ถ้ำมั่วเกา (จีน: 莫高窟; พินอิน: mò gāo kū, มั่วเกาคู) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในอดีตเป็นหนึ่งในจุดค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สำคัญในเส้นทางสายไหม ภายในถ้ำงดงามด้วยพุทธศิลป์จีนทั้งพระพุทธรูป และจิตรกรรมฝาผนัง ที่มีอายุกว่า 1,000 ปี ปัจจุบันได้ร่วมกันลงทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
ถ้ำมั่วเกาพร้อมด้วยถ้ำหลงเหมิน และถ้ำยฺหวินกัง เป็นที่ที่รู้จักกันดีในจีนในฐานะเป็นแหล่งที่มีปฏิมากรรมโบราณอันงดงาม
มรดกโลก
ถ้ำมั่วเกาได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 เมื่อปี พ.ศ. 2530 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
- (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
- (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตาม กาลเวลา
- (vi) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
อ้างอิง
|
---|
ทางวัฒนธรรม | | |
---|
ทางธรรมชาติ | |
---|
แบบผสม | |
---|
หมายเหตุ: ใช้ชื่อตามที่ได้เสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก |