ซิลิคอนแวลลีย์
ซิลิคอนแวลลีย์ (อังกฤษ : Silicon Valley ) เป็นภูมิภาคในนอร์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางโลกเทคโนโลยีชั้นสูง และนวัตกรรม ตั้งอยู่ทางใต้สุดของเขตอ่าวซานฟรานซิสโก ซึ่งตรงกับหุบเขาแซนตาแคลรา [ 1] [ 2] [ 3] แซนโฮเซ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในซิลิคอนแวลลีย์ ใหญ่เป็นอันดับสามในรัฐแคลิฟอร์เนีย และอันดับ 10 ของสหรัฐ Brookings Institution รายงานว่าเขตปริมณฑลแซนโฮเซมีอัตราจีดีพีต่อหัวสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก (เป็นรองแค่ซือริช และออสโล )[ 4] และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 ที่อยู่อาศัยในย่านนี้มีอัตราร้อยละสูงสุดที่ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่านี้[ 5]
ซิลิคอนแวลลีย์เป็นที่ตั้งของบริษัทไฮเทค ที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก ซึ่งรวมไปถึงสำนักงานใหญ่มากกว่า 30 แห่งใน Fortune 1000 และวิสาหกิจเริ่มต้น พันกว่าแห่ง ใน ค.ศ. 2013 ภูมิภาคนี้ทำให้คนมีงานทำในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประมาณ 250,000 คน[ 6] สำนักงานใหญ่หลายแห่งกลายเป็นฮอตสปอตสำหรับการท่องเที่ยว [ 7] [ 8] [ 9]
เศรษฐกิจ
พื้นที่อ่าวซานฟรานซิสโก (San Francisco Bay Area ) เป็นเขตที่มีการกระจุกตัวของบริษัทไฮเทค (high-tech companies) อยู่มากที่สุดในสหรัฐ โดยจากตำแหน่งงานไฮเทค 387,000 ตำแหน่งงานนั้น ตำแหน่งงาน 225,300 ตำแหน่งอยู่ในเขตซิลิคอนแวลลีย์ ซิลิคอนแวลลีย์เป็นสถานที่ที่มีอัตราคนทำงานไฮเทคสูงที่สุดในทุก ๆ มหานครบนโลก คิดเป็นอัตราคนทำงาน 285.9 คน จากพนักงานเอกชน 1,000 คน ซิลิคอนแวลลีย์มีอัตราเงินเดือน (ต่อปี) สำหรับตำแหน่งงานไฮเทคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งหมดในสหรัฐ คิดเป็น 144,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี[ 10] การที่เงินเดือนภายในซิลิคอนแวลลีย์สูงเป็นผลมาจากบริษัทภาคเทคโนโลยีชั้นสูง โดยเขตเมืองซานโฮเซ่ (San Jose), เมืองซันนีเวล (Sunnyvale) และเมืองซานตา คลาร่า (Santa Clara) มีจำนวนเศรษฐีมากที่สุดและมีจำนวนมหาเศรษฐีพันล้านมากที่สุดในสหรัฐต่อหัว[ 11]
ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางการผลิตไฮเทคที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[ 12] [ 13] อัตราการว่างงานของภูมิภาคนี้อยู่ที่ 9.4% ในเดือนมกราคม ค.ศ.2009 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2.7% ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ.2019[ 14] ซิลิคอนแวลลีย์ได้รับ 41% ของการลงทุนร่วมทุน (venture) ทั้งหมดของสหรัฐในปี ค.ศ.2011 และ 46% ในปี ค.ศ.2012[ 15] นอกจากนี้อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมได้ตระหนักถึงศักยภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้เปิดสำนักงานในซิลลิคอนแวลลีย์เพื่อใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศที่เอื้อต่อการประกอบการ (entrepreneurial ecosystem) ของภูมิภาค[ 16]
การผลิตทรานซิสเตอร์ เป็นอุตสาหกรรมหัวใจหลักของซิลลิคอนแวลลีย์ พนักงานฝ่ายผลิต[ 17] ส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้อพยพชาวเอเชียและชาวลาตินที่ได้รับค่าจ้างต่ำและทำงานในสภาพที่เป็นอันตรายเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตวงจรรวม[ 18] ซึ่งตรงกันข้ามกับเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค, วิศวกรรม, การออกแบบ และ การบริหารส่วนใหญ่ที่ได้รับการค่าจ้างสูง[ 19]
