที่ฉันได้เรียนรู้ประเภทของศิลปะวานิทัส ฉันจึงไปที่พิพิภัณฑ์ในต่างประเทศและพูดว่า "โอ้ มีภาพวาดวานิทัสอยู่ที่นี้ด้วย" ซึ่งฉันเองก็สนุกกับการตามหามันมาก
Q4:ฉันคิดว่าตำราวานิทัสมีการดีไซน์ที่เจ๋งมาก โดยมีการตกแต่งรายละเอียดและการแทรกสีชมพู ฯลฯ A4:(ดีใจที่ได้ยินคำชมของคุณนะ จริงๆ ฉันเองไม่ค่อยมั่นใจการดีไซน์แบบนี้เท่าไรนะ)
ฉันไม่ต้องการใส่ฟันเฟืองมากเกินไปในตำราเล่มนี้เพราะฉันต้องการทำให้ดูง่ายต่อการเข้าใจเหมือนกับหนังสือแนวสตรีมพังค์ ฉันยังคิดว่ามันคงจะเจ๋ง ถ้ามีการเคลื่อนไหวเมื่อเปิดตำราขึ้น
ฉันจำได้ว่ามีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการตัดสินใจว่าจะร่วมส่วนตำราที่เป็นเลื่อนเข้าหาด้วยกันยังไง สำหรับตำราวานิทัสสองเล่ม เราจึงตัดสินใจใช้เครื่องมือทางดาราศาสตร์เป็นหลักในการอ้างอิงเพื่อเสริมเส้นให้มั่นคง
แล้วก็ในฐานะที่ฉันหลงใหลตำราที่มีโซ่ตรวน จึงเพิ่มรายละเอียดโซ่ตรวนที่เชื่อมกับตำราวานิทัสและเจ้าของตำราไว้ด้วยกัน แม้ว่าฉันคิดอยู่บ้างว่า "มันดูหนักจัง"
A5 : ใช่ ถูกต้อง โดยพื้นฐานแล้ว ในขณะที่วาดภาพอยู่ ฉันคิดว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร ต้องทำพล็อตทวิสตัวละครไปมา ฉันจึงต้องวาดภาพ vanitas ให้มากที่สุดก่อนเริ่มต้นซีรีย์
Q6 : ช่วยบอกเราหน่อยว่าตอนเริ่มต้นภายในซีรีย์มีตัวละครกี่ตัว
A6 : ตอนฉันเริ่มความคิดและมีภาพชัดเจนอย่างเดียวเมื่อเริ่มต้นซีรีย์ขึ้นคือวานิทัส โนเอ้ ฌาน ลูก้า โดมินิก อาจาย์ เวโรนิก้า โลกิ มิฮาอิล ฯลฯ สำหรับตัวละครอื่นๆ "แม้ว่าตำแหน่งและบทบาทตัวละครจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าก็ตาม" แต่ภาพกลับได้รับการพัฒนาก่อนที่ตัวละครจะปรากฎตัว
Q7:ได้โปรดบอกเราเกี่ยวกับการออกแบบแต่ละตัวละคร และภาพของพวกเขาหน่อย บอกความประทับใจของคุณต่อแต่ละตัวละครเปลี่ยนไปยังไง เมื่อคุณวาดตัวละครนั้น?
Q7 (ย่อย) : วานิทัส
A7: พูดกันตามตรง ฉันไม่ได้คาดหวังให้ตอนแรกต้องเขียนเขาเป็นตัวละครที่ระทมขนาดนี้ เพราะฉันกะจะอธิบายเรื่องนี้ในภายหลัง แล้ววานิทัสเป็นตัวละคร (เหยื่อ) ตัวแรก ที่ต้องเล่นบท Tsukkomi เพราะโนเอ้ (Tsukkomi คือตัวตบมุก)
บางครั้งผู้อ่านก็พูดถึงวานิทัสว่า "ฉันไม่เข้าใจว่าเขาคิดอะไรอยู่" แต่ในฐานะผู้เขียน ฉันอยากตะโกนตอบกลับไปว่า "ฉันอยากวาดเขาในแบบที่คุณไม่เข้าใจ" แต่ไม่เป็นไร ฉันจะใส่ข้อจำกัดของวานิทัสว่า "ไม่ใส่เสียงหรือพูดคนเดียว" ดังนั้นพวกเขาสงสัยว่าการแสดงออกวานิทัสหมายถึงอะไร??
สิ่งที่เขาพูดถึงหมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ เหรอ? อยากให้ผู้ชมคอยสังเกตตอนที่วานิทัสอยู่กับโนเอ้ ตอนที่ฉันกำลังวาดเขาอยู่ ในส่วนการดีไซน์ เราได้ตัดสินใจว่าคราวหน้าต้องทำตัวเอกผมดำตาฟ้า (รายละเอียดอื่นแล้วแต่ความชอบครับผม) แล้วไม่ลังเลใจในจุดนั้น
เสื้อคลุมที่ดูหม่นหมองน่าจะดูดีแต่ฉันอยากทิ้งความประทับใจที่ไม่รู้ลืมให้กับผู้ชม ดังนั้นฉันจึงเลือกเสื้อโค้ททรงกลมที่ช่วงแขนสามารถแกร่งไปมาได้ ทรงผมของวานิทัสเปลี่ยนไปเป็นทรงผมตรงประบ่าเพราะพื่อนของฉันคอมเมนต์รุนแรง พอฉันบอกเรื่องทรงผมพระเอกที่คิดไว้ในผลงานชิ้นต่อไป
"เอ่อคือว่า ปอยผมมันดูไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร~~!" ฉันไม่คิดว่าเพื่อนวิจาร์ณตรงๆ แต่พอฉันได้ยิน มาคิดดูดีๆ กับตัวเอง ฉันพบว่า "นี่เป็นไอเดียที่มันแย่มาก หลังจากเพื่อนเสนอไอเดียว่ามาลองสร้างตัวละครหลักที่ตัดทรงผม Blunt haircut ตอบกลับว่าฉันเองก็ชอบทรงนี้เหมือนกัน
จากนั้นทรงผมนั้นก็ได้ถูกผลักดันจนทรงผมปัจจุบันคล้ายกับแอสโทลโฟ ฉันคิดว่ามันอยู่ห่างไกลจากภาพร่างแรกเริ่มของฉันมาก จึงต้องพยามหลบเลี่ยงความคิดนี้ แต่การสร้างตัวละครหลักด้วยการตัดผมแบบ Blunt haircut คือสิ่งที่ฉันคาดไม่ถึง ฉันเลยสงสัยว่าฉันสามารถรวมองค์ประกอบการตัดผม Blunt haircut ให้กับบุคลิกที่ก้าวร้าวของวานิทัสเข้าได้ดีไหม? และการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดตัวละครวานิทัสอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โนเอ้ - คำแนะนำที่ฉันได้รับจากอดีตหัวหน้าของฉันคือการสลับบทบาทตำแหน่งของวานิทัสที่เป็นแวมไพร์-โนเอ้ที่เป็นมนุษย์ ให้กลายเป็นโนเอ้คือแวมไพร์แต่วานิทัสคือมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้การออกแบบของโนเอ้เปลี่ยนไปอย่างมาก[ 86]
ฉันชอบตัวละครที่มีผิวสีน้ำตาลเข้มมากและฉันคิดว่าอยากให้แก็งค์ผิวดำของพวกเขาขยายมากกว่านี้ ฉันคงต้องวาดพวกเขาให้เพิ่มขึ้น ฉันรู้สึกตัวละครผิวสีน้ำตาลในบางครั้งจะถูกเขียนให้เหมือนสุขภาพดี (ผิวโดนแดด) แต่ฉันต้องการให้ตัวละครผิวสีน้ำตาลเข้มแสดงสีผิวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สีประจำตัวของโนเอ้คือสีม่วง ซึ่งหมายถึง "บุคคลที่ยืนตรงกลางระหว่างสีแดงกับสีน้ำเงิน" ความจริงฉันอยากทำลายความประทับใจตัวละครที่ฉันเคยมีต่อตัวละครผิวสีน้ำตาลเข้มที่สุขภาพดี (ผิวโดนแดด) และกระตือรือร้น มีเสื้อผ้าที่น้อยชิ้น ฉันจึงแก้ไขตัวละคร "โนเอ้"
พูดออกว่า "มาเล่นบทบาทของ Tsukkomi ใส่แว่นตา มีความสุภาพบุรุษ" ถึงอย่างนั้นการที่โนเอ้ไม่สวมแว่นตา ทำให้โนเอ้มีมุมมองที่ซื่อบื้อไปโดยปริยาย ฉันจึงต้องปรับความสัมพันธ์ระหว่างโนเอ้กับตัวละครรอบตัวทั้งหมดใหม่อีกครั้ง แล้วเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของวานิทัสจะเป็นทรงโค้งส่วนโนเอ้เป็นทรงตรง
ฌาน - เนื่องจากฉากนี้ต้องเป็น "อัศวินที่ปกป้องลูก้า" ฉันจึงพยามสร้างภาพที่อ่านได้ชัดเจนว่าเป็นอัศวิน แต่ยังไงภาพร่างเงาของอัศวินนั้นเหมือนกับราชาอัศวินผู้โด่งดังมากเกินไป ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจกลับองค์ประกอบและจบลงด้วยการตัดผมบ๊อบและใส่กระโปรงรัดรูป
"ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นต้นขาของตัวละครหญิง" ดังนั้นเมื่อพวกเขาต่อสู้ แสงเงากระโปรงด้านหน้าตอนเปิดออกของพวกเธอเปลี่ยนไปอย่างมาก ธีมการวาดสำหรับฌานคือทำให้เธอดูนุ่มนวล และวาดตัวโดมิให้ดูงดงาม
ฉันรักตัวละครที่มีความแข็งแกร่งด้านกายภาพมาก ฉันจึงสนุกกับการวาดฌานเป็นสัตว์กินเนื้อตั้งแต่เล่ม 8 เป็นต้นไป
ลูก้า - มิฮาอิลเป็นเด็กผู้ชายน่ารักสไตล์ "bishoun (บิโชเน็น)" เราจึงตัดสินใจให้คงรูปลักษณ์ให้ลูก้าดูเรียบง่าย เมื่อเขาตกอยู่ในสถานการ์ณที่โชคร้ายมาก เขาจะแสดงสีหน้าที่ดูบ้าคลั่งในหน้าฟรีเพื่อตอบสนองสถานการ์ณของเขา (บิโชเน็นคือผู้ชายแนวสวยงามและหน้าฟรีคือโอเมเกะในนิตยสาร)
ฉันตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้เห็นฉากอื่นของเขาและโดมินิกที่จ้องมองฌานและตะคอกใส่วานิทัส
โดมิ - เธอคือตัวละคร (เหยื่อ) คนที่สองที่ต้องรับบทเป็น Tsukkomi ให้กับโนเอ้เดิมทีเธอจะเป็นตัวละครที่ยุ่งวุ่นวายและมีอิสระมากกว่าใครๆ ความจริงภาพต้องเป็นไปตามแนวตัวละครเลโอนิต จากเกม "Romancing SaGa 3" (Romancing SaGa 3 - เกม RPG แนว Final Fantasy อยู่ในยุค Superfamicom)
ขณะเดียวเธอก็มีอิสระและช่วยสนับสนุนตัวละครหลักเช่นเดียวกับลอร์ดอาราเมคจาก Alexia: Parasol Protectorate (นวนิยายร่มพิทักษ์) ที่แสดงออกอย่างอิสระและสนับสนุนตัวละครหลัก
ใช่ ทุกอย่างพังเพราะโนเอ้ถอดแว่นตาออก เธอตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากในเรื่องหลักและฉันอยากให้กำลังใจเธอเร็วๆ นี้
ลอร์ดรูธเวน - ฉันตระหนักดีว่าต้องสร้างความประทับใจให้กับตัวละครที่แข็งแกร่ง ในตอนแรกฉันอยากให้เขามีรูปร่างผอมบางแล้วมีความรอบรู้มาก แต่ขณะเดียวกันฉันก็คิดว่าทิศทางตัวละครของเขาคล้ายกับอาจาย์โนเอ้ ฉันเลยให้เขาเป็นสัตว์กินเนื้อ มีความเป็นนักวิชาการที่ดูน่าสงสัย ซึ่งเข้าได้ดีกับโนเอ้
ฉันพยามวาดฉากดูดเลือดในเล่มสี่อย่างเต็มที่ คาเฟ่ที่เกิดเหตุยังคงอยู่ในปารีสแต่ผนังกระจก เราคิดว่าฉากนั้นคงสามารถทำให้ดูน่าจดจำได้ โดยที่โนเอ้ถูกรูธเวนกัดและถูกบังคับให้มองเห็นภาพสถานการ์ณตัวเขาผ่านกระจก ซึ่งอดีตผู้ช่วยของฉันไม่ได้ยินเสียงมาสักระยะแล้วจู่ๆ ก็พูดกับฉันว่า "การเผยแพร่สองหน้าตอนนายท่านดูดเลือด ช่างเซ็กซี่เสียจริง ขอบคุณมากนะ แค่นี้แหละ ไม่ต้องตอบกลับนะ" ฉันหัวเราะหนักมากเมื่อได้รับอีเมลฉบับนั้น (การลงหมึกบนร่างดินสอเป็นเรื่องยากสุดๆ)
โลล็องต์ - โลร็องต์เป็นตัวละครที่ฉันไม่เคยวาดมาก่อน บางทีอาจจะเป็นเพราะเดิมทีฉันเป็นคนชอบคิดในด้านลบ แต่มันก็เป็นเรื่องง่ายที่ฉันวาดตัวละครที่มีบางอย่างมืดมนในใจแต่แสดงท่าทางร่าเริง ถึงอย่างนั้นโลร็องต์ก็เป็นนักคิดเชิงบวกที่เฟอร์เฟค แต่ไม่ใช่คนกระล่อนที่ตีสองหน้า และมีไหวพริบ
