ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ภาพหน้าจอ ของแมนจาโร ที่ติดตั้ง สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปซินนามอน, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ กำลังเปิด วิกิพีเดีย ที่ใช้ MediaWiki, LibreOffice Writer, Vim, GNOME Calculator, VLC media player และ ตัวจัดการไฟล์เนโม, ทั้งหมดนี้เป็นซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส[a] (อังกฤษ: Open source software, OSS คือ ซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่โดยใช้ใบอนุญาตที่ผู้ถือครองลิขสิทธ์อนุญาตให้ผู้ใช้มีสิทธิในการใช้ ศึกษา แก้ไข และแจกจ่ายซอฟต์แวร์และรหัสต้นทางของมันแก่ใคร เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ได้ [4][5]

รายงานปีพ.ศ. 2551 โดย the Standish Group ระบุว่าการใช้โมเดลซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดช่วยใช้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้มากถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี [6][7]


ประวัติ

แรกเริ่มเดิมทีในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 โปรแกรมเมอร์กับนักพัฒนาจะแบ่งปันซอฟต์แวร์แก่กัน [8] ตัวอย่างเช่น ยูนิกซ์ มาพร้อมกับซอร์สโค้ดเพื่อให้ผู้ใช้ แต่ในทศวรรษ 1970-1980 ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ก็ได้มาแทนที่ระบบต้นทางเปิดเดิม ข้อยกเว้นมีน้อยแต่มีบ้างในด้านการศึกษา เช่นDonald Knuth กับระบบTeX ใสปี ค.ศ. 1979 [9] และริชาร์ด สตอลล์แมน กับ กนู ในปี ค.ศ. 1983[10] ในปี 1997 Eric S. Raymond ได้เผยแพร๋ มหาวิหารกับตลาดสด (อังกฤษ: The Cathedral and the Bazaar) ซึ่งเป็นงานวิเคราะห์วัฒนธรรมแฮกเกอร์และซอฟต์แวร์เสรี วิทยานิพนธ์นี้ได้รับความสนใจอย่างมากในต้นปี ค.ศ. 1998 และทำให้บริษัทเน็ตสเคปได้ปล่อยโปรแกรม Netscape Communicator ของตนเป็นซอฟต์แวร์เสรี รหัสต้นทางดังกล่าวได้พัฒนาต่อมาเป็น ซีมังกี, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, Mozilla Thunderbird และ KompoZer.

Raymond กับผู้อื่นเห็นการกระทำนี้ของเน็ตสเคปแล้วจึงได้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้แนวคิดซอฟต์แวร์เสรีของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี เป็นที่นิยมต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้อย่างไร พวกเขาสรุปว่าการเคลื่อนไหวของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่น่าดึงดูดในสายตาบริษัทอย่างเน็ตสเคป จึงได้คิดหาวิธีที่จะรีแบรด์การเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เสียใหม่ เพื่อเน้นยำศักยภาพทางธุรกิจในการแบ่งปันและทำงานบนรหัสต้นทางร่วมกัน [11] ต่อมาในปี พ.ศ. 2541, ได้มีความคิดเสนอว่าคำว่าซอฟต์แวร์เสรีควรถูกแทนที่ด้วยคำว่าซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด แทนเพื่อลดความกำกวม [12][13][14] และทำให้ผู้คนในโลกทุนนิยมชมชอบมากขึ้น [15] Eric Raymond และ Bruce Perens ได้สร้าง Open Source Initiative (OSI) ในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2541 โดยทาง OSI หวังว่าคำว่า "ต้นทางเปิด", คำพูดที่เสนอโดย Christine Peterson[10][16] จาก Foresight Institute จะกำจัดความกำกวมไปได้

ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์เสรีและต้นทางเปิด จะเดิมอยู่นอกสายตาของบริษัทโดยส่วนใหม่ ปัจจุบันนี้บริษัทใหญ่ๆ อย่างไมโครซอฟต์, ไอบีเอ็ม, ออราเคิล และกูเกิลก็ได้ทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ต้นทางเปิดกันอย่างแข็งขันมากขึ้น[17]

คำนิยาม

โลโก้ของ Open Source Initiative (OSI)

เอกสารชื่อนิยามต้นทางเปิดที่เขียนโดย Open Source Initiative วางข้อกำหนดคำนิยาม 10 ประการของซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด[18][19]

Richard Stallman คัดค้านการใช้คำว่า "ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด"[20]

หมายเหตุ

  1. นอกจากคำว่า ซอฟต์แวร์ต้นทางเปิด และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แล้ว ยังมีหลายคำที่สามารถใช้แทนกันได้ เช่น ซอฟต์แวร์ต้นฉบับเปิด (ระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา บัญญัติทั้งคำว่า "รหัสต้นทาง" และ "รหัสต้นฉบับ"[1] ส่วน WeChat ใช้คำว่า "รหัสต้นทาง" [2]) และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ (ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เป็นการสะกดตามการถอดศัพท์ราชบัณฑิตยสถาน ส่วน ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เป็นการสะกดตามระบบศัพท์บัญญัติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา[1] และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ[3]) เป็นต้น

