ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย ประชากรทั้งหมด 329,342 (สำมะโนสหรัฐ ค.ศ. 2020)[ 1] ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ รัฐอิลลินอย (ชิคาโก ), รัฐเวอร์จิเนีย (อะเล็กซานเดรีย ), รัฐแคลิฟอร์เนีย (ลอสแอนเจลิส , ซานฟรานซิสโก , ลองบีช , ริเวอร์ไซด์ [ 2] ), รัฐเนวาดา (ลาสเวกัส ), รัฐวิสคอนซิน (แมดิสัน ), รัฐวอชิงตัน (ซีแอตเทิล ), รัฐออริกอน (พอร์ตแลนด์ ), รัฐเพนซิลเวเนีย (พิตส์เบิร์ก ), รัฐอะแลสกา (แองเคอเรจ )ภาษา อังกฤษสำเนียงอเมริกัน , ไทย , คำเมือง , อีสาน , กะเหรี่ยง , พม่า , โรฮีนจา ศาสนา พุทธเถรวาท , ผี , คริสต์ , อิสลาม กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง ชาวไทย , ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทย (อดีตเรียก ชาวอเมริกันเชื้อสายสยาม ) หมายถึง พลเมืองสหรัฐ ที่มีเชื้อสายมาจากประเทศไทย [ 3] ประชากรอเมริกันเชื้อสายไทยมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยคนไทยจำนวนมากที่ระบุว่าเป็นเชื้อชาติผสมและเป็นไทยเชื้อสายจีน [ 4]
ประวัติ
ชาวไทยคนแรกที่เข้าเมืองมาในสหรัฐอเมริกาคือแฝดสยาม อิน-จัน ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2373 โดยอาศัยอยู่ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา และใช้ชื่อสกุลว่า "บังเกอร์" (Bunker) ซึ่งลูกหลานของแฝดสยามนี้ก็ใช้นามสกุลว่า บังเกอร์ ตราบเท่าปัจจุบัน
นักเรียนไทยคนแรกที่ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาคือ เทียนฮี้ ซึ่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกาพร้อมกันกับมิชชันนารีชาวอเมริกัน และสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ที่นิวยอร์ก ในปี พ.ศ. 2414 และเทียนฮี้ก็เป็นบิดาของอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคือ พจน์ สารสิน
พ.ศ. 2504-2513 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 5,000 คน
พ.ศ. 2514-2523 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 44,000 คน
พ.ศ. 2524-2533 คนไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณ 64,400 คน
ในปี พ.ศ. 2536 คาดว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาอยู่ประมาณ 120,000 คน
สถิติประชากร
ชุมชนชาวอเมริกันเชื้อสายไทยที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่เมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในย่านไทยทาวน์ โดยในปี 2545 ประมาณการว่ามีชาวอเมริกันเชื้อสายไทยกว่า 80,000 คนอาศัยอยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส
นอกจากลอสแอนเจลิสแล้ว ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยยังอาศัยอยู่ในอีกหลายเมือง เช่น มินนิโซตา ควีน นิวยอร์ก แดลลัส-ฟอร์ตเวิร์ท อ่าวซานฟรานซิสโก เฟรสโน และแซคราเมนโต
สถิติ
ข้อมูลจาก สถาบันนโยบายการย้ายถิ่น (Migration Policy Institute [1] )
จำนวนประชากรสหรัฐอเมริกาที่เกิดในประเทศไทย (Foreign-Born Population)
ปี (ค.ศ.)
จำนวน (คน)
ค่าความคลาดเคลื่อน (คน)
2000
169,801
-
2006
186,526
+/-10,506
2007
195,948
+/-9,668
2008
199,075
+/-8,633
2009
203,384
+/-8,921
2010
222,759
+/-9,960
2011
239,942
+/-13,087
จำนวนผู้ได้รับอนุญาตใหม่ ให้มีสิทธิ์อาศัยและทำงานอย่างถาวรในสหรัฐอเมริกา (Permanent Resident)
ปี (ค.ศ.)
จำนวน (คน)
2000
3,753
2001
4,245
2002
4,144
2003
3,126
2004
4,318
2005
5,505
2006
11,749
2007
8,751
2008
6,637
2009
10,444
2010
9,384
2011
9,962
จำนวนผู้ที่ได้เป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา (Citizenship)
ปี (ค.ศ.)
