นกกระตั้วเล็กหงอนเหลือง หรือ นกคอกคาทูหงอนเหลือง (อังกฤษ: Yellow-crested cockatoo, lesser sulphur-crested cockatoo; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cacatua sulphurea) เป็นนกกระตั้วขนาดกลาง (มีความยาวประมาณ 34 เซนติเมตร) มีขนสีขาว ผิวรอบดวงตาสีขาวอมฟ้า เท้าเป็นสีเทา จงอยปากสีดำ และหงอนสีเหลืองหรือส้มที่สามารถพับเก็บได้ ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกัน
นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองพบในพื้นที่ป่าและพื้นที่เพาะปลูกของ ติมอร์ตะวันออก และเกาะต่าง ๆ ของ อินโดนีเซีย เช่น สุลาเวสี และ หมู่เกาะซุนดาน้อย นกชนิดนี้อาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นนกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองที่มีจำนวนมากกว่า ซึ่งพบได้ในบริเวณที่อยู่ทางตะวันออกมากกว่า โดยสามารถแยกได้จากการไม่มีสีเหลืองอ่อนที่แก้ม (แม้ว่านกกระตั้วใหญ่หงอนเหลืองบางตัวอาจมีรอยสีเหลืองปรากฏ) นอกจากนี้หงอนของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองจะมีสีที่สว่างกว่า ใกล้เคียงกับสีส้มมากกว่า[3] นกกระตั้วหงอนส้มซึ่งเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองก็มีความคล้ายคลึงกัน แต่มีหงอนสีส้มและพบได้เฉพาะบนเกาะซุมบา เท่านั้น[4]
อาหารของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองส่วนใหญ่ประกอบด้วยเมล็ดพืช ยอดอ่อน ผลไม้ ถั่ว และพืชสมุนไพรต่าง ๆ
อนุกรมวิธาน
ในศตวรรษที่ 18 นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองถูกนำเข้ามาในยุโรปเป็นสัตว์เลี้ยง และมีนักธรรมชาติวิทยาหลายคนบรรยายลักษณะของนกเหล่านี้ ในปี ค.ศ. 1738 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เอลีซาร์ อัลบิน ได้บรรยายและวาดภาพ "นกกระตั้วหรือปากนกแก้วหงอนขาว" ไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง A Natural History of Birds จากนกที่จัดแสดงที่โรงเตี๊ยม "The Tiger" บน ทาวเวอร์ฮิลล์ ในลอนดอน[5] ในปี ค.ศ. 1760 นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส มาตูแร็ง ฌัก บริสสัน ได้บรรยาย "Le Kakatoes à hupe jaune" ไว้ในหนังสือของเขา Onithologie โดยอิงจากนกที่มีชีวิตที่เขาเคยเห็นในปารีส[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 1764 จอร์จ เอ็ดเวิร์ดส์ ได้บรรยาย "นกกระตั้วขนาดเล็กหงอนสีเหลือง" ในหนังสือ Gleanings of natural history โดยอิงจากนกเลี้ยงที่บ้านในเอสเซ็กซ์[7] และในปี ค.ศ. 1779 นักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาชาวฝรั่งเศส ฌอร์ฌ-หลุยส์ เลคเลิร์ค, คอมต์ เดอ บุฟฟอน ได้บรรยายนกชนิดนี้ในหนังสือของเขา Histoire Naturelle des Oiseaux[8][9]
เมื่อ โยฮันน์ ฟรีดริช กเมลิน นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ปรับปรุงและขยาย Systema Naturae ของ คอล ฟ็อน ลินเนีย ในปี ค.ศ. 1788 เขาได้รวมเอานกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองเข้าไว้ด้วย โดยอ้างอิงจากคำบรรยายของนักธรรมชาติวิทยาก่อนหน้า เขาได้จัดนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองให้อยู่ในสกุล Psittacus และตั้งชื่อทวินามว่า Psittacus sulphureus[10] โดย สถานที่ต้นแบบ ของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองคือนเกาะ สุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย[11] ปัจจุบัน นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองเป็นหนึ่งใน 11 ชนิดที่ถูกจัดให้อยู่ในสกุล Cacatua ซึ่งได้รับการตั้งชื่อโดย หลุยส์ ปิแอร์ วิโยต์ ในปี ค.ศ. 1817[12]
ตามการจัดจำแนกของ International Ornithological Congress มีการยอมรับชนิดย่อย 5 ชนิดของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลือง:[12]
C. s. sulphurea (nominate subspecies) (Gmelin, JF, 1788) – เกาะสุลาเวสี และเกาะใกล้เคียงอย่าง มูนา และ บูตุง
C. s. abbotti (นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองของแอ๊บบอต) (Oberholser, 1917) – หมู่เกาะมาซาเล็มบู
C. s. djampeana Hartert, E, 1897 – ตันฮาจัมเปีย และ หมู่เกาะตุคังเบซี
C. s. occidentalis Hartert, E, 1898 – หมู่เกาะซุนดาน้อยตะวันตกและกลาง (ลอมบอก, ซุมบาวา, เกาะโคโมโด, พาดาร์, รินจา, ฟลอเรส, ปันตาร์ และ อลอร์)
