ทรนง ศรีเชื้อ (เกิด: 20 มิถุนายน พ.ศ. 2495; ชื่อเดิม: สุวัฒน์ ศรีเชื้อ) ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้สร้าง และผู้เขียนบทชาวไทย
ทรนง ศรีเชื้อ เกิดในครอบครัวที่มีพ่อเป็นนายทหาร และพี่น้องที่เป็นผู้ชายล้วนแต่เป็นทหาร เริ่มต้นงานในวงการบันเทิงด้วยการเป็นช่างภาพให้กับนิตยสารเครื่องเสียงและรถยนต์ รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นผู้จัดทำและผู้เขียนหนังสือของวงคาราวาน[1]
มีผลงานกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 จากเรื่อง สัตว์สงคราม ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และหลังจากนั้นก็ได้มีผลงานมากมายทั้งภาพยนตร์แอ๊คชั่น และภาพยนตร์อีโรติก ซึ่งสำหรับภาพยนตร์อีโรติกนั้น ถือว่า เป็นภาพยนตร์แนวที่สร้างชื่อให้กับเจ้าตัวอย่างมาก เช่น กลกามแห่งความรัก 1 พ.ศ. 2532 และ กลกามแห่งความรัก 2 พ.ศ. 2534 โดยสามารถสร้างดารานำหญิง 2 คนให้มีชื่อเสียงขึ้นมาได้ คือ ดาริน กรสกุล และ ขวัญภิรมย์ หลิน
ทรนง ศรีเชื้อ ได้รับชื่อเล่นจาก ฉลอง ภักดีวิจิตร ว่า โทนี่
2022 สึนามิ วันโลกสังหาร
ผลงานกำกับเรื่อง 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร ซึ่งใช้ทุนสร้างกว่า 160 ล้านบาท ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากตั้งแต่ก่อนออกฉาย อย่างเช่นภาพโปสเตอร์ที่นำภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 มาประกอบ[2]
และหลังจากภาพยนตร์เข้าฉาย ก็ได้รับเสียงวิจารณ์ว่า ทำได้แย่ เทคนิคแย่ บทภาพยนตร์อ่อนและอีกหลาย ๆ ส่วนในเรื่อง หลายเสียงบอกว่าเห็นแค่ตัวอย่างก็ไม่อยากเข้าไปชมแล้ว[3][4] จึงทำให้เมื่อเข้าฉาย 4 วัน ทำรายได้เพียงแค่ 2 ล้านบาทเท่านั้น ทำให้ ทรนง ศรีเชื้อ ผู้สร้างและผู้กำกับเครียดจนถึงพยายามจะฆ่าตัวตายโดยอ้างว่า ลงทุนและตั้งใจกับภาพยนตร์เรื่องนี้มากเพื่อที่จะเตือนภัยคนกรุงเทพ แต่กลับไม่มีใครสนใจ แต่บางส่วนก็เชื่อว่าเป็นความพยายามที่จะสร้างกระแสเพื่อโปรโมต[5]
ต่อมา ในต้นปี พ.ศ. 2553 ได้มีการฟ้องร้องเรื่องการว่าจ้างให้โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อฝ่ายที่ถูกทรนงว่าจ้างให้โฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเผยว่า ได้รับเงินค่าจ้างยังไม่ครบ เมื่อนำเช็คที่ทางทรนงจ่ายให้ไปก่อนไปขึ้นเงิน ก็ปรากฏว่าเช็คเด้ง จึงออกมาฟ้องร้อง[6]
ผลงานกำกับ
- พ.ศ. 2523 - สัตว์สงคราม (รางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2528 - กัมพูชา (รางวัลเพลงประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากมหกรรมภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิคที่ประเทศญี่ปุ่น และรางวัลตุ๊กตาทองเพลงประกอบยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2531 - อุบัติโหด (รางวัลตุ๊กตาทองบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2532 - กลกามแห่งความรัก (รางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2534 - มาม่าซัง (กลกามแห่งความรักภาค 2)
- พ.ศ. 2541 - ระย้า (ละครโทรทัศน์ทางช่อง 7)
บทภาพยนตร์
- พ.ศ. 2531 - อุบัติโหด (รางวัลตุ๊กตาทองบันทึกเสียงยอดเยี่ยม และตัดต่อยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2532 - กลกามแห่งความรัก (รางวัลตุ๊กตาทองบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม)
- พ.ศ. 2534 - มาม่าซัง (กลกามแห่งความรักภาค 2)
บทโทรทัศน์
ผลงานแสดงภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง
โปรดิวเซอร์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น