ชีวิต เสรีภาพ และการเสาะแสวงหาความสุข

Office for Emergency Management. Office of War Information war poster 1941-1945

"ชีวิต เสรีภาพ และการเสาะแสวงหาความสุข" (อังกฤษ: life, liberty and the pursuit of happiness) เป็นหนึ่งในวลีที่โด่งดังที่สุดในเอกสารคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา และบางส่วนยกย่องให้เป็นหนึ่งในประโยคที่ประดิษฐ์ขึ้นมาดีที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษ[1] มุมมองทั้งสามด้านนี้ถูกระบุไว้ว่าเป็น "สิทธิที่ไม่อาจโอนให้กันได้"

จุดกำเนิดและการถ่ายทอด

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 พระและนักปรัชญา ริชาร์ด คัมเบอร์แลนด์ (Richard Cumberland) เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1672 โดยสนับสนุนว่าความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนมนุษย์นั้นสำคัญต่อ "การเสาะแสวงหาความสุขของเราเอง" (pursuit of our own happiness)[2] จอห์น ล็อก เขียนใน A Letter Concerning Toleration ไว้ว่า "สิทธิส่วนบุคคลที่ผมเรียกว่า ชีวิต เสรีภาพ สุขภาพ และความเกียจคร้านทางกาย และการถือครองวัตถุนอกกาย..." ล็อกเขียนในผลงาน Essay Concerning Human Understanding ใน ค.ศ. 1693 ว่า "ความสมบูรณ์สูงสุดของธรรมชาติทางปัญญาอยู่ที่การแสวงหาความสุขที่แท้จริงและมั่นคงอย่างระมัดระวังและอย่างต่อเนื่อง"[3]

ล็อกไม่เคยเชื่อมโยงสิทธิธรรมชาติเข้ากับความสุข แต่ใน ค.ศ. 1693 ผู้ต่อต้านทางปรัชญาของล็อก ก็อทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ได้เชื่อมโยงทั้งสองเข้าด้วยกันในผลงาน Codex Iuris Gentium[4] หนังสือ The Religion of Nature Delineated ใน ค.ศ. 1722 ของวิลเลียม วอลลาสตัน อธิบายถึง "นิยามที่ถูกต้องที่สุด" ของ "ศาสนาธรรมชาติ" ว่าเป็น "การแสวงหาความสุขโดยการปฏิบัติตามหลักเหตุผลและความจริง"[5] ในหนังสือแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงาน Principles of Natural and Politic Law (หลักการกฎหมายธรรมชาติและการเมือง) ของ Jean Jacques Burlamaqui ใน ค.ศ. 1763 ยกย่อง "การแสวงหาอันสูงส่ง" ของ "ความสุขที่แท้จริงและมั่นคง"[6]

ในมาตราที่หนึ่งและที่สองของคำประกาศสิทธิรัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งมีการลงมติยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์โดยการประชุมใหญ่ผู้แทนรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1776 และเขียนขึ้นโดยจอร์จ เมสัน มีข้อความดังนี้

ที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีเสรีและอิสระเท่าเทียมกันตามธรรมชาติ และดำรงไว้ซึ่งสิทธิบางประการอยู่ในตัว ซึ่ง เมื่อพวกเขาเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมของสังคม พวกเขาเหล่านี้ ไม่อาจ ไม่ว่าจะโดยวิธีการใด กีดกันหรือขจัดลูกหลานของพวกเขาไปได้ กล่าวคือ ความเพลิดเพลินในชีวิตและเสรีภาพ ด้วยความหมายของการได้มาและถือครองทรัพย์สิน การแสวงหาและการได้รับความสุขและความปลอดภัย

เบนจามิน แฟรงคลินเห็นด้วยกับโทมัส เจฟเฟอร์สันในสบประมาณการคุ้มครอง "ทรัพย์สิน" ว่าเป็นเป้าหมายของรัฐบาล มีบันทึกว่า แฟรงกลินเห็นว่าทรัพย์สินเป็น "สัตว์สังคม" และดังนั้น เขาจึงเชื่อว่าควรจะเรียกภาษีจากทรัพย์สินเป็นหนทางในการจัดหาเงินแก่ประชาสังคม[7] คำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ร่างขึ้นโดยเจฟเฟอร์สัน ได้รับการลงติรับโดย สภาภาคพื้นทวีปที่สอง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ข้อความในส่วนที่สองของคำประกาศอิสรภาพปรากฏดังนี้

เราถือว่าความจริงต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งอยู่ในตัวเอง นั่นคือ มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข

แนวการวิเคราะห์ที่แตกต่างออกไปว่าด้วยจุดกำเนิดของวลีนี้เสนอโดย แกรี่ วิลส์ ในหนังสือ Inventing America: Jefferson's Declaration of Independence[8] วิลส์แย้งว่า "การแสวงหาความสุข" นั้นไม่ได้หมายถึงทรัพย์สินหรือความสุขส่วนบุคคล แต่เป็นความสุขของส่วนรวม เขาย้อนแนวคิดที่ว่าการแสวงหาความสุขของสาธารณะของรัฐบาลนั้นอยู่ในแนวคิดของสิทธิอันโอนให้แก่กันไม่ได้ของมนุษย์ของฟรานซิส ฮัทชีสัน มิใช่จอห์น ล็อก

อ้างอิง

  1. "Lucas, Stephen E., "Justifying America: The Declaration of Independence as a Rhetorical Document," in Thomas W. Benson, ed., American Rhetoric: Context and Criticism (1989).
  2. Cumberland, Richard (2005). A Treatise of the Laws of Nature. Indianapolis: Liberty Fund. pp. 523–24.
  3. John Locke, Essay Concerning Human Understanding, Book 2, Chapter 21, Section 51
  4. Leibniz, Gottfried Wilhelm มันนิตรกับมันนาง (1978). Patrick Riley (บ.ก.). Leibniz: Political Writings. Cambridge. p. 171.
  5. Wollaston, William The Religion of Nature Delineated 1759 ed., p. 90
  6. Burlamaqui, Jean Jacques (2006). The Principles of Natural and Politic Law. Indianapolis. p. 31.
  7. Franklin, Benjamin (2006). Mark Skousen (บ.ก.). The Compleated Autobiography. Regnery Publishing. p. 413. ISBN 0895260336.
  8. Wills, Gerry (2002) [Copyright 1978]. Inventing America: Jefferson's Declaration of Independence. Mariner Books. ISBN 978-0-618-25776-8.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!