ทางหลวงชนบท |
---|
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย |
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลจังหวัดเพชรบุรี |
|
ความยาว | 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์) |
---|
|
ปลายทางทิศเหนือ | ทล.35 ใน อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม |
---|
ปลายทางทิศใต้ | จ.ระนอง |
---|
|
ประเทศ | ไทย |
---|
|
---|
|
|
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย[1] หรือ รอยัลโคสต์[2] (อังกฤษ: The Royal Coast) หรือ ไทยแลนด์ริเวียร่า[2] (อังกฤษ: Thailand Riviera) เป็นโครงข่ายถนนเลียบอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันตก ระยะแรกประกอบไปด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง[3]
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเล (Scenic Route)[4] ของกรมทางหลวงชนบท
ประวัติ
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ไทยแลนด์ริเวียร่า เริ่มต้นดำเนินการปรับปรุงและก่อสร้างสายทางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552[5] จนกระทั่งโครงการดังกล่าวได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561[6] มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและกระจายรายได้จากเมืองหลักสู่เมืองรองที่อยู่แนวชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก 4 จังหวัด คือ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเทียบเท่าในต่างประเทศได้ โดยใช้ชื่อโครงการว่า ไทยแลนด์ริเวียร่า เนื่องจากต้องการยกระดับให้เทียบเท่ากับเมืองชายทะเลอย่างในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี[2]
ถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย มีความสำคัญในการขนส่งทางบกเพื่อใช้เลี่ยงการจราจรติดขัดในถนนเพชรเกษม ช่วงแยกวังมะนาว-เพชรบุรี และเพชรบุรี-ชะอำ หลังจากโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-ชะอำ (มอเตอร์เวย์อ่าวไทย) ได้ล้มเลิกไป กรมทางหลวงชนบทจึงได้เข้าฟื้นฟูถนนสายนี้เพื่อใช้เป็นทางท่องเที่ยวเลี่ยบอ่าวไทย
สำหรับแผนโดยรวมของโครงการ หากโครงการเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จะมีจุดเริ่มต้นของโครงการตั้งแต่จังหวัดสมุทรปราการ เลาะไปตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ไปไปจนถึงจังหวัดนราธิวาส มีระยะทางรวมประมาณ 1,500 กิโลเมตร[7][1]
แผนพัฒนา
กรมทางหลวงชนบท มีแผนที่พัฒนาแนวเส้นทางถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย จุดเริ่มต้นตั้งแต่ จังหวัดสมุทรสงคราม ไปสิ้นสุดยังจังหวัดนราธิวาส แบ่งออกเป็น 4 ระยะ[8] ประกอบไปด้วย
- ระยะที่ 1 ช่วงระหว่างจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร มีระยะทางประมาณ 514.616 กิโลเมตร แบ่งเป็น 42 โครงการ ดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2562 - 2566
- ระยะที่ 2 ช่วงระหว่างจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา อยู่ระหว่างการทบทวนแนวของเส้นทาง และศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2565 - 2570
- ระยะที่ 3 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
- ช่วงที่ 1 ช่วงระหว่างจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม (3 สมุทร) อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจออกแบบและศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2567 - 2571
- ช่วงที่ 2 ช่วงระหว่างจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ตะนาวศรี) อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจออกแบบและศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2567 - 2571
- ระยะที่ 4 ช่วงระหว่างจังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส อยู่ระหว่างการดำเนินการสำรวจออกแบบและศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในปี พ.ศ. 2566 - 2567 และจะดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2569 - 2573
เส้นทางระยะที่ 1
สำหรับเส้นทางระยะที่ 1 ช่วงระหว่างจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชุมพร ประกอบไปด้วย
ช่วงจังหวัดสมุทรสงคราม
ทางหลวงชนบท สส.2021
