ดิยัน ซัซโตรวาร์โดโย |
---|
ดิยัน ซัซโตรในปี ค.ศ. 2016 |
เกิด | ดิยัน ปะรามิตะ ซัซโตรวาร์โดโย (1982-03-16) 16 มีนาคม ค.ศ. 1982 (42 ปี) จาการ์ตา อินโดนีเซีย |
---|
ชื่ออื่น | ดิยัน ซัซโตร |
---|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (ปริญญาตรีด้านปรัชญา) |
---|
อาชีพ | |
---|
ปีปฏิบัติงาน | 1989–ปัจจุบัน |
---|
คู่สมรส | เมาละนา อินดรากูนะ ซูโตโว (สมรส 2010) |
---|
บุตร | 2 |
---|
รางวัล | จิตราอวอร์ด สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม |
---|
ดิยัน ปะรามิตะ ซัซโตรวาร์โดโย (อินโดนีเซีย: Dian Paramita Sastrowardoyo) (เกิดวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1982) มักรู้จักในชื่อ ดิยัน ซัซโตร (อินโดนีเซีย: Dian Sastro) เป็นนักแสดงและนางแบบชาวอินโดนีเซีย เธอเป็นที่รู้จักในบท จินตะ ในภาพยนตร์เรื่อง อะดา อะปา เดอะงัน จินตะ? (Ada Apa Dengan Cinta?)
ชีวิตตอนต้นและการศึกษา
ดิยัน ซัซโตร เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1982 ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นบุตรสาวของอาริอาวัน ซัซโตรวาร์โดโย (ค.ศ. 1955 – ค.ศ. 1995) ผู้เป็นศิลปิน และเดวี ปาร์วะตี ซาสโตรวาร์โดโย (นามสกุลเดิม เซตะโยรินี) อาจารย์มหาวิทยาลัย ซาสโตรเดิมเกิดและนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม [1] ปู่ของเธอ ดร. สุมาร์โซโน ซัซโตรวาร์โดโย (1922–2008) เป็นแพทย์ ศัลยแพทย์ และนักเขียนหนังสือ อาของเธอ ดร. อะสะวิน วิซักโซโน ซัซโตรวาร์โดโย (เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957) เป็นนักดนตรีที่ภายหลังผันตัวมาเป็นแพทย์ [2] ปู่ของเธอยังเป็นน้องชายของทั้งซูนาริโย (ค.ศ. 1902 – ค.ศ. 1997) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียระหว่างปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1956 และ ดร. ซูกันติ ซูริโยโจนโดร (ค.ศ. 1915 – ค.ศ. 2004) อดีตอาจารย์สอนวิชาสตรีศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย และเป็นพี่ชายของ ซูบากิโย ซัซโตรวาร์โดโย (ค.ศ. 1924 – ค.ศ. 1995) กวีและนักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง โดย ซูเตโจ ซัซโตรวาร์โดโย (ค.ศ. 1878 – ค.ศ. 1967) เป็นปู่ทวดของเธอ ครอบครัวสามารถสืบเชื้อสายไปถึงศตวรรษที่ 15 นามสกุลของดิยัน ซัซโตร มาจากคำว่า ศาสตระ (จากภาษาสันสกฤต แปลว่า "งานเขียน") และ วาทยะ หรือ หฤทยะ ("หัวใจ" ดังนั้นทั้งสองคำจึงแปลว่า "งานเขียนของหัวใจ")
เธอเข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนมัธยมต้นวินเซนติอุส โอติสตา จาการ์ตา (SMP Vincentius Otista Jakarta) และเข้าศึกษามัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมปลายตะรากะนิตา 1 (SMA Tarakanita 1) จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ซึ่งเธอได้เรียนนิติศาสตร์ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะย้ายไปเรียนที่คณะวรรณกรรม และได้รับปริญญาตรีด้านปรัชญาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่คณะเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยเดียวกันนี้ โดยเรียนสาขาการจัดการการเงินเป็นวิชาเอก และได้รับปริญญาโทด้านการสาขาการจัดการ [3] เธอสำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014
