คำสอน สระทอง เกิดเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 ที่บ้านโพน ชุมชนชาวผู้ไทในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นช่างทอผ้า ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 สาขาทัศนศิลป์ ประเภทประยุกต์ศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า) นางคำสอนได้พัฒนารูปแบบลวดลายให้สวยงามทั้งแบบดั้งเดิมและแบบสมัยนิยม สามารถประดิษฐ์ลวดลายได้อย่างประณีตงดงาม ได้คิดลวดลายผ้าแพรวารูปแบบใหม่ ๆ ประดิษฐ์รูปแบบการทอผ้าที่เรียกว่า เขาลาย หรือ ตะกรอลาย[1]
คำสอนเกิดมาในครอบครัวเกษตรกร แต่ในส่วนตัวมีความสนใจเรื่องทอผ้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ เริ่มหัดทอผ้าตั้งแต่อายุ 13 ปี[2] จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่งงานเมื่อตอนอายุ 19 ปี กับสามีคือ นายบุรี สระทอง ชาวบ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยย่าของสามี คือ นางเบง สระทอง[3] เป็นผู้สอนศาสตร์การทอผ้าไหมแพรวาให้ โดยเฉพาะลวดลายโบราณดั้งเดิม กับการปลูกฝังเรื่องการทอผ้าไหมแพรวา กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2520 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เยี่ยมราษฎรที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้รับผ้าไหมแพรวาเข้ามาพัฒนาส่งเสริมเข้าสู่โครงการศิลปาชีพพิเศษ[4]
คำสอนเคยได้รับพระราชทานเงินจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จำนวน 40,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรสอนเทคนิคการทอผ้าไหมแพรวาให้แก่สมาชิก ได้รับรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นสาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะการทอผ้าแพรวา) ได้รับคัดเลือกให้เป็นแม่ดีเด่นแห่งชาติ คนดีศรีกาฬสินธุ์ ครูภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ได้มอบปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2557 ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2559 สาขาทัศนศิลป์ ประเภทประยุกต์ศิลป์ (ประณีตศิลป์-ทอผ้า)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|
---|
วิจิตรศิลป์ | จิตรกรรม | |
---|
ประติมากรรม | |
---|
ภาพพิมพ์ | |
---|
งานผ้า | |
---|
การทอผ้า | |
---|
เครื่องถม | |
---|
ภาพถ่าย | |
---|
ออกแบบประยุกต์ศิลป์ | |
---|
ออกแบบแฟชั่น | |
---|
สื่อผสม | |
---|
สลักดุนเครื่องเงินและโลหะ | |
---|
|
---|
ประยุกต์ศิลป์ | สถาปัตยกรรม | |
---|
สถาปัตยกรรมร่วมสมัย | |
---|
สถาปัตยกรรมไทย | |
---|
สถาปัตยกรรมภายใน | |
---|
ออกแบบอุตสาหกรรม | |
---|
ออกแบบผังเมือง | |
---|
ภูมิสถาปัตยกรรม | |
---|
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น | |
---|
ประณีตศิลป์ | |
---|
|
---|
|