ที่อยู่อาศัย
ซิลิคอนวัลเลย์มีปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยอย่างรุนแรงซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของตลาดระหว่างงานที่สร้างขึ้นและหน่วยที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้น: ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 ถึงปี ค.ศ.2015 มีการสร้างงานจำนวนมากขึ้นกว่าหน่วยที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้น (งาน 400,000 ตำแหน่งงาน บ้าน 60,000 ยูนิต)[ 20] ปัญหาการขาดแคลนนี้ทำให้ราคาบ้านสูงมากและห่างไกลจากกลุ่มคนงานการผลิต[ 21] ในปี ค.ศ.2016 อพาร์ทเมนต์แบบสองห้องนอนให้เช่ามีราคาประมาณ 2,500 ดอลลาร์ ในขณะที่ราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์[ 20] Financial Post เรียกซิลลิคอนแวลลีย์ว่าเป็นภูมิภาคที่อยู่อาศัยที่แพงที่สุดในสหรัฐ[ 22] ปัญหาคนไร้บ้านเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่อยู่ไกลเกินเอื้อมของผู้มีรายได้ปานกลาง มีพื้นที่พักพิงเพียงเล็กน้อยนอกเหนือจากในเมืองซานโฮเซซึ่งในปี ค.ศ.2015 มีความพยายามพัฒนาที่พักพิงเพิ่มเติมโดยการปรับปรุงโรงแรมเก่า[ 23]
นอกจากนี้ The Economist ยังระบุว่าค่าครองชีพที่สูงต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ แม้ว่าความแตกแยกระหว่างเงินเดือนสูงและต่ำนี้กำลังผลักดันให้ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากออกไปซึ่งไม่สามารถมีชีวิตอยู่ที่นั่นได้อีกต่อไป โดยในบริเวณอ่าว มีจำนวนผู้อยู่อาศัยที่วางแผนจะออกเดินทางในอีกหลายปีข้างหน้าเพิ่มขึ้น 35% ตั้งแต่ปี ค.ศ.2016 จาก 34% เป็น 46%[ 24]
ประชากรศาสตร์
จำนวนประชากรของซิลิคอนแวลลีย์ อยู่ระหว่าง 3.5 ถึง 4 ล้านคน การศึกษาในปี ค.ศ.1999 โดย แอนนาลี แซ็กเซเนียน (AnnaLee Saxenian ) เพื่อสถาบันนโยบายสาธารณะแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (Public Policy Institute of California ) รายงานว่านักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของซิลิคอนแวลลีย์หนึ่งในสามเป็นผู้อพยพ และเกือบหนึ่งในสี่ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นสูงของซิลิคอนแวลลีย์ (ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980) ประกอบการโดยซีอีโอเชื้อสายจีน (17 เปอร์เซ็นต์) และ เชื้อสายอินเดีย (7 เปอร์เซ็นต์)[ 25] ในซิลิคอนแวลลีย์มีพนักงานและผู้จัดการด้านเทคนิคที่ได้รับค่าตอบแทนสูง มีจำนวน "เศรษฐีหลักเดียว" (คนที่มีเงินมากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ไม่ถึงสิบล้าน) มากกว่าหนึ่งหมื่นคน รายได้และสินทรัพย์ที่หลากหลายนี้สนับสนุนวิถีชีวิตแบบชนชั้นกลางที่มีอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ให้เกิดขึ้นได้[ 26]
อ้างอิง
↑ Malone, Michael S. (2002). The Valley of Heart's Delight: A Silicon Valley Notebook 1963 - 2001 . New York: John S. Wiley & Sons. p. xix. ISBN 9780471201915 . สืบค้นเมื่อ 28 July 2020 .
↑ Matthews, Glenna (2003). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century . Stanford: Stanford University Press. p. 2. ISBN 9780804741545 .
↑ Shueh, Sam (2009). Silicon Valley . Charleston, SC: Arcadia Publishing. p. 8. ISBN 9780738570938 . สืบค้นเมื่อ 28 July 2020 .