ฉันเลยแบบ "เอ๊ะ ทำไมมีปฎิกิริยาอย่างนั้นล่ะ" "ผู้ชายคนนี้กำลังคิดอะไรอยู่" และฉันมักจะลืมเรื่องนี้ไป โชคดีที่บรรณาธิการของฉันเป็นคนประเภทเดียวที่นิสัยเหมือนกับโลร็องต์ มันจึงมีประโยชน์มากกับฉันพลางพูดว่า ""โอ้ นี่คือการคิดในเชิงบวกจริงๆ เป็นคนที่เหยียบย่ำดินแดนแห่งคนลบ เมืองที่ไร้ความอาฆาตพยาบาล"ฉันว่ามีประโยชน์สุดๆ ทำให้ฉันเข้ากันกับผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ได้ดี
การแลกเปลี่ยนระหว่างโอลิเวียร์กับโลร็องต์ในสองเฟรมในตอนต้นของบทที่ 25 เป็นการแลกเปลี่ยนแบบเดียวที่เกิดขึ้นระหว่างฉันกับศิลปินที่รับผิดชอบร่วมด้วย แม้ว่าเนื้อหาการสนทนาจะแตกต่างกันก็ตาม โลร็องต์เป็นตัวละครสำคัญของตัวละครวานิทัสในอนาคต เลยอยากวาดเขาแบบระมัดระวัง
แอสโทลโฟ - ฉันว่าได้ภาพบทสรุปหลังจากเริ่มต้นซีรีย์ขึ้น เมื่อเทียบกับ Pandora Hearts แล้ว อายุเฉลี่ยของตัวละครวานิทัสโดยรวมนั้นสูงกว่าปกติ ฉันจึงต้องเพิ่มตัวละครอายุน้อยลงไป ในเวลาปกติ ฉันวาดหน้าม้าของแอสจนมองไม่เห็นคิ้ว ต่อให้เขายิ้ม ก็ยากจะบอกได้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่
สำหรับส่วนเวอร์ชั่น Gevaudan (เฌโวด็อง) นั้น ฉันประสบปัญหาในการหาวิธีทำให้การเคลื่อนไหวหอกดูเท่ ดังนั้นฉันจึงค้นหาหนังสือและวิดีโอต่างๆ เพื่อใช้ในการเรฟเฟอเร้น
เวโรนิก้า - เพราะแวมไพร์ทุกตนในตระกูลซาดยกเว้นโดมิกับหลุยส์ เป็นพวกนิสัยเสีย/เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ฉันตั้งใจวาดฉากสุดว้าวของเวโรนิก้าและอองตวนในอนาคต "โดมิ-จางงง" ของคุณฮิกาซะเป็นแอนิเมชั่นที่สุดของเวโรนิก้าและฉันไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการย่างก้าวของโออิรันเท่าไร จนฉันได้ดูรายละเอียดอนิเมชั่นที่จบแล้ว เลยคิดว่ามีรายละเอียดที่ดี ฉันดีใจมาก
ด็อกเตอร์มอโร - มอโรได้รับการเรฟเฟอเร้นมาจาก "The Island of Dr. Moreau" ฉันรู้ว่าเขาจะไม่ปรากฎตัวบ่อยเท่ากับตัวละครหลัก ฉันจึงต้องสร้างรูปลักษณ์และบุคลิกที่มีอิทธิพล เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่สงสัยว่าเขาคือใคร
เขาเป็นอย่างอิซเลิม ยูระใน Pandora Hearts เขาเป็นวายร้ายที่ถูกครอบงำด้วยความชั่วร้าย เขาทำเพื่อความปราถนาของตัวเองและดูเหมือนจะสนุกกับตัวเอง... มอโรก็เหมือนกับเวโรนิก้าที่พากย์โดยโดซากะ เสียงนั้นทำได้ดีมากในอนิเมะและฉันหัวเราะตอนที่ได้ยินเสียงของเขาตอนขยับปากคุย
โคลเอ้ เดอ อัปเฌร์ - โคลเอ้เป็นตัวละครที่ฉันออกแบบตามความต้องการโดยไม่สนรายละเอียด การวาดผมกับดวงตาของเธอเป็นเรื่องยากมาก แต่ก็ยากมากเช่นกันในการวาดชุดของเธอให้เปลี่ยนตามยุคสมัยตามความทรงจำของเธอ ที่เปลี่ยนจากยุคยุคเรอเนซองส์ → บาโรก → ศิลปะโรโกโก ขณะที่ฉันกำลังเขียนเรื่องราวของ Gevaudan (เฌโวด็อง) ฉันก็ถามคนที่รับผิดชอบซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า "จะดีกว่าไหมถ้าฆ่าโคลเอ้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้เรื่องราวทั้งหมดดูเป็นระเบียบ มารวมกันมากขึ้น?"