C. s. parvula (นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองติมอร์) (Bonaparte, 1850) – หมู่เกาะซุนดาน้อยกลาง (โรตี, เซเมา และ ติมอร์)
ก่อนหน้านี้มีการยอมรับเพียง 4 ชนิดย่อยเท่านั้น แต่ djampeana และ occidentalis ได้รับการยอมรับในปี ค.ศ. 2022 ตามผลการศึกษาทางวิวัฒนาการในปี ค.ศ. 2014 ส่วนชนิดย่อย paulandrewi ที่เชื่อว่าเป็นชนิดเฉพาะถิ่นของหมู่เกาะตุคังเบซี และได้รับการยอมรับในงานวิจัยปี ค.ศ. 2014 ไม่ได้รับการยอมรับจาก IOC[12][13]
จนถึงปี 2023 นกกระตั้วหงอนส้มหรือ นกกระตั้วหงอนจำปา (Cacatua citrinocristata) เคยถูกพิจารณาว่าเป็นชนิดย่อยของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลือง[14]
การผสมพันธุ์
นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองทำรังในโพรงต้นไม้ ไข่มีสีขาวและมักจะมี 2 ฟองในหนึ่งครอก พ่อและแม่ช่วยกันฟักไข่ โดยใช้เวลาประมาณ 28 วันในการฟักไข่ และลูกนกจะออกจากรังประมาณ 75 วันหลังจากฟักออกจากไข่[4]
สถานะและการอนุรักษ์
นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองถูกจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง[1] จำนวนประชากรของนกชนิดนี้ลดลงอย่างมากเนื่องจากการดักจับอย่างผิดกฎหมายเพื่อค้าขายในตลาดสัตว์เลี้ยง ระหว่างปี ค.ศ. 1980 ถึง 1992 นกกว่า 100,000 ตัวถูกส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากอินโดนีเซีย แต่ข้อเสนอของเยอรมนีที่ยื่นต่อCITES เพื่อย้ายนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองไปยังภาคผนวก I[15] ไม่ได้รับการอนุมัติในตอนแรก ต่อมานกชนิดนี้จึงถูกย้ายไปยังภาคผนวก I[16] ประชากรปัจจุบันมีการประเมินว่าน้อยกว่า 2,500 ตัว และเชื่อว่าจำนวนกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[16]
นกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองชนิดย่อย C. s. abbotti พบเฉพาะบนเกาะมาซากัมบิง ประชากรบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ (ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.9 ตารางไมล์) ลดลงเหลือเพียง 10 ตัว ณ เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2008 การลดลงเกิดจากการดักจับและการตัดไม้ โดยเฉพาะการทำลายป่าชายเลน (Avicennia apiculata) และต้นปอแคปอค[17]
อุทยานแห่งชาติหลายแห่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกชนิดนี้ รวมถึงอุทยานแห่งชาติราวาเอาโอปา วาตูโมไฮ บนเกาะสุลาเวสี อุทยานแห่งชาติโคโมโด บนเกาะโคโมโด อุทยานแห่งชาติมานูเปว ตานะห์ดารู และอุทยานแห่งชาติลายวังกี บนเกาะซุมบา และอุทยานแห่งชาตินิโน โคนิส ซานตานา ในติมอร์-เลสเต[16]
ประชากรที่ถูกนำเข้า
มีประชากรชนิดพันธุ์ที่ถูกนำเข้าของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองในฮ่องกง โดยมีการประมาณว่าประชากรนกกระตั้วที่อยู่ในธรรมชาติของฮ่องกงมีประมาณ 200 ตัว ซึ่งคิดเป็น 10% ของประชากรนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองทั้งหมดในป่า[18] นกชนิดนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในพื้นที่หนาแน่นทั้งสองฝั่งของท่าเรือ และสังเกตเห็นได้ง่ายในป่าและสวนสาธารณะทางตอนเหนือและตะวันตกของเกาะฮ่องกง กลุ่มนกขนาดใหญ่เหล่านี้เกิดจากนกเลี้ยงที่ถูกปล่อยออกสู่ธรรมชาติในพื้นที่ฮ่องกงมานานหลายปี[19] เรื่องเล่าที่มักถูกกล่าวถึงคือผู้ว่าการฮ่องกง มาร์ก แอตชิสัน ยัง ได้ปล่อยนกทั้งหมดของทำเนียบรัฐบาล ซึ่งรวมถึงนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองจำนวนมาก ก่อนการยอมแพ้ฮ่องกงต่อทหารญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม 1941 เพียงไม่กี่ชั่วโมง[20] นักประวัติศาสตร์และนักชีววิทยาอนุรักษ์ในฮ่องกงไม่พบหลักฐานใด ๆ ที่ยืนยันเรื่องนี้ และเชื่อว่าประชากรนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองในฮ่องกงมาจากนกเลี้ยงที่หลบหนี รายงานครั้งแรกของนกกระตั้วเล็กหงอนเหลืองที่หลบหนีมาจากปี 1959[21]
ดูเพิ่ม
โคกี (นกกระตั้ว)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 BirdLife International (2018). "Cacatua sulphurea". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T22684777A131874695. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22684777A131874695.en. สืบค้นเมื่อ 13 November 2021.