สส.2021 ทางหลวงชนบท สส.2021 (แยก ทล. 35 (กม.ที่ 73+200) - ชะอำ) มีจุดเริ่มต้นที่ ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระรามที่ 2) หลักกิโลเมตรที่ 73+200 ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ลงมาทางทิศใต้ ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำบางตะบูน เข้าสู่อำเภอบ้านแหลม ผ่านอำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และสิ้นสุดที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีระยะทางทั้งสิ้น 80.600 กิโลเมตร[9] และเชื่อมต่อกับถนนท้องถิ่นบริเวณเทศบาลเมืองชะอำ
ทางหลวงชนบท สส.2021 แบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนสมุทรสงคราม มีระยะทาง 10.900 กิโลเมตร อยู่ในการดูแลของ แขวงทางหลวงชนบทสมุทรสงคราม สำนักทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี) และตอนเพชรบุรี มีระยะทาง 69.700 กิโลเมตร อยู่ในการดูแลของ แขวงทางหลวงชนบทชะอำ สำนักทางหลวงชนบทที่ 4 (เพชรบุรี)[9]
สายทางของทางหลวงชนบท สส.2021 มีการรวมเอาสายทางในอดีตมาเป็นส่วนหนึ่งของสายทาง[10] ประกอบไปด้วย
- ทางหลวงชนบท ชพ.4012 (บ้านแหลม-ปากอ่าวบางตะบูน)[10]
- ทางหลวงชนบท พบ.4028 (บ้านแหลม-หาดเจ้าสำราญ)[10]
- ทางหลวงชนบท พบ.4033 (หาดเจ้าสำราญ-ชะอำ)[10]
ช่วงจังหวัดเพชรบุรี
ถนนศรีสกุลไทย
ถนนศรีสกุลไทย ถนนท้องถิ่นเทศบาลเมืองชะอำ เชื่อมต่อจาก ทางหลวงชนบท สส.2021
ช่วงประจวบคีรีขันธ์
ถนนสายบ้านหนองบัว – บ้านเขากะโหลก
ถนนสายบ้านหนองบัว – บ้านเขากะโหลก มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีการปรับปรุงช่วงสั้น ๆ ที่ขนานไปกับทะเลบริเวณหาดเขากะโหลก ระยะทาง 2.979 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 32.800 ล้านบาท[11]
ถนนสายบ้านหนองแขมน้อย – บ้านหนองข้าวเหนียว – บ้านพุน้อย
ถนนสายบ้านหนองแขมน้อย – บ้านหนองข้าวเหนียว – บ้านพุน้อย มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[12]
ทางหลวงชนบท ปข.1042
ปข.1042 ทางหลวงชนบท ปข.1042 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (กม.ที่ 286+000) - บ้านหินเทิน เป็นส่วนหนึ่งของถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เพื่อเชื่อมต่อกับแนวการค้าชายแดนด้านด่านสิงขร ระยะทางรวม 38.503 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการปรับปรุงไปแล้ว 5 กิโลเมตร[13]
ช่วงจังหวัดชุมพร
ประกอบด้วยสายทาง 14 สายทาง ระยะทางรวมประมาณ 200 กิโลเมตร
ทางหลวงชนบท ชพ.4012
ชพ.4012 ทางหลวงชนบท ชพ.4012 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4198-เทศบาลปากน้ำหลังสวน) มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระยะทาง 23.589 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 195.478 ล้านบาท[14][15]
ทางหลวงชนบท ชพ.4008
ชพ.4008 ทางหลวงชนบท ชพ.4008 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4001-บ้านโพธิ์แบะ) มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ระยะทางรวม 24.569 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 180.780 ล้านบาท[15][16]
ทางหลวงชนบท ชพ.4011
ชพ.4011 ทางหลวงชนบท ชพ.4011 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4003 (กม.ที่ 14+350) - บ้านท้องเกร็ง) มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ระยะทาง 9.085 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 55.900 ล้านบาท[15]
ทางหลวงชนบท ชพ.4019
ชพ.4019 ทางหลวงชนบท ชพ.4019 (สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4002 (กม.ที่ 13+100) - บ้านแหลมสันติ) มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอหลังสวน อำเภอละแม จังหวัดชุมพร ระยะทาง19.891 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 172.082 ล้านบาท[15]
ข้อสังเกต
หลักกิโลเมตรในสายทาง แสดงให้เห็นหลักกิโลเมตรในเส้นทาง ชพ.4008 ใช้อักษรรหัสสายทางว่า สส.2021 พร้อมกับหมายเลขกิโลเมตรที่ 4xx[16]
เส้นทางระยะที่ 2
สำหรับเส้นทางระยะที่ 2 ช่วงระหว่างจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ประกอบไปด้วย
ช่วงจังหวัดสงขลา
ทางหลวงชนบท สข.4009
สข.4009 ทางหลวงชนบท สข.4009 (แยก ทล.4083 - บ้านกระแสสินธุ์) มีสายทางอยู่ในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ระยะทาง 10.655 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 124 ล้านบาท คาดว่าจะเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566[17]
เส้นทางระยะที่ 3
สำหรับเส้นทางระยะที่ 3 ได้มีการประชุมหารืออยู่ระหว่างการศึกษาโครงการ
ดูเพิ่ม
โครงข่ายถนนเลียบชายฝั่งทะเล
อ้างอิง