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ศัพท์บัญญัติ ๔๐ สาขาวิชา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "WeChat - รหัสต้นทาง". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พ.ค. 2560.
  3. "โครงการโอเพนซอร์ส".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. St. Laurent, Andrew M. (2008). Understanding Open Source and Free Software Licensing. O'Reilly Media. p. 4. ISBN 9780596553951. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2023. สืบค้นเมื่อ 21 March 2023.
  5. Corbly, James Edward (2014-09-25). "The Free Software Alternative: Freeware, Open Source Software, and Libraries". Information Technology and Libraries. 33 (3): 65. doi:10.6017/ital.v33i3.5105. ISSN 2163-5226. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  6. Rothwell, Richard (5 สิงหาคม 2008). "Creating wealth with free software". Free Software Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2008.
  7. "Standish Newsroom — Open Source" (Press release). Boston: Standish Group. 16 เมษายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2008.
  8. Maracke, Catharina (July 2019). "Free and Open Source Software and FRAND‐based patent licenses: How to mediate between Standard Essential Patent and Free and Open Source Software". The Journal of World Intellectual Property (ภาษาอังกฤษ). 22 (3–4): 78–102. doi:10.1111/jwip.12114. ISSN 1422-2213. S2CID 159111696. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 September 2022.
  9. Gaudeul, Alexia (2007). "Do Open Source Developers Respond to Competition? The LaTeX Case Study". Review of Network Economics (ภาษาอังกฤษ). 6 (2). doi:10.2202/1446-9022.1119. ISSN 1446-9022. S2CID 201097782.
  10. 10.0 10.1 VM Brasseur (2018). Forge your Future with Open Source. Pragmatic Programmers. ISBN 978-1-68050-301-2.
  11. Karl Fogel (2016). "Producing Open Source Software – How to Run a Successful Free Software Project". O'Reilly Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2007. สืบค้นเมื่อ 2016-04-11. But the problem went deeper than that. The word "free" carried with it an inescapable moral connotation: if freedom was an end in itself, it didn't matter whether free software also happened to be better, or more profitable for certain businesses in certain circumstances. Those were merely pleasant side effects of a motive that was, at its root, neither technical nor mercantile, but moral. Furthermore, the "free as in freedom" position forced a glaring inconsistency on corporations who wanted to support particular free programs in one aspect of their business, but continue marketing proprietary software in others.
  12. Eric S. Raymond. "Goodbye, "free software"; hello, "open source"". catb.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 August 2005. The problem with it is twofold. First, ... the term "free" is very ambiguous ... Second, the term makes a lot of corporate types nervous.
  13. Kelty, Christpher M. (2008). "The Cultural Significance of free Software – Two Bits" (PDF). Duke University press – durham and london. p. 99. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2008. สืบค้นเมื่อ 7 December 2017. Prior to 1998, Free Software referred either to the Free Software Foundation (and the watchful, micromanaging eye of Stallman) or to one of thousands of different commercial, avocational, or university-research projects, processes, licenses, and ideologies that had a variety of names: sourceware, freeware, shareware, open software, public domain software, and so on. The term Open Source, by contrast, sought to encompass them all in one movement.
  14. Shea, Tom (1983-06-23). "Free software – Free software is a junkyard of software spare parts". InfoWorld. สืบค้นเมื่อ 2016-02-10. "In contrast to commercial software is a large and growing body of free software that exists in the public domain. Public-domain software is written by microcomputer hobbyists (also known as "hackers") many of whom are professional programmers in their work life. [...] Since everybody has access to source code, many routines have not only been used but dramatically improved by other programmers."
  15. Raymond, Eric S. (1998-02-08). "Goodbye, "free software"; hello, "open source"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13. After the Netscape announcement broke in January I did a lot of thinking about the next phase – the serious push to get "free software" accepted in the mainstream corporate world. And I realized we have a serious problem with "free software" itself. Specifically, we have a problem with the term "free software", itself, not the concept. I've become convinced that the term has to go.
  16. "How I coined the term 'open source'". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2018. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  17. Jeffrey Voas, Keith W. Miller & Tom Costello. Free and Open Source Software. IT Professional 12(6) (November 2010), pg. 14–16.
  18. http://www.opensource.org/docs/osd
  19. http://www.rosenlaw.com/oslbook.htm
  20. Stallman, Richard (June 16, 2007). "Why "Open Source" misses the point of Free Software". Philosophy of the GNU Project. Free Software Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2011. สืบค้นเมื่อ July 23, 2007. As the advocates of open source draw new users into our community, we free software activists have to work even more to bring the issue of freedom to those new users' attention. We have to say, 'It's free software and it gives you freedom!'—more and louder than ever. Every time you say 'free software' rather than 'open source,' you help our campaign.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!