อาชีพการแสดง
ดิยัน ซัซโตร เริ่มต้นอาชีพนางแบบในปี ค.ศ. 1996 ในฐานะนางแบบหน้าปกของนิตยสารกาดิส (Gadis) นิตยสารวัยรุ่นชื่อดังในอินโดนีเซีย หลังจากที่เธอชนะการประกวดนางงามวัยรุ่น กาดิสซัมปุล (Gadis Sampul) เมื่ออายุได้ 14 ปี เธอได้แสดงนำใน ปาซิร์ เบอะร์บิซิก (Pasir Berbisik) ในบทดายะ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากและได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เอเชียที่เมืองโดวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส เธอโด่งดังจากบทบาทนำในบทจินตะ ในภาพยนตร์คัลท์คลาสสิกเรื่อง อะดา อะปา เดอะงัน จินตะ? (Ada Apa Dengan Cinta?) ในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งทำรายได้ถล่มทลายไม่เฉพาะในอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมาเลเซียในอีกหนึ่งปีต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2003 จากบทบาทดังกล่าว เธอได้รับรางวัลจิตราอวอร์ด (Citra Award) สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ตั้งแต่นั้นมา เธอได้สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะนักแสดงหญิงที่มีรายได้สูงที่สุดคนหนึ่งของอินโดนีเซีย โดยแสดงในภาพยนตร์เช่น บันยุบิรุ (Banyu Biru), อุนกู วิโอเลต (Ungu Violet) และ เบอะร์ลาฮัน ยิวะ (Belahan Jiwa) รวมถึงภาพยนตร์ต่างประเทศ เช่น ปุเตอะริ กุนุง เลอะดัง (Puteri Gunung Ledang) ของมาเลเซีย
การปรากฏตัวทางโทรทัศน์อื่นๆ ได้แก่ รับบทเป็น รายะ ใน ดุนยะ ตันปะ โกมะ (Dunia Tanpa Koma) และช่วงสั้น ๆ ในฐานะพิธีกรรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ กุวิส ซูเปอร์ มิลยาร์เดอร์ ติกะ มิลยาร์ (Kuis Super Milyarder 3 Milyar) ซึ่งเป็นภาคแยกซีซั่นที่ 2 ของฮูวอนส์ทูบีอะมิลเลียนแนร์?ในเวอร์ชันอินโดนีเซีย รายการดังกล่าวออกอากาศทางช่อง ANTV [4] นอกเหนือจากอาชีพนักแสดงแล้ว เธอยังเป็นนางแบบให้กับลอรีอัลปารีสตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 อีกด้วย
ดิยัน ซัซโตร ยังเป็นทูตสันถวไมตรีสำหรับแคมเปญเยาวชนให้กับ เอ็มทีวี เอ็กซิส (MTV EXIT) ซึ่งเป็นโครงการมัลติมีเดียที่จัดทำโดยมูลนิธิ เอ็มทีวี เอ็กซิส เพื่อสร้างความตระหนักและรณรงค์การป้องกันการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานทาสยุคใหม่ผ่านกิจกรรมอีเวนต์ วิดีโอคอนเทนต์ และการมีส่วนร่วมของเยาวชน [5] เธอเป็นพิธีกรในโปรแกรมพิเศษสำหรับแคมเปญนี้ในปี ค.ศ. 2012 ในชื่อ Enslaved ซึ่งผลิตใน 13 ประเทศทั่วเอเชีย
ในปี ค.ศ. 2016 เธอกลับมารับบทเดิมใน อะดา อะปา เดอะงัน จินตะ? 2 (Ada Apa Dengan Cinta? 2) ภาคต่อภาพยนตร์ที่เคยสร้างชื่อให้กับเธอ โดยแสดงคู่กับ นิโคลัส ซะปุตรา [6]
