ชลอ เกิดเทศ (28 สิงหาคม พ.ศ. 2481 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)[2]เป็นอดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจซึ่งถูกพิพากษาประหารชีวิตเพราะมีส่วนฆ่าดาราวดี ศรีธนะขัณฑ์ และเสรี ศรีธนะขัณฑ์ บุตรชาย สืบเนื่องมาจากคดีเพชรซาอุฯ แต่ไม่ถูกประหารและได้รับการปล่อยตัวเพราะการพระราชทานอภัยโทษ[1]
ประวัติ
ชลอเกิดที่จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม เป็นบุตรชายของ พันโท แช่ม เกิดเทศ และนางทองคำ เกิดเทศ[3] จบมัธยมจากโรงเรียนอำนวยศิลป์[ต้องการอ้างอิง] โรงเรียนนายร้อยตำรวจ (รุ่น 15) เคยดำรงตำแหน่งที่สถานีตำรวจนางเลิ้ง, พังงา, หนองคาย, พระนครศรีอยุธยา, ตาก, ลพบุรี[3] รับตำแหน่งรองผู้บังคับการกองปราบปราม และรับตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลกยศพลตำรวจตรี ได้ฉายาว่า "สิงห์เหนือ เจ้าพ่อแห่งคุ้มพระลอ" และได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ ต้องออกจากตำรวจเพราะฆ่าสองแม่ลูกอย่างโหดเหี้ยม [3]
นอกจากงานตำรวจแล้ว ชลอยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย[ต้องการอ้างอิง]
ชลอสมรสกับสุรางค์ พลทรัพย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ ชอบรบ เกิดเทศ, ชนม์ยืน เกิดเทศ, และ กุมาริภา เกิดเทศ ภายหลังหย่ากัน[4]
ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ชลอ เกิดเทศ ถึงแก่กรรมด้วยอาการหัวใจล้มเหลวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[5]
วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2566 พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เดินทางมาเป็นประธานในพิธี ฌาปนกิจศพ[6]ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว
คดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2545 ว่า ชลอมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการฆ่าดาราวดี ศรีธนะขัณฑ์ และเสรี ศรีธนะขัณฑ์ บุตรชาย โดยเจตนาและไตร่ตรองไว้ก่อน ให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นประหารชีวิต และศาลฎีกาพิพากษายืนให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552[7]
อย่างไรก็ดี ชลอได้รับพระราชทานอภัยโทษใน พ.ศ. 2553 เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต และใน พ.ศ. 2554 เหลือโทษจำคุก 50 ปี[8] ใน พ.ศ. 2556 ชลอได้รับการพักโทษและปล่อยตัวออกจากเรือนจำกลางบางขวาง[1]
คดีดังกล่าวทำให้ชลอถูกถอดยศพลตำรวจโท และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมด เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[9][10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ชลอเคยได้รับและถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่าง ๆ ดังนี้
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "อุ้มฆ่าแม่-ลูก 'ศรีธนะขัณฑ์' เสี้ยวหนึ่งจากคดี 'เพชรซาอุฯ' ประวัติศาสตร์อัปยศของตำรวจไทย". The Momentum. The Momentum. 2564-08-26. สืบค้นเมื่อ 2565-01-28.
- ↑ รพ.มหาราช ยืนยัน ‘ชลอ เกิดเทศ’ เสียชีวิตแล้ว ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว ภาวะไตวาย
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ย้อนรอย..สิงห์เหนือ " พระชลอ อิสโร" แค่เสียดายยังไม่พอ วันที่ 20 มิถุนายน 2560
- ↑ ย้อนรอย..สิงห์เหนือ " พระชลอ อิสโร" แค่เสียดายยังไม่พอ
- ↑ "ชลอ เกิดเทศ ถึงแก่กรรมแล้วในวันที่ 24 พ.ย.2566 เวลา17.00 น." https://www.naewna.com. 2023-11-24.
- ↑ (คลิป) เผาแล้ว “ชลอ เกิดเทศ” ที่วัดป่าวังน้ำเขียว “พล.อ.ธรรมรักษ์”เป็นประธาน อดีตนักเตะทีมชาติไทยแห่ร่วม
- ↑ ฎีกายืนประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ เก็บถาวร 2009-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวสด, 16 ตุลาคม 2552
- ↑ "อภัยโทษ′เสริม สาครราษฎร์′พ้นคุก 18ธ.ค. ′ชลอ-ผู้พันตึ๋ง-หมอวิสุทธิ์′แค่ลดโทษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-02.
- ↑ ประกาศถอดยศ"ชลอ เกิดเทศ"[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 13 ข "พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอดยศตำรวจ และ เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 108 ตอนที่ 208 ง ฉบับพิเศษ หน้า 20, 29 พฤศจิกายน 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 105 ตอนที่ 201 ง ฉบับพิเศษ หน้า 32, 3 ธันวาคม 2531
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 95 ตอนที่ 75 ง ฉบับพิเศษ หน้า 16, 28 กรกฎาคม 2521
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 97 ตอนที่ 188 ง ฉบับพิเศษ หน้า 2369, 5 ธันวาคม 2523