ชัง จิน-ซ็อง (장진성) คือนามปากกา[ 1] ของกวีชาวเกาหลีเหนือ ซึ่งลี้ภัยมายังเกาหลีใต้ โดยเขาเคยทำงานอยู่สำนักงานสงครามจิตวิทยาภายในกองแนวร่วมของพรรคแรงงานเกาหลี[ 2] [ 3] [ 4] ทำงานเฉพาะด้านในแผนก 5 (วรรณกรรม) ของกลุ่มงาน 19 (กวีนิพนธ์) ของสำนัก 101[ 5] โดยสำนัก 101 ตั้งขึ้นสำหรับงานโฆษณาชวนเชื่อเพื่อปลุกใจชาวเกาหลีใต้ที่มีใจฝักใฝ่ทางเกาหลีเหนือ หนึ่งในงานของชังคือเขียนบทกวีภายใต้นามปากกาของชาวเกาหลีใต้คือ คิม คย็อง-มิน และใช้สำนวนการเขียนในแบบชาวเกาหลีใต้ โดยบทกวีของเขามีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เผยแพร่ในเกาหลีใต้[ 5]
ชังกล่าวว่าบทกวีโฆษณาชวนเชื่อของเขาเคยเป็นหนึ่งในบทกวีที่เป็นที่โปรดปรานของอดีตผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จ็อง-อิล [ 6] ความชอบพอส่วนตัวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ชังได้เขียนบทกวี "ฤดูใบไม้ผลิบนปลายกระบอกปืนของท่านผู้นำผู้ยิ่งใหญ่" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันในงานเขียนบทกวีระหว่างกรมกองต่าง ๆ ของรัฐบาล[ 7] คิม จ็อง-อิล ชื่นชอบบทกวีของเขาอย่างมาก ทำให้งานของเขาถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2542[ 5] [ 8] จากความชื่นชอบส่วนตัวของคิม จ็อง-อิล ทำให้ชังได้รับการเลื่อนสถานะเป็นบุคคลใกล้ชิดที่ได้รับการ "ยอมรับ" ซึ่งทำให้ชังได้รับส่วนแบ่งอาหารเพิ่มขึ้นและอภิสิทธิ์ทางการเมือง[ 8] แต่มาวันหนึ่ง เพื่อนของเขา ย็อง-มิน ได้ทำเอกสารลับ ที่มีเนื้อหาจาบจ้วงตระกูลคิมอย่างมากมายจากกองแนวร่วมที่ชังให้ยืมหาย ส่งผลให้ทั้งคู่ต้องหลบหนีจากเกาหลีเหนือในปี พ.ศ. 2546 โดยหนีผ่านทางแม่นํ้าทูมัน (두만강) ที่แข็งตัวเป็นน้ำแข็ง[ 9] [ 10] ในที่สุดชังก็ลี้ภัยมาถึงเกาหลีใต้ในปี 2547
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ภายหลังจากที่เขามาถึงเกาหลีใต้ไม่กี่เดือน เขาเข้ารับตำแหน่งนักวิเคราะห์อาวุโสในสถาบันวิจัยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติในโซล[ 7] หน่วยงานนี้อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ [ 7] ในปี พ.ศ. 2553 เขาก็ได้ออกจากสถาบันวิจัยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ[ 7]
ในปี พ.ศ. 2554 เขาได้ใช้เงินค่าชดเชย เพื่อเริ่มทำนิตยสารเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวเกาหลีเหนือในชื่อ '뉴포커스' (New Focus International )[ 7] [ 11] นิตยสารมีเป้าหมายที่จะรายงานข่าวสารในเกาหลีเหนือในแบบที่ปราศจากการควบคุมของสื่อในประเทศเกาหลีเหนือ[ 4] [ 12]
ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลเกาหลีเหนือยังคงคุกคามชีวิตของ ชัง จิน-ซ็อง ผ่านแถลงการณ์ของสื่อของรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยกล่าวว่า "จะลบการคงอยู่ของเขาในจักรวาลนี้"[ 13]
ชัง จิน-ซ็อง ได้เขียนเรื่องราวการลี้ภัยของเขาเผยแพร่ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในหนังสือชื่อ Dear Leader: Poet, Spy, Escapee - A Look Inside North Korea [ 14] [ 15] [ 16] โดยฉบับภาษาเกาหลี : '경애하는 지도자에게' เผยแพร่ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน[ 17] (ฉบับแปลภาษาไทย : หลังฉากท่านผู้นำ)[ 18]
ผลงาน
Memoirs Crossing[ 19]
หนังสือรวมบทกวี "I Am Selling My Daughter for 100 Won" ("내 딸을 백원에 팝니다") (ภาษาญี่ปุ่น 2552, ภาษาอังกฤษ 2553)[ 20]
Kim Jong Il's last woman (김정일의 마지막 여자)[ 21]
시를 품고 강을 넘다 (ภาษาญี่ปุ่น 2554)
Dear Leader: Poet, Spy, Escapee - A Look Inside North Korea (2557)[ 15] (ภาษาไทย : หลังฉากท่านผู้นำ) (2558)[ 18]
อ้างอิง
↑ "Jin-Seong, Jang" . www.southbankcentre.co.uk . Southbank Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11 . สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ "Inside North Korea: The day Kim Jong-il gave me a Rolex" . BBC News . Jan 5, 2012. สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ "Jang Jin-sung: 'If anyone thinks North Korea is opening up, they are mistaken' " . guardian.co.uk . Guardian News and Media Limited. May 1, 2013.