ในปี ค.ศ. 2016 ซาสโตรรับบทเป็นวีรสตรีประจำชาติอินโดนีเซียในภาพยนตร์ดราม่าชีวประวัติเรื่อง การ์ตีนี[7] ในปี ค.ศ. 2018 ดิยันได้แสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง อารุนะ ดัน ลิดะห์ญะ (Aruna dan Lidahnya "อารุนะและช่องปากของเธอ") ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกันที่เขียนโดย ลักซะมี ปามุนจัก (Laksmi Pamuntjak) [8][9]
ในปี ค.ศ. 2020 เธอแสดงในภาพยนตร์ตลกเรื่อง เครซี่ออลซัมทีชเชอร์ (Crazy Awesome Teachers) และออกฉายทาง เน็ตฟลิกซ์
ในปี 2023 ซาสโตรแสดงในซีรีส์ทางเน็ตฟลิกซ์ซึ่งกำกับโดยกามิลา อันดินี และ อิฟา อิสฟานชะห์ เรื่อง ซิกาเร็ตเกิร์ล (Cigarette Girl) รับบทเป็น เจ็งยะห์ (Jeng Yah) ซึ่งร่วมแสดงกับ อาริโย บายุ (Ario Bayu), ปุตริ มะริโน (Putri Marino), ชาห์ อิเน เฟริยันติ (Sha Ine Febriyanti), รุกมัน โรซะดิ (Rukman Rosadi) และ ตุติ กิรานะ (Tutie Kirana) [10]
ชีวิตส่วนตัว
ดิยันซัซโตร แต่งงานกับ เมาละนา อินดรากูนะ ซูโตโว (Maulana Indraguna Sutowo) นักธุรกิจและบุตรชายของอะดิกูนะ ซูโตโซ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 [11] ทั้งคู่มีลูกสองคนคือ ไชเลนดรา นาร์ยามะ ซัซตรากูนะ ซูโตโว (เกิด 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)[12] และ อิชานะ อะริยันดรา ซูโตโว (เกิด 7 มิถุนายน ค.ศ. 2013).[13]
รางวัลและการเข้าชิงรางวัล
ปี
|
รางวัล
|
ประเภท
|
ผลงาน
|
ผลการประกาศรางวัล
|
2002
|
Deauville Asian Film Festival
|
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม
|
Pasir Berbisik
|
ชนะ
|
Singapore International Film Festival
|
ชนะ
|
Indonesian Film Festival
|
จิตราอวอร์ดสำหรับนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
Ada Apa dengan Cinta?
|
ชนะ
|
SCTV Award
|
นักแสดงหญิงยอดนิยม
|
ชนะ
|
2003
|
Hawaii International Film Festival
|
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม
|
ชนะ
|
Malaysian Film Festival
|
ชนะ
|
Festival Film Bandung
|
ชนะ
|
2005
|
MTV Indonesia Movie Awards
|
นักแสดงหญิงยอดนิยม
|
Ungu Violet
|
ชนะ
|
MTV Asia Movie Awards in Singapore
|
ชนะ
|
Asia Pacific Film Festival
|
นักแสดงหญิงที่น่าจับตามองที่สุด
|
Banyu Biru
|
ชนะ
|
2009
|
Pusan International Film Festival
|
ซิลเวอร์อวอร์ดสำหรับนักแสดงนำหญิง
|
3 Doa 3 Cinta
|
ชนะ
|
Bali International Film Festival
|
นักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยม
|
ชนะ
|
ELLE Film Magazine USA Award
|
นักแสดงหญิงแห่งปี
|
ชนะ
|
2010
|
USA Magazine Indonesia Award
|
นักแสดงหญิงยอดนิยม
|
Drupadi
|
ชนะ
|
2015
|
Maya Award
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
7/24
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
2017
|
Indonesian Film Festival
|
จิตราอวอร์ดสำหรับนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
Kartini
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
2018
|
Aruna dan Lidahnya
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
Maya Award
|
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
|
เสนอชื่อเข้าชิง
|
แหล่งอ้างอิง