รอธส์ไชลด์ ในภาษาอังกฤษ หรือ โรธชิลด์ ในภาษาเยอรมัน เป็นตระกูลอภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก สืบเชื้อสายมาจากไมเออร์ อัมส์เชิล โรธชิลด์ (Mayer Amschel Rothschild) ชาวยิวที่อพยพไปยังเยอรมนี และได้เริ่มจัดตั้งธนาคารขึ้นที่นั่นในทศวรรษที่ 1760 ต่อมาเขาให้บุตรชายทั้งห้าคนช่วยบุกเบิกธนาคารของครอบครัวไปยังต่างประเทศ ซึ่งตั้งสาขาอยู่ในห้านครใหญ่ได้แก่ ลอนดอน, ปารีส, ฟรังค์ฟวร์ท, เวียนนา และนาโปลี
ในศตวรรษที่ 19 ตระกูลรอธส์ไชลด์กลายเป็นครอบครัวที่ถือครองทรัพย์สินมากที่สุดในโลก ในปัจจุบันธุรกิจของตระกูลนี้มีทั้งสถาบันการเงิน, อสังหาริมทรัพย์, เหมือง, พลังงาน, ฟาร์มแบบผสม ทรัพย์สินของตระกูลรอธส์ไชลด์มีมากมายมหาศาลเกินกว่าประเมินได้ โดยอาจมีมูลค่ารวมกันถึงสี่แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยทรัพย์สินที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ทำให้เกิดเป็นทฤษฎีสมคบคิดมากมายว่าตระกูลนี้คือผู้บงการกระแสเงินและสถาบันการเงินในโลก[2][3] และบงการรัฐบาลต่างๆให้ทำสงครามหรือยุติสงครามระหว่างกัน[4] [5][6]
ตระกูลรอธส์ไชลด์เป็นผู้ปล่อยกู้แก่รัฐบาลอังกฤษในการทำสงครามกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามนโปเลียน ซึ่งในปี 1815 เพียงปีเดียวตระกูลนี้ได้ปล่อยกู้ถึง 9.8 ล้านปอนด์ (เทียบเท่าทองคำ 65 ตัน) ให้แก่ชาติพันธมิตรของอังกฤษเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจจากสงคราม[7] ตระกูลรอธส์ไชลด์ให้เงินกู้แก่บราซิลจำนวนห้าแสนเรอัล (เทียบเท่าทองคำ 1.5 ตัน) เพื่อจ่ายให้แก่โปรตุเกสเพื่อแลกกับเอกราช นอกจากนี้ยังปล่อยกู้แก่รัฐบาลอังกฤษในการขุดคลองสุเอซที่อียิปต์จำนวนสี่ล้านปอนด์ (เทียบเท่าทองคำ 25 ตัน) ในปี 1875 [8] และยังปล่อยกู้แก่ญี่ปุ่นมูลค่า 11.5 ล้านปอนด์ (เทียบเท่าทองคำ 84 ตัน) ในการทำสงครามกับรัสเซีย[9]
หลังมีส่วนในการปราบนโปเลียนในปี 1815 จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย ทรงแต่งตั้งตระกูลเป็นขุนนางยศไฟรแฮร์ และต่อมาในปี 1847 ตระกูลสาขาอังกฤษก็ได้เป็นขุนนางยศบารอน ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภัยคุกคามจากนาซีเยอรมนีทำให้ตระกูลสาขาออสเตรียซึ่งมีเชื้อสายยิวจำเป็นต้องหนีตายออกจากยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกา ธนาคารและทรัพย์สินของพวกเขาในออสเตรียถูกยึด คฤหาสน์หลายหลังในเวียนนาถูกทำลาย ในปี 1999 รัฐบาลออสเตรียตกลงที่จะส่งมอบภาพจิตรกรรมราว 250 ชิ้นคืนแก่ตระกูลซึ่งถูกยึดไปในสมัยสงคราม[10]
ในปี 2016 องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Oxfam International ประเมินว่าทรัพย์สินที่ตระกูลรอธส์ไชลด์ครอบครองอยู่มีมูลค่าราวสองล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[11]
อ้างอิง
- ↑ "Lord Rothschild: 'Investors face a geopolitical situation as dangerous as any since WW2'". Telegraph.co.uk. 4 March 2015.
- ↑ The Rough Guide to Conspiracy Theories, James McConnachie, Robin Tudge Edition: 2 – 2008
- ↑ Levy, Richard S. (2005). Antisemitism: A Historical Encyclopedia of Prejudice. ABC-CLIO. p. 624. ISBN 1-85109-439-3.
- ↑ Poliakov, Leon (2003). The History of Anti-semitism: From Voltaire to Wagner. University of Pennsylvania Press. p. 343. ISBN 0-8122-1865-5.
- ↑ Brustein, William (2003). Roots of hate. Cambridge University Press. p. 147. ISBN 0-521-77478-0.
- ↑ Perry, Marvin (2002). Antisemitism: Myth and Hate from Antiquity to the Present. Palgrave Macmillan. p. 117. ISBN 0-312-16561-7.
- ↑ The Ascent of Money: A Financial History of the World, (London 2008), page 78.
- ↑ Lionel de Rothschild and the Suez Canal[ลิงก์เสีย] The Rothschild Archive
- ↑ Smethurst, Richard. "Takahasi Korekiyo, the Rothschilds and the Russo-Japanese War, 1904–1907" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 February 2007. สืบค้นเมื่อ 4 September 2007.
- ↑ Vogel, Carol (10 April 1999). "Austrian Rothschilds Decide to Sell; Sotheby's in London Will Auction $40 Million in Art Seized by Nazis". New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 June 2013.
- ↑ Davis, Isaac (January 20, 2017). "ROTHSCHILD FAMILY WEALTH IS FIVE TIMES THAT OF WORLD'S TOP 8 BILLIONAIRES COMBINED". สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.