งานบรรพศิลป์ที่พิพิธภัณฑ์เทอร์ราค็อตตาอินเดีย , นิวเดลี, อินเดีย[ 1]
บรรพศิลป์ หรือ อนารยศิลป์ [ 2] (อังกฤษ : Primitive art หรือ Tribal art ) เป็นคำศัพท์กว้างๆ ที่ใช้บรรยายวัตถุหรือสิ่งที่สร้างโดยชนพื้นเมือง ผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Primitive culture)[ 3] ที่อาจจะเรียกว่า “'Ethnographic art” หรือ “Arts Primitive” (“บรรพศิลป์”)[ 4] บรรพศิลป์แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม
ศิลปะแอฟริกัน
ศิลปะโลกใหม่ หรือ ศิลปะอเมริกา (ไม่ใช่ “ศิลปะอเมริกัน ”)
ศิลปะโอเชียเนีย
นิยามและลักษณะ
“บรรพศิลป์” อาจจะถือว่าเป็นศิลปะพื้นบ้าน ที่มักจะเป็นศิลปะที่มีความสำคัญทาง ประเพณี/ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เฉพาะของชนเผ่าใดชนเผ่าหนึ่ง[ 5] โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่ห่างไกลออกไป และจะเป็นศิลปะที่คำนึงถึงหัวข้อที่ทำ และ ฝีมือในการสร้างจากประชาคมกลุ่มเล็ก (ชนเผ่า) ที่มักจะไม่มีประเพณีการอ่านการเขียน
“บรรพศิลป์” ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดมาจากทวีปอเมริกา (ตัวอย่างเช่นงานของอินนิวอิท , อเมริกันอินเดียนเกรตเพลน (Plains Indians--อเมริกันอินเดียนจากตอนกลางของสหรัฐอเมริกา) และจากดินแดนที่ห่างไกลจากผู้คนในอเมริกากลาง และ อเมริกากลางใต้ ), โอเชียเนีย (โดยเฉพาะจากออสเตรเลีย , เมลานีเซีย , นิวซีแลนด์ และ โพลีนีเซีย ) และ แอฟริกาซับซาฮารา ลักษณะของสังคมที่สร้างศิลปะตระกูลนี้ก็ได้แก่:[ 4]
สังคมขนาดเล็กและเป็นอิสระที่มักจะอยู่ในรูปของหมู่บ้านที่มีประชากรราวสองสามร้อยคนและการติดต่อสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวโดยตรงโดยปราศจากการจัดระเบียบสังคม [ 7] (social organization) หรือมารยาทการสังคมที่วางไว้อย่างเป็นทางการ
งานจำนวนน้อย/เชี่ยวชาญศิลปะเฉพาะทาง
ขาดเทคโนโลยีที่เกินไปกว่าเครื่องมือง่ายๆ ที่อาจจะทำจากหินแทนที่จะเป็นโลหะ
สังคมที่มีแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจนมาถึงก่อนหน้าที่จะมีการติดต่อกับชาวยุโรป
อ้างอิง
↑ Tales in terracotta: Set up in 1990, the Sanskriti Museum has contexualised and documented terracotta from all parts of the country , Indian Express , 15 May 2005.
↑ “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ” โดยมะลิฉัตร เอื้ออานันท์ให้คำนิยาม “อนารยศิลป์” ไว้ว่าเป็น “ศิลปะของอนารยชน เช่นรูปสลักและหน้ากากแอฟริกัน ศิลปะในที่ต่างๆ เช่นนิวกินี และประเทศแถบมหาสมุทร เช่นอลาสกา หรือผลงานของพวกอินเดียนแดงชนเผ่านาวาโฮ” (“พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545)
↑ การใช้คำว่า “ชนพื้นเมืองผู้มีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม ” อาจจะถือว่าเป็นการบรรยายเชิงหมิ่นที่อาจจะสร้าง “ข้อขัดแย้ง” (controversially description) ได้
↑ 4.0 4.1 Dutton, Denis, Tribal Art เก็บถาวร 2020-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . In Michael Kelly (editor), Encyclopedia of Aesthetics. New York: Oxford University Press, 1998.
↑ Folk and Tribal Art , Cultural Heritage, Know India .
↑ ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน "" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
↑ ""ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน "" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2010-01-19 .
บรรณานุกรม
Edmund Snow Carpenter, The Tribal Terror of Self-Awareness. In Paul Hockings (editor), Principles of Visual Anthropology , 1975, pages 451–461.
Dennis Dutton, Tribal Art and Artifact เก็บถาวร 2009-09-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Journal of Aesthetics and Art Criticism , 51(1):13–21, Winter 1993.
Dennis Dutton, Mythologies of Tribal Art เก็บถาวร 2018-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . African Arts , 28(3):32–43, Summer 1995.
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น