ธนบัตร 1000 บาท

1000 บาท
(ประเทศไทย)
มูลค่า1000.00 บาท
ความกว้าง162 มม.
ความสูง72 มม.
องค์ประกอบเพื่อความปลอดภัยลายน้ำ, ลายเส้นนูน, ภาพซ้อนทับ, ตัวเลขแฝง, อักษรเบรลล์, หมึกพิมพ์พิเศษ, แถบสี, แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ, หมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง, กลุ่มดาวยูไรอัน
วัสดุที่ใช้กระดาษใยฝ้าย
ปีที่พิมพ์2445 – 2486, 2535 – ปัจจุบัน
ด้านหน้า
การออกแบบพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารอากาศ
วันที่ออกแบบ2560
ด้านหลัง
การออกแบบพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นเสด็จพระราชดำเนินเยือนจังหวัดนครพนมทรงรับดอกบัวจากหญิงชรา ตุ้ม จันทนิตย์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ครั้นเสด็จพระราชดำเนินทรงงาน ณ จังหวัดนราธิวาส
วันที่ออกแบบ2560

ธนบัตร 1000 บาท (อังกฤษ: 1000 Baht Banknotes) เป็นธนบัตรหมุนเวียนในสกุลเงินบาท เริ่มออกใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ธนบัตร 1000 บาทที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นธนบัตรไทยแบบที่ 15, 16 และ 17

ธนบัตรรุ่นปัจจุบันและรายละเอียด

ธนบัตรที่มีการใช้หมุนเวียนในปัจจุบันประกอบด้วย ธนบัตรรูปแบบ 15, 16, 17 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แบบ 17

แบบ 16

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1,000 บาทแบบ 16 [1] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558 [2]

สพหรับธนบัตรแบบ 16 รุ่นที่ 3 นั้นวันประกาศออกใช้คือ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และ วันจ่ายแลก : 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แบบ 15

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 15 รุ่นที่ 1[3] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[4]

สำหรับธนบัตรแบบ 15 รุ่นที่หนึ่ง วันประกาศออกใช้คือ 1 กันยายน พ.ศ. 2542และ วันจ่ายแลกคือ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

และสำหรับธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 15 รุ่นที่ 2 แบบปรับปรุง เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร[5] ประกาศออกใช้ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[6]

รุ่นที่สอง แบบปรับปรุง เพิ่มฟอยล์สีเงินด้านหน้าธนบัตร
  • วันประกาศออกใช้ : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
  • วันจ่ายแลก : 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548

แบบ 14

แบบ 6 ถึง 13

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 6 ถึง 13 มาใช้

ธนบัตร 1000 แบบ 9 ได้ถูกสั่งพิมพ์ขึ้นในปี 2492 โดยกระทรวงการคลังอนุมัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการจ้างบริษัทโทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษให้ดำเนินการพิมพ์ และบริษัทฯ ได้จัดส่งธนบัตรมายังประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2495 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้เสนอเรื่องการออกประกาศใช้ไปยังกระทรวงการคลัง แต่เนื่องจากมีกระแสคัดค้านจากหลายฝ่ายซึ่งเกรงว่าอาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และพ่อค้าจะฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า อันอาจจะส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชน ในที่สุดกระทรวงการคลังจึงมิได้นำธนบัตรชนิดราคา 1000 บาทนี้ออกใช้และได้ทำลายไปเป็นส่วนใหญ่ในภายหลัง

ธนบัตร 1000 บาทนี้เท่าที่พบจะเป็นธนบัตรตัวอย่าง หรือเป็นธนบัตรตัวอย่างทดลองสีซึ่งไม่มีลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แต่มีพบบางฉบับที่มีลายเซ็น พลเอก เภา ฯ และ นายเสริม วินิจฉัยกุล จึงถือว่าธนบัตรนี้ก็เป็นธนบัตรตัวอย่างเช่นกัน

แบบ 5

แบบ 4 (กรมแผนที่)

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 4 มาใช้

แบบ 4 (โทมัส)

แบบ 3

ไม่มีการออกธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท สำหรับธนบัตรแบบ 3 มาใช้

แบบ 2

  • ด้านหน้า : ภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี 12 แฉก
  • ด้านหลัง : ภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
  • เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 6

แบบ 1

  • ด้านหน้า : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
  • ด้านหลัง : เป็นธนบัตรที่พิมพ์ด้านหน้าด้านเดียว
  • เริ่มออกใช้ : สมัยรัชกาลที่ 5

ธนบัตรปัจจุบัน

ธนบัตรไทยชนิดราคา 1000 บาทแบบ 17

ธนบัตรที่ระลึก

แบบที่ระลึก

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-26.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-02.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!