ธิดาฮิเมตาตาไรซูซุ

ธิดาฮิเมตาตาไรซูซุ
จักรพรรดิจิมมุกับธิดาฮิเมตาตาไรซูซุจาก "นิฮงโคกูเซเรียคิ" เล่มแรกของอูตางาวะ คูนิโยชิ
จักรพรรดินีญี่ปุ่น
ดำรงพระยศ660–581 ปีก่อน ค.ศ.
พระพันปีหลวงญี่ปุ่น
ดำรงพระยศแต่งตั้ง 581 ปีก่อน ค.ศ.
คู่อภิเษกจักรพรรดิจิมมุ
พระราชบุตร
พระราชบิดา
พระราชมารดา
ศาสนาชินโต

ธิดาฮิเมตาตาไรซูซุ (ญี่ปุ่น: ヒメタタライスズヒメโรมาจิHimetataraisuzu-hime; หนังสือเขียนเป็น ญี่ปุ่น: 媛蹈鞴五十鈴媛[1][2][a]) เป็นเทพีญี่ปุ่น บุคคลในตำนานจากนิฮงโชกิ (พงศาวดารญี่ปุ่น) จักรพรรดินีญี่ปุ่นองค์แรก และพระมเหสีองค์แรกของจักรพรรดิจิมมุ[4]

แม้ว่ามีรายละเอียดหลายแบบ พระบิดามารดาของพระนางได้รับการอธิบายเป็นสตรียามาโตะผู้มีอิทธิพลและคามิ กล่าวกันว่าพระนางสมรสกับจักรพรรดิจิมมุและให้กำเนิดจักรพรรดิซูอิเซ จักรพรรดิองค์ที่ 2[5][2]

การพรรณาในโคจิกิและนิฮงโชกิ

พระราชสมภพ

โคจิกิรายงานว่า เมื่อคามูยามาโตะ-อิวาเรบิโกะ (มีอีกพระนามว่าจักรพรรดิจิมมุ) ทรงค้นหาพระมเหสี มีผู้พูดถึงสตรีนามว่า เซยาดาตาราฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 勢夜陀多良比売โรมาจิSeyadatarahime) ผู้ให้กำเนิดธิดาหลังโอโมโนนูชิทำให้นางตั้งครรภ์ โอโมโนนูชิแปลงร่างเป็นลูกศรสีแดงแล้วแทงไปที่อวัยวะเพศของเซยาดาตาราฮิเมะในขณะที่เธอกำลังถ่ายอุจจาระอยู่ในคูน้ำ อิวาเรบิโกะเกี้ยวพานลูกสาวคนนี้ที่มีนามว่า โฮโตตาตาระ-อิซูซูกิฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 富登多多良伊須須岐比売โรมาจิHototatara-Isusukihime; มีอีกพระนามว่า ฮิเมตาตาระ-อิซูเกโยริฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 比売多多良伊須気余理比売โรมาจิHimetatara-Isukeyorihime) รูปแผลงจากชื่อที่ละศัพท์ที่เป็นข้อห้ามว่า โฮโตะ ญี่ปุ่น: ホトโรมาจิhoto; "อวัยวะเพศ") และนำเธอเป็นภริยา[6][7][8][4]

เรื่องเล่าหลักของนิฮงโชกิเล่มแรกในช่วงแรกบรรยายถึงธิดาฮิเมตาตาไรซูซุว่าเป็นลูกหลานเทพเจ้าแห่งโอโมโนนูชิเหมือนกับโคจิกิ อย่างไรก็ตาม นิฮงโชกิยังมีรายละเอียดเรื่องราวอีกแบบที่ระบุพระนางเป็นบุตรีแห่งเทพโคโตชิโรนูชิ (ญี่ปุ่น: 事代主神โรมาจิKotoshironushi) กับเทพีมิโซกูฮิฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 溝樴姫โรมาจิMizokuhihime) - มีอีกพระนามว่า ทามากูชิฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 玉櫛姫โรมาจิTamakushihime) - โดยตั้งครรภ์หลังโคโตชิโรนูชิแปลงกายตนเองเป็นวานิขนาดมหึมาและมีเพศสัมพันธ์กับองค์เทพี[9] เช่นเดียวกับเรื่องเล่าหลักในนิฮงโชกิเล่มที่ 3 และ 4 ที่กล่าวถึงพระนางเป็นพระธิดาในโคโตชิโรนูชิแทนที่จะเป็นโอโมโนนูชิ[10][11]

ที่พำนักของพระนางอยู่ที่แม่น้ำไซ ใกล้ศาลเจ้าไซ-จินจะ ใกล้เขามิวะ[12]

สมรสกับจักรพรรดิจิมมุ

อ้างอิง

หมายเหตุ

  1. พระนางได้รับการเรียกขานด้วยพระนามและรูปสะกดหลายแบบ รวมถึง ธิดาอิซูเกโยริ (ญี่ปุ่น: ヒメタタライスケヨリヒメโรมาจิIsukeyori-hime)[3][4]

