สำหรับความหมายอื่น ดูที่
มหานคร
คิง เพาเวอร์ มหานคร (อังกฤษ: King Power MahaNakhon) ชื่อเดิมอาคาร มหานคร เป็นตึกระฟ้าในรูปแบบอาคารประเภทใช้ประโยชน์ผสมผสาน ตั้งอยู่ติดกับสถานีช่องนนทรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ในย่านสีลมและสาทรซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ออกแบบให้เสมือนโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติ หรือพิกเซล เป็นอาคารกระจกทั้งหลัง สร้างสรรค์โดยบริษัทสถาปนิกในกลุ่มบริษัท บูโร โอเล่อ เชียเรน กรุ๊ป
คิง เพาเวอร์ มหานคร เคยเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2559 – 2561 จนถูกทำลายสถิติในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561[1] โดยอาคารแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟร้อนท์ เรสซิเดนเซส ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการไอคอนสยาม (ความสูง 318.95 เมตร) ปัจจุบันเป็นอาคารที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น ประกอบไปด้วยส่วนโรงแรม ร้านค้าปลีก และส่วนห้องชุดพักอาศัยจำนวน 209 ห้อง โดยราคาของห้องชุดดังกล่าว ราคาเฉลี่ย 3.5 แสนบาท/ตร.ม. [2] เริ่มต้นที่ 32 ล้านบาทไปจนถึง 305 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น 1 ในอาคารชุดพักอาศัยที่มีราคาสูงที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยในชั้น 74–78 เป็นที่ตั้งของภัตตาคารมหานครแบงค็อกสกายบาร์ และมหานครสกายวอล์ก จุดชมทิวทัศน์ของกรุงเทพมหานคร
ประวัติ
โครงการมหานครได้เปิดตัวต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ด้วยการออกแบบร่วมกันของบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ และอินดัสเทรียล บิลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (IBC)[3] โดยพิธีวางศิลาฤกษ์มีขึ้นวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554 และคาดว่ามูลค่าของโครงการนั้นอาจสูงถึง 18,000 ล้านบาท[4] และได้มีงานเปิดตัวโครงการในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ชื่องานว่า “มหานคร แบงค็อก ไรซ์ซิ่ง เดอะ ไนท์ ออฟ ไลท์” (MAHANAKHON: BANGKOK RISING, THE NIGHT OF LIGHTS) [5]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ได้เข้าซื้อหุ้นโครงการ 51% จากกลุ่มเพช ดีเวลลอปเม้นท์ โดยซื้อเฉพาะส่วนโรงแรม ชั้นชมทัศนียภาพ และส่วนมหานครคิวบ์ ยกเว้นส่วนของห้องชุดเพื่อการพักอาศัย[6][7] และต่อมาได้เปลี่ยนชื่ออาคารเป็น คิง เพาเวอร์ มหานคร ในปัจจุบัน
ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำหน่าย ไปรษณีย์บัตรภาพพร้อมส่ง ชุด คิง พาวเวอร์ มหานคร[8]
การออกแบบและจัดสรรพื้นที่
คิง เพาเวอร์ มหานครตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 9 ไร่ บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีพื้นที่ใช้สอย 135,000 ตร.ม.[9] ออกแบบภายใต้แนวคิดอาคารเสมือนถูกโอบล้อมด้วยริบบิ้น 3 มิติหรือ "พิกเซล" ด้วยความสูง 314.2 เมตร จำนวน 78 ชั้น เมื่อตึกสร้างเสร็จได้ทำลายสถิติความสูงของตึกใบหยก 2 ที่มีความสูง 304 เมตร
คิง เพาเวอร์ มหานคร ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- โรงแรมเดอะ สแตนดาร์ด แบงค็อก มหานคร (The Standard, Bangkok Mahanakhon)[10][11]
- โอโฮ แบงค็อก (Ojo Bangkok) ชื่อเดิม: มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ (Mahanakhon Bangkok Sky Bar) ห้องอาหารที่สูงที่สุดในประเทศไทย[12][13]
- สกาย บีช (Sky Beach) รูฟท็อปบาร์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย สร้างบนพื้นที่เดิมของมหานคร สกายวอล์ค (Mahanakhon SkyWalk) จุดชมทัศนียภาพบนชั้นดาดฟ้าของอาคาร
- ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย เดอะ เรสซิเดนเซส แอท คิง เพาเวอร์ มหานคร (The Residences at King Power Mahanakhon)
- มหานคร คิวบ์ (Mahanakhon CUBE) อาคารไลฟ์สไตล์ รีเทล
นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมมหานครสแควร์ และทางเชื่อมไปยังสถานีช่องนนทรีของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ คิง เพาเวอร์ มหานคร
13°43′27″N 100°31′42″E / 13.724167°N 100.528333°E / 13.724167; 100.528333
|
---|
ฝั่งพระนคร | | |
---|
ฝั่งธนบุรี | |
---|
ดูเพิ่ม | |
---|
- ตัวเอียง หมายถึงตึกระฟ้าที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือระหว่างการเตรียมการก่อสร้าง
|
|
---|
แขวง | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
หน่วยงานราชการ | |
---|
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | |
---|
คุณภาพชีวิต | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
|
---|
|