↑ "Silicon Valley Business Journal – San Jose Area has World's Third-Highest GDP Per Capita, Brookings Says" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 3, 2018 .
↑ Kolomatsky, Michael (June 17, 2021). "Where Are the Million-Dollar Homes? - A new report reveals which U.S. metropolitan areas have the highest percentage of homes valued at $1 million or more" . The New York Times . สืบค้นเมื่อ June 18, 2021 .
↑ "Monthly employment continues upward climb" . Silicon Valley Index. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2013. สืบค้นเมื่อ September 24, 2013 .
↑ Carson, Biz. "16 Silicon Valley landmarks you must visit on your next trip" . Business Insider . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019 .
↑ "Tech Headquarters You Can Visit in Silicon Valley" . TripSavvy . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2019. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019 .
↑ Sheng, Ellen (December 3, 2018). "Why the headquarters of iconic tech companies are now among America's top tourist attractions" . CNBC . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2019. สืบค้นเมื่อ July 26, 2019 .
↑ "Cybercities 2008: An Overview of the High-Technology Industry in the Nation's Top 60 Cities" . aeanet.org . สืบค้นเมื่อ April 19, 2015 .
↑ "America's Greediest Cities" . Forbes . ธันวาคม 3, 2007. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 29, 2017.
↑ Albanesius, Chloe (มิถุนายน 24, 2008). "AeA Study Reveals Where the Tech Jobs Are" . PC Magazine . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 12, 2018.
↑ Pimentel, Benjamin. "Silicon Valley and N.Y. still top tech rankings" . MarketWatch . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2008. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015 .
↑ "SAN JOSE-SUNNYVALE-SANTA CLARA METROPOLITAN STATISTICAL AREA" (PDF) . เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2019.
↑ "Venture Capital Survey Silicon Valley Fourth Quarter 2011" . Fenwick.com. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2013. สืบค้นเมื่อ July 8, 2013 .
↑ "Porsche lands in Silicon Valley to develop sportscars of the future" . IBI. พฤษภาคม 8, 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 13, 2017. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 8, 2017 . Carmakers who have recently expanded to Silicon Valley include Volkswagen, Hyundai, General Motors, Ford, Honda, Toyota, BMW, Nissan and Mercedes-Benz.
↑ "Production Occupations (Major Group)" . bls.gov . Bureau of Labor Statistics. May 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015 .
↑ Matthews, Glenda (November 20, 2002). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century (1 ed.). Stanford, California: Stanford University Press. pp. 154–56 . ISBN 978-0-8047-4796-7 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015 .
↑ "Occupational Employment Statistics Semiconductor and Other Electronic Component Manufacturing" . bls.gov . Bureau of Labor Statistics. May 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2015. สืบค้นเมื่อ April 25, 2015 .
↑ 20.0 20.1 Brown, Eliot (June 7, 2016). "Neighbors Clash in Silicon Valley Job growth far outstrips housing, creating an imbalance; San Jose chafes at Santa Clara" . The Wall Street Journal . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2016. สืบค้นเมื่อ June 7, 2016 .
↑ Matthews, Glenda (November 20, 2002). Silicon Valley, Women, and the California Dream: Gender, Class, and Opportunity in the Twentieth Century (1 ed.). Stanford, California: Stanford University Press. pp. 233 . ISBN 978-0-8047-4796-7 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2019. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015 .
↑ "Zero down on a $2 million house is no problem in Silicon Valley's 'weird and scary' real estate market | Financial Post" . July 29, 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2017. สืบค้นเมื่อ October 14, 2017 .
↑ Potts, Monica (December 13, 2015). "Dispossessed in the Land of Dreams: Those left behind by Silicon Valley's technology boom struggle to stay in the place they call home" . The New Republic . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2015. สืบค้นเมื่อ December 14, 2015 . A 2013 census showed Santa Clara County having more than 7,000 homeless people, the fifth-highest homeless population per capita in the country and among the highest populations sleeping outside or in unsuitable shelters like vehicles.
↑ "Silicon Valley is changing, and its lead over other tech hubs narrowing" . The Economist (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 5, 2018 .
↑ Saxenian, AnnaLee (1999). "Silicon Valley's New Immigrant Entrepreneurs" (PDF) . Public Policy Institute of California. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016.