จำนวน (คน)
2000
5,197
2001
4,088
2002
4,013
2003
3,636
2004
3,779
2005
4,314
2006
4,583
2007
4,438
2008
6,930
2009
4,962
2010
4,112
2011
5,299
วัฒนธรรมไทยในอเมริกา
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยมีชื่อเสียงเรื่องอาหารไทย จากการนำอาหารไทยเข้ามาในสหรัฐอเมริกา อาหารไทยเป็นที่นิยมในหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันร้านอาหารอเมริกันก็มีอาหารไทย หรืออาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารไทยในเมนูอาหาร
การเมือง
ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ
ใน พ.ศ. 2546 มีคนอเมริกันเชื้อสายไทยสองคนลงรับสมัครเลือกตั้งในระดับเทศบาล คนหนึ่งในแอนาไฮม์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และอีกคนในฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ซึ่งทั้งสองไม่ได้รับเลือก แต่มาวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 กอพัฒน์ เจริญบรรพชน (Gorpat Henry Charoen) ได้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาคนแรกที่มีที่มาจากประเทศไทย โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองลาพัลมา ในปี พ.ศ. 2549[ 5] ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองในปีถัดมา[ 5] และดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง ในปี พ.ศ. 2555[ 6]
ในปี พ.ศ. 2553 พันตรี ชาลส์ โจว ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 รัฐฮาวาย ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้าไปทำงานในรัฐสภาสหรัฐอเมริกา[ 7]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 พันโทหญิง ลัดดา แทมมี ดักเวิร์ธ ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 8 รัฐอิลลินอย ซึ่งทำให้เธอเป็นสตรีเชื้อสายไทยคนแรก[ 8] และเป็นคนเชื้อสายไทยคนที่สองที่ได้เป็นดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนี้ยังมีนักการเมืองเชื้อสายไทยอีกสองคนคือ จอห์น พิปพี อดีตสมาชิกวุฒิสภา เขต 37 รัฐเพนซิลเวเนีย [ 9] และอเดเลด อเล็กซันดรา ซิงก์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ฝ่านการเงินของรัฐฟลอริดา ทั้งนี้เธอเป็นลื่อของจัน บังเกอร์ แฝดสยามผู้มีชื่อเสียงเมื่อนับจากฝ่ายมารดา[ 10] [ 11]
ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "ASIAN ALONE OR IN ANY COMBINATION BY SELECTED GROUPS" . United States Census Bureau . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ April 11, 2019. สืบค้นเมื่อ October 9, 2018 .
↑ https://www.pewresearch.org/chart/top-10-u-s-metropolitan-areas-by-thai-population/
↑ Megan Ratner, "Thai Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 4, Gale, 2014), pp. 357-368. Online เก็บถาวร มีนาคม 26, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ Danico, Mary (2014), "Thai Americans" , Asian American Society: An Encyclopedia , Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc., pp. 894–897, สืบค้นเมื่อ 2023-02-05
↑ 5.0 5.1 2009 Asian Heritage Awards Nomination [ลิงก์เสีย ]
↑ ‘กอพัฒน์’ เป็นนายกฯ อีกหน หลังสภาเมืองหนุนเอกฉันท์ [ลิงก์เสีย ]
↑ "สส. ลูกครึ่งไทย หนึ่งความภูมิใจ ในสภาคองเกรส" (Press release). ไทยรัฐ. 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2556 .
↑ " "ลัดดา แทมมี่ ดัคเวิร์ธ" ชนะเลือกตั้งส.ส.หญิงเชื้อสายไทยคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ" (Press release). มติชน. 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-09. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 .
↑ Olson, Laura (1 July 2012). "State Sen. Pippy resigns from legislative seat following budget vote" . Pittsburgh Post-Gazette . สืบค้นเมื่อ 1 July 2012 .
↑ Alex Sink says grit and pride were legacy of famous ancestors, Siamese twins Chang and Eng เก็บถาวร 2010-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , St. Pete Times
↑ NATIONAL GEOGRAPHIC MAGAZINE
ข้อมูล
We the People Asians in the United States Census 2000 Special Reports
Vong, Pueng. Unrest in the Homeland Awakens the Thai Community IMDiversity March 29, 2006
Asian American Action Fund 2006 endorsed candidates
อ่านเพิ่ม
Ratner, Megan. "Thai Americans." Gale Encyclopedia of Multicultural America, edited by Thomas Riggs, (3rd ed., vol. 4, Gale, 2014), pp. 357–368. Online
แหล่งข้อมูลอื่น
ชาวไทย
ในประเทศ แอฟริกา อเมริกา เอเชีย ยุโรป โอเชียเนีย