ฐานบินพิษณุโลก

ฐานบินพิษณุโลก
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
พิษณุโลก
เครื่องบินแบบที-28 โทรจาน จัดแสดงอยู่บริเวณประตูทางเข้าฐานบินพิษณุโลก
แผนที่
พิกัด16°46′59″N 100°16′45″E / 16.78300°N 100.27916°E / 16.78300; 100.27916 (ฐานบินพิษณุโลก)
ประเภทฐานทัพอากาศ
ข้อมูล
ผู้ดำเนินการFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยฐานบินพิษณุโลก (พ.ศ. 2508–2515)
แผนการฐานบินพิษณุโลก (พ.ศ. 2515–2523)
กองบิน 46 (เพื่อพลาง) (พ.ศ. 2523–2525)
กองบิน 46 (พ.ศ. 2525–ปัจจุบัน)
สภาพปฏิบัติการ
เว็บไซต์wing46.rtaf.mi.th
ประวัติศาสตร์
สร้าง2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508; 59 ปีก่อน (2508-11-02)
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์กองบิน 46
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุIATA: PHS, ICAO: VTPP[1]
ความสูง145 ฟุต (44 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
14/32 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) คอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

ฐานบินพิษณุโลก[2] (อังกฤษ: Phitsanulok Air Force Base) เป็นฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[3][4]และที่ตั้งทางทหารของกองบิน 46 กองทัพอากาศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เป็นกองบินหลักในการสนับสนุนปฏิบัติการตามโครงการพระราชดำริ[5]

ประวัติ

สนามบินพิษณุโลกมีการระบุว่ามีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ประมาณปี พ.ศ. 2484 แต่ยังไม่พบเอกสารอ้างอิงแต่อย่างใดว่ามีการใช้งานในช่วงเวลาดังกล่าว

ต่อมาสนามบินพิษณุโลกได้รับการประกาศอนุญาตให้เป็นสนามบินอนุญาตเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ซึ่งสามารถนำอากาศยานขึ้นลงได้ถูกต้องตามกฎหมาย และเริ่มเปิดให้มีการเดินอากาศเชิงพาณิชย์ได้[6]

ฐานบินพิษณุโลกได้รับการสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ตามแผนยุทธการที่ให้กองบินต่าง ๆ ประสานกับหน่วยภาคพื้นดินเพื่อหาที่ตั้งฐานบินในการวางกำลังในสถานการณ์การกำเริบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งฐานบินพิษณุโลกมีภารกิจในการสนับสนุนทางอากาศในการปราบปราบผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยจัดอากาศยานมาวางกำลังในเวลานั้น ได้แก่ เครื่องบินลาดตระเวนและโจมตีแบบ โอวี-10 บรองโก จากหน่วยบิน 413, 213, 4111, เอยู-23 พีซเมกเกอร์ จากหน่วยบิน 2021, 2233 เครื่องบินโจมตีทางอากาศแบบ ดักลาส เอซี-47 จากหน่วยบิน 6231, เครื่องบินชี้เป้าทางอากาศแบบ ดักลาส ซี-47 สกายเทรน จากหน่วยบิน 7112, 7131 และเฮลิคอปเตอร์แบบ ยูเอช-1 ไอระควอย จากหน่วยบิน 3331[7]

หลังจากนั้นฐานบินพิษณุโลกได้เป็นที่ตั้งของหน่วยบินและยกฐานะเป็นแผนการฐานบินพิษณุโลกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2515 ต่อมาได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นฝูงบิน 406 ซึ่งเป็นฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามในเดือนกันยายน พ.ศ. 2520 และมีการปรับอัตราเป็นกองบิน 46 (เพื่อพลาง) ในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2523[7]

ต่อมาฐานบินพิษณุโลกได้เป็นที่ตั้งของกองบิน 46 จากการยกฐานะขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และมีการปรับภารกิจและอากาศยานประจำกองบินคือนำดักลาส ซี-47 สกายเทรนมาดัดแปลงเป็นเครื่องบินบีที-67 เมื่อปี พ.ศ. 2539 สำหรับใช้ปฏิบัติการลำเลียงทางอากาศ และภารกิจดับไฟป่า รวมถึงการปฏิบัติการฝนหลวง

บทบาทและปฏิบัติการ

กองทัพอากาศไทย

ฐานบินพิษณุโลก เป็นฐานบินหลักสำหรับกองบิน 46 กองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการพิเศษ[3]รวมถึงเป็นฐานบินปฏิบัติกิจพิเศษ[4] ซึ่งฐานบินพิษณุโลกประกอบไปด้วยเครื่องบินลำเลียง 1 ฝูงบิน คือ

และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ กองบังคับการ, แผนกการเงิน, แผนกสนับสนุนการบิน, กองเทคนิค, โรงพยาบาลกองบิน, แผนกช่างโยธา, แผนกขนส่ง, แผนกพลาธิการ, แผนกสวัสดิการ และกองร้อยทหารสารวัตร[9]

หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ใช้ฐานบินพิษณุโลกในการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง หมุนเวียนกันมาประจำการ เช่น เซสนา 208 คาราวาน และซุปเปอร์คิง แอร์ 350[10]

หน่วยในฐานบิน

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินพิษณุโลก ที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

เครื่องบินบาสเลอร์ บีที-67 จากฝูงบิน 461 จัดแสดงในงานวันเด็ก ณ ฐานบินเชียงใหม่

กองทัพอากาศ

กองบิน 46

ฐานปฏิบัติการฝนหลวง กองบิน 46[12]

  • หน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ[13]

กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

เครื่องบินฝนหลวง หมายเลข 1512 บริเวณลาดจอดเครื่องบินในฐานบินพิษณุโลก

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง

สิ่งอำนวยความสะดวก

ฐานบินพิษณุโลกเป็นฐานบินหลักของกองบิน 46 มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในกองบิน ดังนี้

ลานบิน

ฐานบินพิษณุโลกประกอบไปด้วย ทางวิ่งความยาว 3,000 เมตร (9,843 ฟุต) ความกว้าง 45 เมตร (148 ฟุต) อยู่เหนือจากระดับน้ำทะเล 145 ฟุต (44 เมตร) ทิศทางรันเวย์คือ 14/32 หรือ 143.69° และ 323.69° พื้นผิวคอนกรีตและแอสฟอลต์คอนกรีต

โรงพยาบาลกองบิน 46

โรงพยาบาลกองบิน 46 เป็นโรงพยาบาลในกองบิน 46 อยู่ภายใต้สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ กระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยเตียงผู้ป่วยขนาด 50 เตียง[14] สำหรับตรวจรักษาข้าราชการทหาร ลูกจ้าง พนักงาน ครอบครัว และประชาชนบริเวณกองบิน และดำเนินการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและเวชศาสตร์การบิน[9]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. รายชื่อสนามบินในประเทศไทย (โค้ด)
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-06-01.
  3. 3.0 3.1 "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  5. "'กองบิน 46' จัดพิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติการฝนหลวงแก้ปัญหาภัยแล้ง-ดับไฟป่า". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  6. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ 2/2497 เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาต. เล่ม 71 ตอน 83, ฉบับพิเศษ วันที่ 13 ธันวาคม 2497 หน้า 8
  7. 7.0 7.1 "ประวัติความเป็นมาของหน่วยงาน | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "ฝูงบิน 461 กองบิน 46 ได้จัดเตรียม เครื่องบินลำเลียง บ.ล.2 ก จำนวน 1 เครื่อง พร้อมนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำอากาศยาน ออกปฏิบัติภารกิจฝนหลวงและบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 ณ ฝูง 106 (อู่ตะเภา) ตั้งแต่ 23 มกราคม 2563 จนกว่าจะเสร็จภารกิจ - ที่นี่เมืองสองเเคว.com". ที่นี่เมืองสองเเคว.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 ประวัติหน่วยทหาร (ส่วนราชการในกองทัพอากาศ) (PDF). กองประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร กองบัญชาการสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-08. สืบค้นเมื่อ 2024-06-01.
  10. 10.0 10.1 "ฝนหลวงฯ ตั้ง ๔ หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรต้องการน้ำและบรรเทาปัญหาหมอกควัน-ลดความรุนแรงของพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ". www.royalrain.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "'ผู้การเส' ปธ.ส่งหน่วยบินบน.46 ปฏิบัติการฝนหลวง 3 ฐานบิน ดีเดย์ 15 มี.ค.ปูพรมหาดใหญ่แก้แล้ง". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "พิธีส่งหน่วยบินปฏิบัติภารกิจฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 2567". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "ผบ.ทอ. ส่งหน่วยบิน 7 ลำ ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง". www.thairath.co.th. 2024-03-12.
  14. "แผนการจัดสวัสดิการสังคมจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 4 - Flip eBook Pages 1-50 | AnyFlip". anyflip.com.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!