ซึ่งฉันที่ได้ขอคำแนะนำผู้ดูแลและได้รับชี้แจ้งว่า "ฉันก็อยากเห็นอยู่หรอกนะ แต่คุณก็บอกเองนะว่าถ้าโคลเอ้ไม่รอด คุณจะไม่สามารถบรรยายฉากที่วานิทัสหลงใหลรอยยิ้มของฌานในภายหลังได้" จริงๆ ฉันดีใจมากถ้าโคลเอ้กับฌองณาคเสียชีวิต (การลงหมึกบนร่างดินสอในสเก็ตช์เป็นเรื่องยากมาก)
แวมไพร์จันทราสีน้ำเงิน (ลูน่า) - ธีมพระจันทร์สีน้ำเงินคือ "ความแตกต่างที่สวยงาม" ฉันชอบให้ตัวละครของฉันมีความแตกต่าง ฉันจึงสร้างตัวละครให้มีความลึกลับแต่มีบุคลิกที่ยุ่งเหยิงที่ไม่มีพลังชีวิตอยู่ข้างใน และการลงหมึกตัวละครตัวนี้ในร่างดินสอเป็นเรื่องที่เหนื่อยเอาการ
มิฮาอิล - ในตอนแรกมิฮาอิลเป็นตัวละครที่เกลียดวานิ ทัสแต่รักโนเอ้แทน แน่นอนว่าตอนฉันวาดเนื้อเรื่องหลัก ต่อไป ฉันคิดว่า "ไม่ มันจะไม่เกิดขึ้น" และฉันใจเย็นลง ปักหลักกับแพลนที่วางไว้ในปัจจุบัน สำหรับฉันการแต่งตัวของมิซ่า ค่อนข้างท้าทายมาก
ฉันมีปัญหาเล็กน้อยกับเด็กผู้ชายที่สวมกางเกงขาสั้น แต่ฉันมีประสบการณ์มากมายในการชอบเมื่อวาดพวกเขา และผู้ช่วยของฉันชอบมิซ่าที่สวมกางเกงขาสั้น จึงตัดสินใจได้ในทันที (ย้ำอีกครั้งว่าการลงหมึกแบบร่างดินสอเป็นเรื่องยากมาก)
Q8: สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในผลงานของอาจาย์โมจิซุกิคือความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างตัวละครต่างๆ ได้โปรดช่วยบอกเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่คุณคิดว่าน่าสนใจเป็นพิเศษ
A8: วานิทัสกับโนเอ้
ตอนที่ฉันตัดสินใจสร้างเรื่องราวคู่หู ฉันประสบปัญหาที่ปรับตัวสมดุลให้เข้ากับพลัง ฉันไม่อยากให้พระเอกสองคนมีบทบาทที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่น "ร่างกายกับสมอง" และ "ผู้ที่เป็นผู้นำและถูกชักจูง" รวมทั้ง "ขาวดำ" รวมไปถึงการช่วยเหลือคนอื่นด้วย
วานิทัสกับฌาน - ฉันคิดว่า (นิสัย) ของฉันเองมีอิทธิพลกับความสัมพันธ์ของพวกเขาในตอนต้นเรื่องมาก ฉันชอบความไม่สมดุลที่ฌานแวมไพร์มีร่างกายเหนือกว่า แต่วานิทัสมีจิตใจดีกว่าเธอ ฉันสนุกกับการวาดทั้งสองคนให้ดุร้ายตั้งแต่ต้นเรื่อง
แต่ตอนนี้โพซิซั่นของพวกเขากลับกันแล้ว ฉันอดไม่ได้ที่จะยิ้มแล้วพูดว่า "อ๊าา 5555 วานิทัส นายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว! " ฉันเคยเห็นเรื่องราวของแวมไพร์มาหลายเรื่องที่แวมไพร์ชายดูดเลือดของแวมไพร์ตัวเมีย ดังนั้นฉันจึงอยากจะวาดรูปแบบที่ตรงกันข้ามในวานิทัสให้มากขึ้น ฉันได้วาดชายดูดเลือดชายแล้ว เลยอยากจะวาดฉากหญิงดูดเลือดหญิงในอนาคตอันใกล้นี้ ฉันชอบ "Tasogare Renren" ของอาจาย์ Nari Kusakawa สำหรับการดูดเลือดหญิงถึงชายมาก[ 87]
แปลบทสัมภาษณ์ดาวินซี (เก็บตกรายละเอียดเสริม)
การแปลรายละเอียดส่วนเสริมที่ไม่มีในนิตยสารของคิคังและเก็บตกข้อมูลรวมทั้งนักพากย์
คำถาม : แม้ว่าพวกเขาจะทะเลาะกันแต่ก็เลือกที่จะอยู่ด้วยกันและคอยสนับสนุนซึ่งกันและกัน ฉันสนใจความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองอีกด้วย คุณโมจิซุกิจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองคนนี้อย่างไร
โมจิซุกิ: พวกเขาไม่ใช่พวกเดียวกันและเพื่อน หรือแม้กระทั่งเพื่อนสนิท พวกเขาแตกต่างกันและเข้ากันไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงดึงดูดเข้าหากันและสามารถปกปิดจุดอ่อนของกันแล้วกันได้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม คิดว่าเขากำลังถูกดึงดูดเข้าสู่ความมืดมิดที่แฝงตัวอยู่ในเงามืด[ 88]
คำถามสอง : คุณรู้สึกประทับใจกับการมีอยู่ของแวมไพร์มากแค่ไหน? นอกจากนี้ หากคุณมีผลงานแวมไพร์ที่ชื่นชอบ ได้โปรดช่วยบอกเราหน่อย?
