คัมภีร์มรณะ

D21
Z1
N33A
W24
Z1
O1
D21
X1
D54
G17O4
D21
G43N5
Z1
คัมภีร์แห่งการล่วงเข้ามาในเวลากลางวัน
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์
สมัย: ราชอาณาจักรใหม่
(1550–1069 BC)
เอกสารพาไพรัสของฮูเนเฟอร์ (Hunefer) แสดงภาพตาชั่งของมาอัต (Maat) เทพีแห่งความตาย มีหัวใจของฮูเนเฟอร์วางอยู่บนถาดซ้าย ถาดขวาวางขนนกแห่งความจริง (feather of truth) ผู้ชั่ง คือ เทพอะนูบิส (Anubis) ซึ่งนั่งยองอยู่กลางภาพ มีท็อท (Thoth) เทพอาลักษณ์ คอยบันทึกผลการชั่งอยู่ข้างขวา ถ้าหัวใจของฮูเนเฟอร์น้ำหนักเท่าเทียมกับขนนก ฮูเนเฟอร์ผ่านเข้าสู่ชีวิตหลังความตายได้ ถ้าไม่เท่า เขาจะกลายเป็นอาหารของแอมมิต (Ammit) สัตว์ประหลาดลูกผสมระหว่างช้างน้ำ จระเข้ และสิงโต ซึ่งนั่งคอยท่าอยู่หน้าอะนูบิส ภาพวาดทำนองนี้มักพบใน คัมภีร์มรณะ

คัมภีร์มรณะ (อังกฤษ: Book of the Dead; "คัมภีร์ของผู้มรณะ") เป็นหนังสืองานศพอียิปต์โบราณซึ่งใช้ตั้งแต่ต้นราชอาณาจักรใหม่ (ราว 1550 ปีก่อน ค.ศ.) ไปจนถึงราว 50 ปีก่อน ค.ศ.[1] ชื่อดั้งเดิมในภาษาอียิปต์ทับศัพท์ได้ว่า rw nw prt m hrw[2] แปลว่า "คัมภีร์แห่งการล่วงเข้ามาในเวลากลางวัน" (Book of Coming Forth by Day)[3] หรือ "คัมภีร์แห่งการปรากฏเข้าสู่แสงสว่าง" (Book of Emerging Forth into the Light) คัมภีร์นี้ประกอบด้วยมนตร์คาถาจำนวนหนึ่งซึ่งตั้งใจให้เป็นเครื่องช่วยเหลือผู้วายชนม์ในการเดินทางผ่าน "ดูอัต" (Duat, ยมโลก) เข้าสู่ชีวิตหลังความตาย เป็นผลงานที่นักบวชหลายคนเขียนขึ้นตลอดระยะเวลาราว 1,000 ปี[4]

คัมภีร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการจัดทำข้อความพิธีศพ ข้อความสมัยก่อนหน้าได้แก่ ข้อความพิระมิด (Pyramid Texts) และข้อความโลงศพ (Coffin Texts) ซึ่งเขียนลงบนวัตถุ มิได้เขียนลงกระดาษพาไพรัส คาถาบางบทในคัมภีร์นำมาจากข้อความเหล่านี้เอง และมีอายุยาวนานถึง 3 สหัสวรรษก่อน ค.ศ. ส่วนคาถาบทอื่น ๆ ประพันธ์ขึ้นในสมัยหลัง และนับอายุถอยหลังไปได้ถึงสมัยกลางที่สาม (1,100 ถึง 700 ปีก่อน ค.ศ.) แม้มีการจัดทำเป็นคัมภีร์เพื่อบรรจุไว้ในโลงศพหรือห้องเก็บศพแล้ว ก็ยังมีการจารึกคาถาบางบทลงบนผนังสุสานและโลงหินเช่นแต่ก่อน

คัมภีร์มรณะ ไม่ได้มีฉบับเดียว และไม่มีฉบับใดเป็นแม่แบบ เพราะผู้คนในยุคนั้นต่างคนต่างดูคล้ายจะสั่งทำ คัมภีร์มรณะ ฉบับของตนเองไว้ โดยเลือกคาถาที่ตนเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ต่อตนมากที่สุดในกระบวนการผ่านเข้าสู่ชีวิตหลังความตาย เอกสารที่เหลือรอดในปัจจุบันเป็นข้อความทางมนตราและศาสนาหลายอย่าง ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรไฮเออโรกลีฟอียิปต์หรือไฮเออแรติกลงบนม้วนกระดาษพาไพรัส และมักมีภาพวาดประกอบแสดงผู้มรณะและเส้นทางของเขาในการเข้าสู่ชีวิตหลังความตาย

อ้างอิง

  1. Taylor 2010, p.54
  2. Allen, 2000. p.316
  3. Taylor 2010, p.55; or perhaps "Utterances of Going Forth by Day" - D'Auria 1988, p.187
  4. The Egyptian Book of the Dead by Anonymous (2 Jun 2014) ...with an introduction by Paul Mirecki (VII)

บรรณานุกรม

  • Allen, James P., Middle Egyptian – An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs, first edition, Cambridge University Press, 2000. ISBN 0-521-77483-7
  • Allen, Thomas George, The Egyptian Book of the Dead: Documents in the Oriental Institute Museum at the University of Chicago. University of Chicago Press, Chicago 1960.
  • Allen, Thomas George, The Book of the Dead or Going Forth by Day. Ideas of the Ancient Egyptians Concerning the Hereafter as Expressed in Their Own Terms, SAOC vol. 37; University of Chicago Press, Chicago, 1974.
  • Assmann, Jan (2005) [2001]. Death and Salvation in Ancient Egypt. Translated by David Lorton. Cornell University Press. ISBN 0-8014-4241-9
  • D'Auria, S (et al.) Mummies and Magic: the Funerary Arts of Ancient Egypt. Museum of Fine Arts, Boston, 1989. ISBN 0-87846-307-0
  • Faulkner, Raymond O; Andrews, Carol (editor), The Ancient Egyptian Book of the Dead. University of Texas Press, Austin, 1972.
  • Faulkner, Raymond O (translator); von Dassow, Eva (editor), The Egyptian Book of the Dead, The Book of Going forth by Day. The First Authentic Presentation of the Complete Papyrus of Ani. Chronicle Books, San Francisco, 1994.
  • Hornung, Erik; Lorton, D (translator), The Ancient Egyptian books of the Afterlife. Cornell University Press, 1999. ISBN 0-8014-8515-0
  • Lapp, G, The Papyrus of Nu (Catalogue of Books of the Dead in the British Museum). British Museum Press, London, 1997.
  • Müller-Roth, Marcus, "The Book of the Dead Project: Past, present and future." British Museum Studies in Ancient Egypt and Sudan 15 (2010): 189-200.
  • Niwinski, Andrzej [pl], Studies on the Illustrated Theban Funerary Papyri of the 11th and 10th Centuries B.C.. OBO vol. 86; Universitätsverlag, Freiburg, 1989.
  • Pinch, Geraldine, Magic in Ancient Egypt. British Museum Press, London, 1994. ISBN 0-7141-0971-1
  • Taylor, John H. (Editor), Ancient Egyptian Book of the Dead: Journey through the afterlife. British Museum Press, London, 2010. ISBN 978-0-7141-1993-9


แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!