ซาทร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L'Imagination (1936; จินตนาการ), Esquisse d'une théorie des émotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ L'Imaginaire : Psychologie phénoménologique de l'imagination (1940; จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L'Être et le néant (1943; ความมีอยู่ และความไม่มีอะไร)ซาทร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (néant) ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (être)
ซาทร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la liberté อีก 3 เล่ม คือ L'Âge de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; ) และ La Mort dans l'âme (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3 ซาทร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาทร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์ และเสรีภาพของปัจเจกชน ซาทร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L'Existentialisme est un humanisme (1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา
ซาทร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Les Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos (1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Séquestres d'Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย
ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956 ความหวังของซาทร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantôme de Staline ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
ซาทร์ได้ร่วมมือกับซีมอน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง Mémoires d'une jeune fille rangée,1958 และเรื่อง La Force de l'âge, 1960-2 โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาทร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond Aron) มอริส แมร์โล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซีมอน แวย์ (Simone Weil), แอมานุแอล มูนีเย (Emmanuel Mounier), ฌ็อง อีปอลิต (Jean Hippolyte) และโกลด เลวี-สโทรส (Claude Levi-Strauss)
ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาทร์ ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique (1960) ซาทร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมากซ์ และค้นพบว่า ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้
Simone de Beauvoir, Adieux: A Farewell to Sartre, New York: Pantheon Books, 1984.
Thomas Flynn, Sartre and Marxist Existentialism: The Test Case of Collective Responsibility, Chicago: University of Chicago Press, 1984.
John Gerassi, Jean-Paul Sartre: Hated Conscience of His Century, Volume 1: Protestant or Protester?, University of Chicago Press, 1989. ISBN 0-226-28797-1.
R. D. Laing and D. G. Cooper, Reason and Violence: A Decade of Sartre's Philosophy, 1950-1960, New York: Pantheon, 1971.
Suzanne Lilar, A propos de Sartre et de l'amour, Paris: Grasset, 1967.
Axel Madsen, Hearts and Minds: The Common Journey of Simone de Beauvoir and Jean-Paul Sartre, William Morrow & Co, 1977.
Heiner Wittmann, L'esthétique de Sartre. Artistes et intellectuels, translated from the German by N. Weitemeier and J. Yacar, Éditions L'Harmattan (Collection L'ouverture philosophique), Paris 2001.
Jonathan Webber The existentialism of Jean-Paul Sartre, London: Routledge, 2009
H. Wittmann, Sartre und die Kunst. Die Porträtstudien von Tintoretto bis Flaubert, Tübingen: Gunter Narr Verlag, 1996.
H. Wittmann, Sartre and Camus in Aesthetics. The Challenge of Freedom.Ed. by Dirk Hoeges. Dialoghi/Dialogues. Literatur und Kultur Italiens und Frankreichs, vol. 13, Frankfurt/M: Peter Lang 2009 ISBN 978-3-631-58693-8
Wilfrid Desan, The Tragic Finale: An Essay on the philosophy of Jean-Paul Sartre (1954)
↑Ian H. Birchall, Sartre against Stalinism, Berghahn Books, 2004, p. 176: "Sartre praised highly [Lefebvre's] work on sociological methodology, saying of it: 'It remains regrettable that Lefebvre has not found imitators among other Marxist intellectuals'."