↑ 4.0 4.1 "The Staff" . newfocusintl.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-09-05. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11 . สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ 5.0 5.1 5.2 Jang Jin-sung (12 June 2014). "Jang Jin-sung: I became poet laureate to Kim Jong-il" . New Statesman . สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑
Sylvia Hui (Jul 1, 2012). "Jang Jin-sung, North Korean Poet, Writes Of Hunger, Brutality In The Country" . www.huffingtonpost.com . Associated Press . He says he was one of late North Korean leader Kim Jong Il's favorite propaganda artists, singing the praises of the Dear Leader in dozens of poems. But these days Jang Jin-sung says he prefers to tell the truth about North Korea.
↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Jang Jin-sung (May 2014). Dear Leader: Poet, Spy, Escapee - A Look Inside North Korea . Atria. ISBN 978-1476766553 . สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ 8.0 8.1 David Pilling (May 9, 2014). " 'Dear Leader', by Jang Jin-sung" . Financial Times.
↑
Libby Powell. "Ten minutes with...Jang Jin-sun" . Chatham House .
↑ "More on North Korean Literature & poet Jang Jin-sung" . www.ktlit.com . Jun 6, 2013.
↑ "Jang Jin-sung" . NK News. Jang Jin-sung is North Korea’s former poet laureate under Kim Jong Il, and is now Editor-in-chief of New Focus International.
↑ "Overview - New Focus International" . newfocusintl.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-08-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11 . New Focus International is distinctive in two ways: • it offers North Korea reporting and analysis rooted in first-hand experience of the country’s workings; • and maintains direct, independent access to sources within the economic and power structures of the DPRK. สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ Jang Jin-sung (May 2014). Dear Leader: My Escape from North Korea . Simon and Schuster. ISBN 9781476766577 . North Korean state news organ, KCNA, saying it would "remove my existence from this universe." [ลิงก์เสีย ]
↑ Blaine Harden (June 6, 2014). "Book review: 'Dear Leader,' a look inside North Korea, by Jang Jin-sung" . The Washington Post.
↑ 15.0 15.1 Jang Jin-sung (May 13, 2014). Dear Leader: Poet, Spy, Escapee--A Look Inside North Korea (Translation ed.). 37 Ink. ISBN 978-1476766553 . สืบค้นเมื่อ September 2014.
↑ "N.Korean Defector's Memoir Makes Global Headlines" . Chosun.com. May 30, 2014.
↑ 美英獨 언론이 격찬한 세계적 베스트셀러 《Dear leader》의 한국어판 출간! . 조갑제닷컴. 2014-09-19.
↑ 18.0 18.1 จัง จิน ซอง (2558). Dear Leader : หลังฉากท่านผู้นำ . แปลโดย คำเมือง. กรุงเทพฯ: สันสกฤต. ISBN 9786167356693 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2015-05-11 .
↑ Jessica Phelan (May 2, 2013). "Crossing the Border: Jang Jin Sung, North Korea's poet laureate, to publish memoirs" .
↑ Jang Jin Sung (May 13, 2008). "I Am Selling My Daughter for 100 Won" . DailyNK.
↑ Kim Ji-soo (2014-07-09). "Jang Jin-sung writes about his ex-'Dear Leader' " . www.koreatimes.co.kr . Korea Times . สืบค้นเมื่อ September 2014.
นานาชาติ ประจำชาติ วิชาการ ศิลปิน อื่น ๆ