- ↑ "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
- ↑ Yellow-crested and sulphur-crested cockatoo on Flickr - Photo Sharing!
- ↑ 4.0 4.1 Alderton, David (2003). The Ultimate Encyclopedia of Caged and Aviary Birds. London, England: Hermes House. p. 204. ISBN 1-84309-164-X.
- ↑ Albin, Eleazar; Derham, William (1738). A Natural History of Birds : Illustrated with a Hundred and One Copper Plates, Curiously Engraven from the Life. Vol. 3. London: Printed for the author and sold by William Innys. p. 12; Plate 12.
- ↑ Brisson, Mathurin Jacques (1760). Ornithologie, ou, Méthode Contenant la Division des Oiseaux en Ordres, Sections, Genres, Especes & leurs Variétés (ภาษาFrench และ Latin). Vol. 4. Paris: Jean-Baptiste Bauche. pp. 206–209, No. 9.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) The two stars (**) at the start of the section indicates that Brisson based his description on the examination of a specimen.
- ↑ Edwards, George (1764). Gleanings of Natural History, Exhibiting Figures of Quadrupeds, Birds, Insects, Plants &c. Vol. 3. London: Printed for the author. pp. 230–231, Plate 317.
- ↑ Buffon, Georges-Louis Leclerc de (1779). "Le Kakatoës à huppe jaune". Histoire Naturelle des Oiseaux (ภาษาFrench). Vol. 6. Paris: De l'Imprimerie Royale. pp. 93–95.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ Buffon, Georges-Louis Leclerc de; Martinet, François-Nicolas; Daubenton, Edme-Louis; Daubenton, Louis-Jean-Marie (1765–1783). "Petit Kakatoes à hupe jaune". Planches Enluminées D'Histoire Naturelle. Vol. 1. Paris: De L'Imprimerie Royale. Plate 14.
- ↑ Gmelin, Johann Friedrich (1788). Systema naturae per regna tria naturae : secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis (ภาษาLatin). Vol. 1, Part 1 (13th ed.). Lipsiae [Leipzig]: Georg. Emanuel. Beer. pp. 330–331.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ Peters, James Lee, บ.ก. (1937). Check-List of Birds of the World. Vol. 3. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 175.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (January 2023). "Parrots, cockatoos". IOC World Bird List Version 13.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 22 February 2023.
- ↑ Collar, N.J.; Marsden, S.J. (2014). "The subspecies of Yellow-crested Cockatoo (Cacatua sulphurea)" (PDF). Forktail. 30: 23–27.
- ↑ "Species Updates IOC Version 13.2". IOC World Bird List. สืบค้นเมื่อ 20 July 2023.
- ↑ "CITES proposal" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-10-07.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 http://www.birdlife.org/datazone/search/species_search.html?action=SpcHTMDetails.asp&sid=1398&m=0
- ↑ "Project Bird Watch / Indonesian Parrot Project - How You Can Help". October 1, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-10-24.
- ↑ Wu, Venus (8 May 2019). "How an endangered cockatoo took over Hong Kong". Goldthread. South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
- ↑ Zabrina Lo (3 July 2019). "The foreign origins and uncertain future of Hong Kong's cockatoos". Zolima Citymag. สืบค้นเมื่อ 15 August 2021.
- ↑ HK Magazine Friday, February 18th 2005, pp6-7
- ↑ Elegant, Naomi Xu (2021-09-24). "Could Hong Kong's Fugitive Cockatoos Save the Species?". Atlas Obscura (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-28.
แหล่งข้อมูลอื่น