ในสถิติศาสตร์และการตรวจวินิจฉัย ค่าทำนายผลบวกหรือค่าพยากรณ์ผลบวก (อังกฤษ: Positive predictive value) คือสัดส่วนของจำนวนผลการตรวจที่เป็นผลบวกแท้ ("การวินิจฉัยถูกต้อง") ต่อจำนวนผลการตรวจที่เป็นผลบวกทั้งหมด (นับรวมผลบวกลวงด้วย) เป็นค่าที่มีความสำคัญมากในการประเมินประสิทธิภาพของวิธีหรือเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากเป็นค่าที่บ่งบอกว่าผลบวกที่ได้จากการตรวจนั้นแสดงว่าเป็นโรคจริงๆ ได้ดีเพียงใด อย่างไรก็ดีค่านี้สัมพันธ์กับความชุกของภาวะ/โรค ซึ่งบางครั้งอาจหาไม่ได้หรือหาได้ยากในกลุ่มประชากรบางกลุ่ม ค่านี้หาได้จากการใช้ทฤษฎีบทของเบย์
นิยาม
ค่าทำนายผลบวก
นิยามของค่าทำนายผลบวก (PPV) คือ
โดย "true positive" (ผลบวกจริง) คือกรณีที่ผลการตรวจบ่งบอกว่าเป็นบวก ("เป็นโรค") และผู้รับการตรวจมีโรคจริงตามผลที่ได้จากการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานสูงสุด (gold standard) และ "false positive" (ผลบวกลวง) คือกรณีที่ผมการตรวจบ่งบอกว่าเป็นบวก แต่ผู้รับการตรวจตรวจไม่พบว่ามีโรคจากการตรวจด้วยวิธีมาตรฐานสูงสุด
ตารางต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าทำนายผลบวก ค่าทำนายผลลบ ความไว และความจำเพาะ
สังเกตว่าการคำนวณค่าทำนายผลบวกและผลลบนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลของความชุกเท่านั้น ซึ่งอาจได้จากการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) หรือการศึกษาแบบอิงประชากร (population-based) บางประเภท ในขณะที่ความไวและความจำเพาะนั้นสามารถคำนวณได้โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลความชุก จึงสามารถคำนวณได้จากการศึกษาแบบกลุ่มผู้ป่วยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (case-control)
หากทราบความชุก ความไว และความจำเพาะ จะสามารถคำนวณค่าทำนายผลบวกได้จากสมการต่อไปนี้