อ้างอิง

  1. 第2版,世界大百科事典内言及, 日本大百科全書(ニッポニカ),ブリタニカ国際大百科事典 小項目事典,デジタル版 日本人名大辞典+Plus,精選版 日本国語大辞典,旺文社日本史事典 三訂版,百科事典マイペディア,デジタル大辞泉,世界大百科事典. "神武天皇とは". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-01-13.
  2. 2.0 2.1 "Japanese God Name Dictionary" p320 "Himetataraisuzu Himetataraisuzu" 『日本神名辞典』p320「比売多多良伊須気余理比売」
  3. "Encyclopedia of Shinto". Digital Museum. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-17. สืบค้นเมื่อ 13 November 2023.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Encyclopedia of Shinto - Home : Kami in Classic Texts : Isukeyorihime". 2015-06-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2023-03-21.
  5. Illustrated Chronicle of the Emperors of Japan, p.37-41, "Emperor Jimmu".
  6. Philippi, Donald L. (2015). Kojiki. Princeton University Press. pp. 115–117.
  7. R. A. B. Ponsonby-Fane (3 June 2014). Studies In Shinto & Shrines. Taylor & Francis. p. 412. ISBN 978-1-136-89301-8.
  8. Kadoya, Atsushi. "Ōmononushi". Encyclopedia of Shinto. Kokugakuin University. สืบค้นเมื่อ 22 September 2015.
  9. Aston, William George (1896). "Book I" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. Kegan Paul, Trench, Trübner & Co. p. 61–62  – โดยทาง Wikisource.
  10. Aston, William George (1896). "Book III" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. Kegan Paul, Trench, Trübner & Co. p. 132  – โดยทาง Wikisource.
  11. Aston, William George (1896). "Book IV" . Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. Kegan Paul, Trench, Trübner & Co. p. 138  – โดยทาง Wikisource.
  12. "An Encounter on the Sai River". www3.pref.nara.jp. สืบค้นเมื่อ 2023-03-04.

บรรณานุกรม

  • "Mythological Hime Tachi: Another Kojiki", Sankei Shimbun, Sankei Shimbun, 2018, ISBN 978-4-8191-1336-6
  • "Nihon no Kami Yomiwake Jiten" (An Encyclopedia of Japanese Gods), Kenji Kawaguchi/editor, Kashiwa Shobo, 1999, 2009 (9th printing), ISBN 4-7601-1824-1
  • "Kojiki to Nihon no Kami ga Kunderu Hon" (The Book of Ancient Matters and Understanding Japanese Gods), Kunihiro Yoshida, Gakken Publishing, 2015, ISBN 978-4-05-406340-2
  • "Illustrated Chronicle of the Emperors of the Rekishi", Edited by Masao Mitobe, Kazuo Higo, Shizuko Akagi, Shigetaka Fukuchi, Akita Shoten, 1989, ISBN 4-253-00297-8
  • "Genealogical Compilation", New Edition, Vol. 1, Upper Section, Divine Emperors (1), edited by Yotohiko Iwasawa, Meisho Shuppan, 1996, ISBN 4-626-01541-7
  • "A Genealogical Directory of the Empresses of the Rekishi Era" (Bessatsu Rekishi Yomibon 24, Vol. 27, No. 29, 618), Minoru Sato (ed.), Shinninjin Oraisha, 2002
  • "Nihonjinmei Daijiten (Shin-Sen Otona-mei Jiten)" Vol.5, Kunihiko Shimonaka/editor, Heibonsha, 1938, 1979 (reprint edition)
  • "Nihon Josei Jinmei Jiten (Dictionary of Japanese Women's Biographies), Popular Edition", edited by Noboru Haga, Yasuko Ichibanghase, Kuni Nakajima, Koichi Soda, Japan Book Center, 1998, ISBN 4-8205-7881-2
  • "Dictionary of Japanese Historical Personal Names", Nichigai Associates, 1999, ISBN 4-8169-1527-3
  • "Dictionary of Japanese Ancient Clans and Personal Names, Popular Edition", Taro Sakamoto and Kunio Hirano, Yoshikawa Kobunkan, 1990, 2010 (Popular Edition, 1st Edition), ISBN 978-4-642-01458-8
  • "Nihon Rekishi Chimei Taikei 30 Nara-ken no Chimei" (Japanese Historical Chimei Compendium 30), Heibonsha, 1981.
  • "Kadokawa Japanese Dictionary of Geographical Names 29: Nara Prefecture", Kadokawa Japanese Dictionary of Geographical Names Compilation Committee, Rizo Takeuchi, editor, Kadokawa Shoten, 1990, ISBN 4-04-001290-9

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!