บัตเตอร์สกอตช์

บัตเตอร์สกอตช์
ลูกกวาดบัตเตอร์สกอตช์
ประเภทขนม
แหล่งกำเนิดอังกฤษ
ส่วนผสมหลักน้ำตาลแดง, เนย

บัตเตอร์สกอตช์ (อังกฤษ: butterscotch) เป็นขนมที่มีส่วนผสมหลักคือน้ำตาลแดงและเนย บางครั้งอาจผสมน้ำเชื่อมข้าวโพด, ครีม, วานิลลาและเกลือ สูตรแรก ๆ ที่พบในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ใช้กากน้ำตาลแทนน้ำตาล บัตเตอร์สกอตช์คล้ายกับทอฟฟี แต่ต่างกันที่ระดับความเดือดของน้ำตาล โดยบัตเตอร์สกอตช์จะเป็นระดับ soft crack ส่วนทอฟฟีจะเป็นระดับ hard crack[1]

บัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นส่วนผสมในลูกกวาดและพุดดิง ใส่ในคุกกี้แบบเดียวกับช็อกโกแลตชิป หรือแต่งรสชาติของเหล้าหวาน ซอสบัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นซอสของหวาน โดยเตรียมได้จากการเคี่ยวน้ำตาลแดงที่อุณหภูมิ 116 °C กับเนยและครีม[2]

ที่มาของคำ

ที่มาของคำว่า butterscotch ยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดยอาจมาจากคำว่า scotch ซึ่งแปลว่า ตัด, แบ่ง เนื่องจากขนมหวานชนิดนี้ต้องตัดแบ่งก่อนนำไปทำให้แข็ง[3][4] หรืออาจเพี้ยนมาจากคำว่า scorch ซึ่งแปลว่า เผา, เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเนื่องจากความร้อน[5]

ประวัติ

บัตเตอร์สกอตช์ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดยเกี่ยวข้องกับขนมหวานจากเมืองดองคัสเตอร์ในมณฑลยอร์กเชอร์ ในปี ค.ศ. 1848 หนังสือพิมพ์ลิเวอร์พูลเมอร์คิวรีตีพิมพ์สูตร "บัตเตอร์สกอตช์ดองคัสเตอร์" มีส่วนผสมคือ "เนย 1 ปอนด์, น้ำตาล 1 ปอนด์, กากน้ำตาล 1/4 ปอนด์ นำมาเคี่ยวรวมกัน" (เนยและน้ำตาลอย่างละ 450 กรัมและกากน้ำตาล 110 กรัม)[6]

ในปี ค.ศ. 1851 บัตเตอร์สกอตช์ดองคัสเตอร์ถูกขายให้กับบริษัทเอส. พาร์กินสันแอนด์ซันส์[7] ซึ่งทำการค้าในชื่อดองคัสเตอร์เชิร์ช[8] บัตเตอร์สกอตช์ของพาร์กินสันเคยได้รับการถวายแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1948 (ในขณะนั้นทรงเป็นดัชเชสแห่งเอดินบะระ)[9] และเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารีในปี ค.ศ. 2007[10]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "The Cold Water Candy Test". Exploratorium. สืบค้นเมื่อ 2014-01-12.
  2. Wayne Gisslen, Professional Baking, p. 227
  3. "Maple Sugar". baking911.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  4. "Butterscotch Sauce Recipe, How to Make Butterscotch | Simply Recipes". Elise.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  5. "Sticking With Butterscotch". Washington Post. 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-07-10.
  6. "Housewife's Corner". Liverpool Mercury. February 1, 1848. p. 4.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
  8. Observer (New Zealand), Volume IX, Issue 570, 30 November 1889, Page 3
  9. Published on Friday 29 August 2008 15:06 (2008-08-29). "Royals visit 1948 St Leger - Features". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  10. "travel". Best Doncaster Airport Hotels. 2004-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-11. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!