โมจิซุกิ : ฉันเองก็จำผลงานแวมไพร์เรื่องแรกในชีวิตไม่ได้ แต่ภาพยนตร์เรื่อง ``Interview with the Vampire'' มีผลกระทบอย่างมากต่อฉันเมื่อตอนที่ฉันยังเด็กอยู่ ตอนนั้นฉันบังเอิญได้ดูเรื่องนี้ในทีวี แต่ฉันรู้สึกว่านั่นคือจุดที่ฉันได้ปลูกฝังความสยองขวัญและความเปราะบางของแวมไพร์ รวมทั้งธรรมชาติที่น่าหลงใหลของฉากดูดเลือด ซึ่งหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันชอบการผสมผสานระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว[ 89]
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
↑ โตเกียวเอ็มเอกซ์ได้เผยแพร่ซีรีส์รอบปฐมนิทัศน์เวลา 24.00 น. ของวันที่ 2 กรกฎาคม 2021 ซึ่งตรงกับเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 3 กรกฎาคม[ 29]
อ้างอิง
↑ 吸血鬼譚「ヴァニタスの手記」ボンズ制作で今夏TVアニメ化 花江夏樹&石川界人が主演 . anime.eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com [ja ] . March 28, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์ )
↑ 2.0 2.1 Chapman, Paul (March 28, 2021). "The Case Study of Vanitas Sinks Its Fangs Into a TV Anime" . Crunchyroll . สืบค้นเมื่อ April 10, 2021 .
↑ 19世紀パリ×吸血鬼×スチームパンク! 魔導書に導かれし吸血鬼と人間たちの物語──アニメ『ヴァニタスの手記』原作・望月淳インタビュー . DDNavi (ภาษาญี่ปุ่น). July 8, 2021. สืบค้นเมื่อ December 7, 2022 .
↑ 4.0 4.1 4.2 แปลโดยคุณ MochiJunManga ในยูทูป
↑ 5.0 5.1 5.2 "Interview de Jun Mochizuki (Les Mémoires de Vanitas, Pandora Hearts" . Manga News (ภาษาฝรั่งเศส). September 13, 2017. สืบค้นเมื่อ January 28, 2022 .
↑ อิตามูระ บทสัมภาษณ์แปลของบันทึกแวมไพร์วาาิทัส ทวิต วันสืบค้น 23 พฤษภาคม 2023
↑ interview by Morrissy, Kim (July 4, 2021). "Vanitas No Carte Aniplex online Fest 2021" . Anime News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 8, 2022 .
↑ Ressler, Karen (October 20, 2015). "Pandora Hearts' Mochizuki to Launch Vanitas no Carte Manga" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ April 10, 2021 .
↑ 「PandoraHearts」の望月淳、JOKERでの新連載は吸血鬼を巡るファンタジー . Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ December 8, 2022 .
↑ บทความเขียนโดยคุณ Hodgkins, Crystalyn , วันที่ดั้งเดิม 4 เมษายน 2020 , บันทึกแวมไพร์วานิทัสหยุดเพราะโควิด 19 , Anime News Network , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ ガンガンJOKER 2020年12月号(11月21日発売) , กังกังโจ๊กเกอร์ (Gangan Joker ในญี่ปุ่น ) , สแควร์เอนิกซ์ , เก็บมาจากต้นฉบับ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2020 ,วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ วันที่ดั้งเดิม 20 พฤษภาคม 2023 ,
"ヴァニタスの手記 10 (ใน ญี่ปุ่น)" .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ ) , สแควร์เอนิกส์ , วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2023
↑ วันที่ดั้งเดิม 20 พฤษภาคม 2023 , "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 10 เวอร์สเปเซี่ยลอีดิท พร้อมของแถมมินิบุ๊ค" .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ ) , สแควร์เอนิกซ์ , วันสืบค้น 5 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์ประกาศลิขสิทธิ์ผ่านทางเฟสบุ๊คทางการของสำนักพิมพ์สยาม , siam inter comic ในวันที่ 18 กันยายน 2019 , วันสืบค้น 5 พฤษภาคม 2023
↑ สำนักพิมพ์รับฟีคแบคนักอ่านเรื่องรูปเล่มของบันทึกแวมไพร์วานิทัส siam inter comic ในวันที่ 26 กันยายน 2019 สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , 瓦尼塔斯的手札(1) เก็บถาวร 2022-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน spp.com.tw ในไต้หวัน (ประเทศจีน ) จากวันที่ 19 พฤษภาคม 2017 , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , 瓦尼塔斯的手札 第1期 ในฮ่องกง (ประเทศจีน) jd-intl.com , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 ([잡담] 바니타스의 카르테, 1권 대원씨아이 6월 발행예정) naver.com (ในเกาหลี) ,สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ ข่าวประกาศลิขสิทธิ์บันทึกแวมไพร์วานิทัสในฝรั่งเศส (Jun Mochizuki bientôt de retour chez Ki-oon avec les Mémoires de Vanitas) manga-news.com (ในฝรั่งเศส) จากวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2017 ,สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัส เล่ม 1 (The Case Study Of Vanitas 1) carlsen.de ในเยอรมนี สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2022
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , THE CASE STUDY OF VANITAS n. 1 starcomics.com (ในอิตาลี) , สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ ข่าวประกาศลิขสิทธิ์ของบันทึกแวมไพร์วานิทัสในสเปน ramenparados.com (ในสเปน) จากวันที่ 6 เมษายน 2019 สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 (МЕМУАРЫ ВАНИТАСА. ТОМ 1) istari.ru ในรัสเซีย สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , COMBO HỒI KÍ VANITAS (TẬP 1-8) เก็บถาวร 2022-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน nxbkimdong.com.vn ในเวียดนาม สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัศเล่ม 1 (Księga Vanitasa 01) sklepwaneko.pl ในโปแลนด์ สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยวิดิโอโปรโมตอนิเมเมะของเพลงยูกิ คาจิอูระ Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ Hodgkins, Crystalyn ในวันที่ 28 มีนาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสออกอากาศทีวีอนิเมะซีรีส์ในซีซั่นซัมเมอร์โดยโบนส์ Anime News Network วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ ลู อีแกน ในวันที่ 5 มิถุนายน 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยรายชื่อนักพากย์เพิ่มเติม ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม ครึ่งหลัง Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ "On'ea | Terebi Anime "Vanitasu no Karute" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「ヴァニタスの手記」公式サイト [On Air | TV Anime "The Case Study of Vanitas" Official Website]. vanitas-anime.com (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2023 .
↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 17 กันยายน 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสพาร์ทสองที่จะฉายใเดือนมกราคม 2022 Anime News Network สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 14 มกราคม Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 21 มิถุนายน บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยตัวอย่างเพลงปิดของอนิเมะ แต่งโดยคุณ LMYK Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ เว็บไซต์เป็นทางการของทีวีอนิเมะ "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" vanitas-anime.com สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
↑ ลู อีแกน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสได้นำเสนอเพลงปิดพาร์ทสองในวิดิโอ Anime News Network สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
↑ รายชื่อนักพากย์ไทย เฟซบุ๊ก สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ กระทู้ myanimelist ที่มีคนตั้งคำถาม "Easter Egg" ของวานิทัสในอนิเมะ myanimelist สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
↑ ทวิตเตอร์ที่อธิบาย "Easter Egg" ของวานิทัส ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
↑ ทวิตเตอร์ทางการละครเวที ทวิตเตอร์ วันสืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ประกาศข่าวละครเวที ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัส ละครเวที -encore- ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ละครเวที กาคุ ทาคาโมโตะ นักแสดงสำรอง เว็บไซต์ทางการละครเวที สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ละครเวทีถูกยกเลิก ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ นักแสดงละครเวทีติดเชื้อโควิด 19 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ 44.0 44.1 ละครเวทีถูกยกเลิก 02 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ละครเวทีถูกพิจารณาเนื่องจากนักแสดงติดโควิด 19 03 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ โมจิซุกิ จุนมอบของขวัญให้กับทีมงานละครเวที ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ไม่มีแผนเปิดดีวีดีหรือบลูเรย์ vanitas-stage.com สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
↑ ดาร์กิส เมลิน่า "อันดับมังงะและไลท์โนเวลประจำสัปดาห์ของญี่ปุ่น ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2017" วันที่ 11 พฤษภาคม 2017 The Fandom Post สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
↑ "【ヴァニタスの手記】ヴァニタスの過去・正体とは?目的や死亡についてネタバレ考察 | 大人のためのエンターテイメントメディアBiBi[ビビ]" bibi-star.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 27 มกราคม 2022. สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ 50.0 50.1 ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (25 ธันวาคม 2016). "บันทึกแวมไพร์วานิทัส GN 1" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ บทสัมภาษณ์โมจิซุกิ จุน (บันทึกแวมไพร์วานิทัส) ผู้เขียน Pandora Hearts Manga News (ภาษาฝรั่งเศส) 13 กันยายน 2017 สืบค้น 24 พฤษภาคม 2023
↑ ดาร์กิส เมลิน่า (14 กุมภาพันธ์ 2017) "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม #01 รีวิวมังงะ" แฟนด้อมโพสต์ The Fandom Post สืบค้น วันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ ดาร์กิส เมลิน่า (9 พฤษภาคม 2017).คำถามของแฟนด้อม : ซีรีย์มังงะเรื่องใดสมควรถูกดัดแปลงอนิเมะมากที่สุด แฟนด้อมโพสต์ [The Fandom Post] . สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ Jeudi Publiée le Jeudi รีวิวมังงะเล่ม 8 โดย manganew (ภาษาฝรั่งเศส) วันที่ 8 ตุลาคม 2020 manganew สืบค้น 24 พฤษภาคม 2023
↑ "Critique Vol.9 Mémoires de Vanitas (les)" Manga News (ภาษาฝรั่งเศส). วันที่ 16 ธันวาคม 2021. สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
↑ ดาร์กิส เมลิน่า (9 กันยายน 2020) "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม #07 รีวิวมังะ" แฟนด้อมโพสต์ [The Fandom Post] สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ Martínez, Óscar (17 กันยายน 2021). "EL SER O NO SER DE VANITAS NO CARTE" . El Palomitrón (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ การ์ริตี้, แชนอน เค. (26 มีนาคม 2017). "[Review] บันทึกแวมไพร์วานิทัส" . โอตาคุ USA . สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ ) Otaku USA
↑ "Critique Vol.1 Mémoires de Vanitas (les)" Manga News (ภาษาฝรั่งเศส) สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ โดโนฮู ทิโมธี (28 ธันวาคม 2021) บันทึกแวมไพร์วานิทัส:วิธีเริ่มต้นดูอนิเมะกับมังงะ Comic Book Resources สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
