บทความนี้เกี่ยวกับนก สำหรับปลา ดูที่
ปลาโนรี
นกโนรี[2] เป็นสกุลของนกปากขอสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Lorius จัดเป็นนกขนาดกลางในอันดับนี้ มีความยาวจากจะงอยปากจรดปลายหาง 30 เซนติเมตร หางสั้น
พบกระจายพันธุ์ในแถบประเทศอินโดนีเซีย หมู่เกาะโมลุกกะ ปาปัวนิวกินี และหมู่เกาะโซโลมอน ลำตัวสีสดใสต่างกันไปตามชนิด เช่น แดงเข้มไปหมดทั้งตัว ยกเว้นปลายปีก ปาก และนิ้ว เป็นต้น
มีอุปนิสัยปกติจะอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว เว้นแต่ว่าเมื่อจับคู่แล้วจึงไม่แยกห่างจากกัน มีบ้างในบางครั้งจะอยู่รวมกันเป็นฝูงราว 4-6 ตัว ชอบบินสูงเหนือยอดไม้ ไม่ส่งเสียงร้องในขณะบินเหมือนนกชนิดอื่นในอันดับเดียวกัน อาหารหลักคือ ผลไม้สุกที่มีรสหวาน โดยมีตอนปลายของลิ้นก็ตรงที่ลิ้นที่ม้วนเป็นหลอดได้ สำหรับดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้ และมีหนอนหรือแมลงเป็นอาหารเสริม โดยปกติแล้วจะวางไข่ครั้งละไม่เกิน 2 ฟองเท่านั้น
นกโนรีก็เหมือนนกชนิดอื่นในอันดับนี้ คือ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ในประเทศไทยเชื่อว่ามีผู้นำเข้ามาเลี้ยงตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่สามารถที่จะฝึกหัดให้เลียนเสียงมนุษย์ได้เหมือนนกชนิดอื่น[3]
การจำแนก
แบ่งได้ทั้งหมด 6 ชนิด และชนิดย่อยต่าง ๆ ดังนี้[4]
สกุล Lorius Vigors 1825
- Lorius garrulus (Linnaeus 1758)
- Lorius garrulus flavopalliatus Salvadori 1877
- Lorius garrulus garrulus (Linnaeus 1758)
- Lorius garrulus morotaianus (Bemmel 1940)
- Lorius domicella (Linnaeus 1758)
- Lorius lory (Linnaeus 1758)
- Lorius lory cyanauchen (Muller, S 1841)
- Lorius lory erythrothorax Salvadori 1877
- Lorius lory jobiensis (Meyer, AB 1874)
- Lorius lory lory (Linnaeus 1758)
- Lorius lory salvadorii Meyer, AB 1891
- Lorius lory somu (Diamond 1967)
- Lorius lory viridicrissalis Beaufort 1909
- Lorius hypoinochrous Gray, GR 1859
- Lorius hypoinochrous devittatus Hartert 1898
- Lorius hypoinochrous hypoinochrous Gray, GR 1859
- Lorius hypoinochrous rosselianus Rothschild & Hartert 1918
- Lorius albidinucha (Rothschild & Hartert 1924)
- Lorius chlorocercus Gould 1856
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lorius ที่วิกิสปีชีส์