ชัยชนะของโมเสส (อังกฤษ: Victory O Lord!)
เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ
มิเลเขียนภาพ “ชัยชนะของโมเสส” ในปี ค.ศ. 1871 เป็นภาพโมเสส, อารอน และฮอร์ระหว่าง “การต่อสู่ที่เรฟิดิม” (Rephidim) ในการต่อต้านอมาเล็ค (Amalek) ภาพนี้และภาพภูมิทัศน์ “ตุลาคมหนาว” (Chill October) เป็นจุดสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในอาชีพการเขียนของมิเล
ภาพเขียนมาจากย่อหน้าในพระธรรมอพยพ บทที่ 17 ที่บรรยายว่าโมเสสและเพื่อนอีกสองคนดูการรบอยู่บนเนิน ขณะที่โมเสสถือคทาของพระเจ้าในมือขวา
“โมเสสกล่าวกับโจชัว, เลือกคนไปต่อสู้กับอมาเล็ค: พรุ่งนี้ข้าจะยืนบนเนินเขากับคทาของพระเจ้าในมือของข้า โจชัวจึงทำตามที่โมเสสกล่าวและต่อสู้กับอมาเล็ค: และโมเสส, อารอน และเฮอร์ขึ้นไปบนเนิน เวลาผ่านไปเมื่อโมเสสยกมือขึ้นฝ่ายอิสราเอลก็ได้ที เมื่อเอามือลงอมาเล็คก็ได้ที แต่มือโมเสสก็เริ่มหนักขึ้น อารอนและเฮอร์จึงเอาหินหนุนวางไว้ใต้โมเสส โมเสสจึงนั่ง และอารอนและเฮอร์ยกมือโมเสสไว้ มือก็ยกไว้จนพระอาทิตย์ตก และโจชัวได้รับชัยชนะต่ออมาเล็คและพรรคพวกด้วยดาบ”
มิเลวาดภาพแสงอาทิตย์เริ่มจางลงเมื่อใกล้ค่ำ เมื่อโมเสส, อารอน และเฮอร์ยืนดูฉากสุดท้ายของการต่อสู้ โมเสสอยู่ตรงกลางมีอารอนและเฮอร์ยืนขนาบประคองแขนโมเสสไว้ไม่ให้ตก อารอนในเสื้อสีแดงทางขวา การรบบอกได้ด้วยลูกศรตรงมุมขวาล่างของภาพ
มิเลใช้เวลาหลายปีในการเขียนภาพนี้ ขูดออกและเขียนใหม่ นักวิจารณ์ศิลปะเฟรดเดอริค จอร์จ สตีเฟน (Frederic George Stephens) ให้ความเห็นว่าภาพเขียนแสดงความขัดแย้งระหว่างความไม่ยอมแพ้และความมุ่งมั่นของโมเสส และความเหนื่อยร้าของร่างกายและจิตใจของอารอนและเฮอร์[1] นอกจากนั้นก็ยังสรรเสริญความชัดเจนของการเขียนผิวหนังของผู้มีอายุในภาพ ลักษณะการเขียนของภาพนี้แตกต่างมากจากภาพเขียนเกี่ยวกับศาสนาในสมัยเดียวกันของวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ ในภาพเช่น “เงาแห่งความตาย” (The Shadow of Death)[2] ที่ฮันท์เขียนในช่วงเดียวกัน แต่มีการตั้งข้อเสนอว่าภาพทั้งสองอาจจะสื่อความหมายเดียวกัน ในภาพของฮันท์พระเยซูทรงอ้าพระกรออกไปในท่าตรึงกางเขนที่เป็นลักษณะที่แสดงทั้งความทรมานและการได้รับชัยชนะในขณะเดียวกัน[3]
อ้างอิง
- ↑ Millais, J.G., Life and Letters of John Everett Millais, vol 2, p. 34
- ↑ Treuherz, J. Pre-Raphaelite Paintings in Manchester City Art Gallery, Manchester, 1993, p.109
- ↑ "The Victorian Web". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-24. สืบค้นเมื่อ 2009-10-18.
ดูเพิ่ม