↑ Riflin, Gary (August 5, 2007). "In Silicon Valley, Millionaires Who Don't Feel Rich" . The New York Times . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2015. สืบค้นเมื่อ June 27, 2015 . Silicon Valley is thick with those who might be called working-class millionaires
อ่านเพิ่ม
หนังสือ
Bronson, Po (2013). The Nudist on the Lateshift: and Other Tales of Silicon Valley . Random House . ISBN 978-1-4481-8964-9 .
Cringely, Robert X. (1996) [1992]. Accidental Empires: How the boys of Silicon Valley make their millions, battle foreign competition, and still can't get a date . HarperCollins . ISBN 978-0-88730-855-0 .
English-Lueck, June Anne (2002). Cultures@Silicon Valley . Stanford University Press . ISBN 978-0-8047-4429-4 .
Hayes, Dennis (1990) [1989]. Behind the Silicon Curtain: The Seductions of Work in a Lonely Era . Black Rose Books . ISBN 978-0-921689-62-1 .
Kaplan, David A. (2000). The Silicon Boys: And Their Valleys Of Dreams . HarperCollins. ISBN 978-0-688-17906-9 .
Koepp, Rob (April 11, 2003). Clusters of Creativity: Enduring Lessons on Innovation and Entrepreneurship from Silicon Valley and Europe's Silicon Fen . John Wiley & Sons . ISBN 978-0-470-85566-9 .
Lécuyer, Christophe Lécuyer (2006) [2005]. Making Silicon Valley: Innovation and the Growth of High Tech, 1930–1970 . Chemical Heritage Foundation . ISBN 978-0-262-12281-8 .
Levy, Steven (2014) [1984]. Hackers: Heroes of the Computer Revolution . O'Reilly Media . ISBN 978-1-4493-8839-3 .[ลิงก์เสีย ]
O'Mara, Margaret Pugh (2015) [2004]. Cities of Knowledge: Cold War Science and the Search for the Next Silicon Valley: Cold War Science and the Search for the Next Silicon Valley . Princeton University Press . ISBN 978-1-4008-6688-5 .
Pellow, David N; Park, Lisa Sun-Hee (2002). The Silicon Valley of Dreams: Environmental Injustice, Immigrant Workers, and the High-tech Global Economy . New York University Press . ISBN 978-0-8147-6710-8 .
Saxenian, AnnaLee (1996). Regional Advantage: Culture and Competition in Silicon Valley and Route 128 . Harvard University Press . ISBN 978-0-674-75340-2 .
Scoville, Thomas (2001). Silicon Follies (Fiction). Simon & Schuster . ISBN 978-0-7434-1945-1 .
Whiteley, Carol; McLaughlin, John (2002). Technology, Entrepreneurs and Silicon Valley . Silicon Valley Historical Association. ISBN 978-0-9649217-1-9 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-23 .
วารสารและหนังสือพิมพ์
Kantor, Jodi (December 23, 2014). "A Brand New World in Which Men Ruled" . The New York Times .
Koenig, Neil (February 9, 2014). "Next Silicon Valleys: How did California get it so right?" . BBC News .
Malone, Michael S. (January 30, 2015). "The Purpose of Silicon Valley" . MIT Technology Review .
Norr, Henry (December 27, 1999). "Growth of a Silicon Empire" . San Francisco Chronicle .
Palmer, Barbara (February 4, 2004). "Red tile roofs in Bangalore: Stanford's look copied in Silicon Valley and beyond" . Stanford Report .
Schulz, Thomas (March 4, 2015). "Tomorrowland: How Silicon Valley Shapes Our Future" . Der Spiegel .
Sturgeon, Timothy J. (December 2000). "Chapter Two: How Silicon Valley Came to Be" (PDF) . Industrial Performance Center . Massachusetts Institute of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ August 19, 2018. สืบค้นเมื่อ March 24, 2015 .
Williams, James C. (December 2013). "From White Gold to Silicon Chips: Hydraulic Technology, Electric Power and Silicon Valley". Social Science Information (Abstract). Sage Publications . 52 (4): 558–574. doi :10.1177/0539018413497834 . S2CID 145080600 . (Subscription required for full text.)
โสตทัศน์
แหล่งข้อมูลอื่น
37°22′23″N 122°03′18″W / 37.373018°N 122.055009°W / 37.373018; -122.055009