กองทูล เป็นตำบลในอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นที่ตั้งของวัดธรรมเสมาซึ่งมีปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ องค์เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์โบราณ หรือที่เรียกว่า "เจดีย์ลอย" ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตำบลกองทูล มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาเฉลียง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลท่าแดง
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเพชรละคร
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบัววัฒนา และตำบลหนองไผ่
ประวัติ
ประวัติตำบลกองทูล ไม่ปรากฏเป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่จากการสอบถามคนเฒ่า คนแก่ได้ให้ความเห็นว่าบ้านกองทูลเป็นบ้านเก่าแก่ ตั้งแต่เมืองศรีเทพเจริญรุ่งเรือง และมีขอมปกครองสร้างศิลปวัฒนธรรมมากมาย สมัยนั้นหมู่บ้านกองทูลได้รับแต่งตั้งให้เป็นตำบล ซึ่งเป็นที่ต้อนรับและพักระหว่างการเดินทางไปยังเมืองเพชรบูรณ์ มีเส้นทางจากอำเภอวิเชียรบุรีผ่านมาตำบลกองทูลจะขึ้นอยู่กับอำเภอวิเชียรบุรี และก็ได้มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็คือ เจ้าเมืองเล็งที่ครองเมืองวิเชียรบุรี มีลูกชายจะมาสู่ขอและแต่งงานกับลูกสาวของเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงเดินทางมาสู่ขอและทาบทามกันแต่ยังเดินทางไปไม่ถึงตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้พักค้างคืนที่ตำบลกองทูลก่อน จึงปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการแต่งงานของฝ่ายเจ้าบ่าวและฝ่ายเจ้าสาวไม่เรียกค่าสินสอด แต่ทั้งสองฝ่ายได้นำเงินมากองรวมกันเรียกว่า "กองทุน" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเสียงเรียกกันเป็น "กองทูล" และก็ได้ใช้ชื่อว่า กองทูล มาจนถึงปัจจุบัน[3]
ต่อมาสิบตำรวจเอกสมัคร มงคลกิติ (ยศในขณะนั้น) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสายตรวจเดินทางไปปราบโจรผู้ร้ายที่อำเภอวิเชียรบุรีซึ่งมีตำบลกองทูล ตำบลบ้านโภชน์ ตำบลกันจุเป็นเขตการปกครอง เนื่องจากเส้นทางเป็นทางเดินเท้าหรือใช้ม้าได้เท่านั้น ทำให้การปราบปรามโจรผู้ร้ายไม่ค่อยได้ผล จึงได้ปรึกษาคณะกรรมการท้องถิ่นซึ่งมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและครูในเขตตำบลกองทูลชี้แจงปัญหากับจังหวัดให้จะตั้งกิ่งอำเภอขึ้น และเห็นว่าตำบลกองทูลเป็นพื้นที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอำเภอเมืองเพชรบูรณ์และอำเภอวิเชียรบุรี ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2503 จึงประกาศแยก 3 ตำบลขึ้นเป็น กิ่งอำเภอหนองไผ่[4] โดยตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอ ณ บ้านหนองไผ่ ตำบลกองทูล โดยมีนายสมบูรณ์ อมรบุตร เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหนองไผ่คนแรก เปิดใช้ที่ว่าการกิ่งอำเภอในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504[5]
ในปี พ.ศ. 2505 ทางราชการได้โอนพื้นที่กิ่งอำเภอหนองไผ่ ของอำเภอวิเชียรบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ พื้นที่ตำบลกองทูลจึงย้ายไปขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์[6] ก่อนที่กิ่งอำเภอหนองไผ่จะแยกเป็นเอกเทศออกจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ในปี พ.ศ. 2506[7] และในปี พ.ศ. 2507 หมู่บ้านหนองไผ่ ในเขตตำบลกองทูล เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจ มีตลาดเป็นที่ประชุมชนและมีความเจริญมากขึ้น จึงมีการตั้งสุขาภิบาลหนองไผ่[8] ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ชุมชนไปตามแนวถนนคชเสนีย์
ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532 ทางราชการได้เห็นว่าหมู่บ้านหนองไผ่มีขนาดใหญ่ และเป็นที่ตั้งศูนย์ราชการ ควรแยกตำบลเป็นเอกเทศออกจากตำบลกองทูล เพื่อให้ชื่อตำบลตรงกับที่ตั้งของท้องที่อำเภอ จึงแยกหมู่ที่ 4 กับ หมู่ 7 บ้านหนองไผ่, หมู่ 6 บ้านเนินมะกอก, หมู่ 8 บ้านคลองศรีเทพ, หมู่ 9 บ้านคลองยาง, หมู่ 12 บ้านสะพานกลางดง, หมู่ 16 บ้านลำพาด, หมู่ 17 บ้านพงษ์เพชร, หมู่ 18 บ้านหนองไผ่ใต้ รวม 10 หมู่บ้าน ตั้งเป็น ตำบลหนองไผ่[9] ตำบลกองทูลจึงเหลือพื้นที่เพียง 8 หมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
ตำบลกองทูลแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1
|
|
บ้านวังชงโค
|
|
(Ban Wang Chongkho)
|
|
|
หมู่ 2
|
|
บ้านกองทูล
|
|
(Ban Kong Thun)
|
|
|
หมู่ 3
|
|
บ้านกองทูล
|
|
(Ban Kong Thun)
|
|
|
หมู่ 4
|
|
บ้านน้ำเขียว
|
|
(Ban Nam Khieo)
|
|
|
หมู่ 5
|
|
บ้านเนินมะเกลือ
|
|
(Ban Noen Makluea)
|
|
|
หมู่ 6
|
|
บ้านท่าทอง
|
|
(Ban Tha Thong
|
|
|
หมู่ 7
|
|
บ้านเนินพัฒนา
|
|
(Ban Noen Phatthana)
|
|
|
หมู่ 8
|
|
บ้านหนองบัวทอง
|
|
(Ban Nong Bua Thong)
|
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่ตำบลกองทูล มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกองทูลทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลกองทูล ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516[10] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[11] จนถึงปัจจุบัน
ประชากร
พื้นที่ตำบลกองทูลประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,297 คน แบ่งเป็นชาย 2,131 คน หญิง 2,166 คน (เดือนธันวาคม 2565)[12] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอหนองไผ่
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน
|
พ.ศ. 2565[13]
|
พ.ศ. 2564[14]
|
พ.ศ. 2563[15]
|
พ.ศ. 2562[16]
|
พ.ศ. 2561[17]
|
พ.ศ. 2560[18]
|
พ.ศ. 2559[19]
|
เนินพัฒนา
|
894
|
904
|
904
|
904
|
904
|
895
|
886
|
กองทูล (หมู่ 2)
|
558
|
566
|
581
|
578
|
589
|
598
|
595
|
วังชงโค
|
548
|
546
|
555
|
554
|
558
|
553
|
549
|
น้ำเขียว
|
542
|
541
|
543
|
542
|
550
|
541
|
550
|
กองทูล (หมู่ 3)
|
515
|
522
|
525
|
518
|
517
|
524
|
531
|
เนินมะเกลือ
|
465
|
462
|
461
|
454
|
461
|
458
|
454
|
หนองบัวทอง
|
451
|
452
|
443
|
442
|
436
|
438
|
442
|
ท่าทอง
|
324
|
322
|
315
|
319
|
314
|
316
|
316
|
รวม
|
4,297
|
4,315
|
4,327
|
4,311
|
4,329
|
4,323
|
4,323
|
สถานที่สำคัญ
- วัดธรรมเสมา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในบ้านกองทูล หมู่ที่ 2 ตำบลกองทูล อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระปลัด อลงกรณ์ วรธมฺโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดธรรมเสมาสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2250[20] เดิมเรียก วัดโคก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2280[21] ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัดคือ พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ องค์เจดีย์ศักดิ์สิทธิ์โบราณ ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[2] ทางวัดยังมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายกลบธาตุ เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองเพชรบูรณ์ที่ได้จัดให้มีขึ้นทุกปีในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันตรุษไทยและเพื่อทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
อ้างอิง