↑ ดาร์กิส, เมลิน่า (14 กุมภาพันธ์ 2017). "บันทึกแวมไพร์ซานิทัส#01 รีวิวมีงงะ" . The Fandom Post . สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ เคทลิน มัวร์, ลินซี เลิฟริดจ์&ซีรีย์ยอดเยี่ยม Anime News Network สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ "MrAJCosplay, โมนิค โธมัส, เจมส์ เบ็คเก็ตต์" & เพลงประกอบยอดเยี่ยม Anime News Network , 30 ธันวาคม 2021 ( สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023)
↑ อนิเมะที่ดีที่สุดในซีซั่นวินเทอร์ 2021 IGN 14 ธันวาคม 2021 , สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ 65.0 65.1 สวิฟต์, เคสเทรล (24 กันยายน 2564) รีวิวอนิเมะ บันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 11-12 (ตอนจบซีซั่น) เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (12 กันยายน 2564). บันทึกแวมไพร์วานิทัส EP.11 Anime News Network สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ 67.0 67.1 คู, เกรซี่ (21 กันยายน 2564). บทวิจารณ์อนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัส : เหล่าแวมไพร์งดงามในโกธิคที่สร้างความบันเทิงใหกับซีรีย์ Anime Trending สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ สวิฟต์ เครสเตล (17 กรกฎาคม 2021) รีวิวอนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 3 เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
↑ สวิฟต์ เครสเตล (24 กรกฎาคม 2021) รีวิวอนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 4 เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
↑ "เช็กอนิเมะสามตอนแรกในซีซั่นซัมเมอร์ 2021" . Anime Feminist . สิงหาคม 4, 2021. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ "Anime Feminist แนะนำอนิเมะซีซั่นวินเทอร์ในปี 2022" . Anime Feminist . เมษายน 27, 2022. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 .{{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (กรกฎาคม 30, 2021). "บันทึกแวมไพร์วานิทัส — ตอนที่ 5" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ บอนเดน, อเลฮานดรา (มกราคม 22, 2022). "Tokyo Revengers, Vanitas & Shaman King: 3 อนิเมะติดอันดับรายชื่อในปี 2022" . Bleeding Cool . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ ไกเซอร์, วีเรย์ (กรกฎาคม 2, 2021). "บันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 1" . Anime Feminist . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ เลิฟริดจ์, ลินซี่ (พฤษภาคม 30, 2022). "อนิเมะที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดของฤดูหนาวปี 2022" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ เลิฟริดจ์, ลินซี่ (มกราคม 18, 2022). "คันซิโร่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงอนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 6 ประจำปี 2022" . Anime News Network . สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 . {{cite web }}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์ )
↑ ฌาน ความนิยมใน Animetrending
↑ อันดับผลโหวตของฌานในฐานะตัวละครซับพอร์ตใน AnimeTrending
↑ อันดับผลโหวตของฌาน
↑ วานิทัสและฌาน ติดอันดับสาขาคู่รักยอดเยี่ยม
↑ วานิทัสและฌานติดอันดับสี่ของคู่ชิป
↑ มอริสซี่, คิม (มกราคม 19, 2023). "คันซิโร่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงอนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 7 ประจำปี 2023" . Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 20, 2023. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023 .
↑ reddit animeawards 2021 redditvote สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
↑ r/anime Awards 2022 reddit vote สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
↑ ฉากที่ประทับใจมากที่สุดของวานิทัส : ผลโหวตของออฟฟิเซี่ยล vanitas-anime.com สืบค้นวันที่ 4 มิถุนายน 2023
↑ ภาพร่างของโมจิซุกิ "วานิทัสกับโนเอ้" ในนิตสารคิคัง
↑ Tasogare Renren
↑ 友人 - Yujin (ยูจิน) แปลว่าเพื่อนและเพื่อนสนิท ถ้าใช้กรณีแนะนำเพื่อนเป็นคำที่พิธีริตองกว่า Nakama-tomo chigau หมายถึงพวกพ้องอยู่ด้วยกันในยามที่ยากลำบาก จริงๆ ไม่รู้แปลยังไง มันแปลว่าแตกต่างจากพวกพ้อง (พวกเราไม่ใช่เพื่อนกันด้วยซ้ำ)
↑ interview with the vampire คือภาพยนต์ lgbt+ เดาว่าเวอร์ชั่นที่อาจาย์โมจิซุกิดูน่าเป็นมูฟวี่แต่ไม่ใช่ทีวีซีรีย์
แหล่งข้อมูลอื่น
ซีรีส์โทรทัศน์ โอวีเอ/โอเอ็นเอ ภาพยนตร์ วิดีโอเกม
Television series OVAs ONAs Related