ระบบกฎหมายทั่วโลก
ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ : common law ) หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี [ 1] เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร[ 2] [ 3] ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายที่ทรงอิทธิพลมากระบบหนึ่งของโลก ทั้งนี้เนื่องจากการขยายตัวของจักรวรรดิบริเตน ในระหว่างศตวรรษที่ 18 และ 19 ทำให้กฎหมายของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะกฎหมายอังกฤษ แพร่กระจายไปทั่วดินแดนอาณานิคม. ปัจจุบันมีประมาณการว่า ประชากรกว่า 1 ใน 3 ของโลกอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายคอมม่อนลอว์ หรือภายใต้ระบบกฎหมายผสมกับระบบซีวิลลอว์ .[ 4]
"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่างมาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากศาลจะมีคำพิพากษาที่แตกต่างกัน สำหรับคดีพิพาทซึ่งมีข้อเท็จจริงที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าคำพิพากษาเป็นที่มาประการหนึ่งของกฎหมาย (a source of law) ในระบบกฎหมายนี้. ด้วยเหตุนี้การตัดสินคดีในระบบ "คอมมอนลอว์" จึงไม่ได้เป็นเพียงการตีความกฎหมาย แต่มีผลเป็น "บรรทัดฐานทางกฎหมาย" (precedent) ที่ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ทั้งนี้ตามหลักการภาษาละติน ที่เรียกว่า stare decisis แปลว่า "ยืนตามคำวินิจฉัย (บรรทัดฐาน) ต่อไป". อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เคยเกิดขึ้น หรือมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับข้อพิพาทในอดีตทั้งหมด (matter of first impression) รวมถึงไม่มีกฎหมายทางนิติบัญญัติที่จะปรับใช้แก่คดีได้ ผู้พิพากษาย่อมมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดถือตามเป็นบรรทัดฐาน.
ในทางปฏิบัติ ระบบคอมมอนลอว์เป็นระบบซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าคุณสมบัติทั่วไปดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น การตัดสินดำเนินดคีของศาลหนึ่งจะผูกมัดศาลในคดีต่อไปในเฉพาะเขตอำนาจศาลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น. คำพิพากษาของศาลนอกเขตอำนาจ แม้จะตัดสินโดยศาลที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ก็เป็นได้เพียงแต่ "บรรทัดฐานที่มีกำลังโน้มน้าว" (persuasive precedent) เท่านั้น. และกระทั่งภายในเขตอำนาจศาลที่กำหนดไว้ ศาลที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่าก็ไม่จำเป็นต้องเดินตามแนวบรรทัดฐานที่ศาลระดับล่าง (lower courts หรือ inferior courts) วางไว้. นอกจากนี้ความเชื่อที่ว่าระบบกฎหมายคอมมอนลอว์เป็นระบบกฎหมายที่สร้างขึ้นโดยผู้พิพากษา ก็เป็นแนวความคิดที่ได้รับโต้เถียงอย่างมากในปัจจุบัน แม้ในแวดวงวิชาชีพกฎหมายในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์เอง, เช่น ในสหรัฐอเมริกา, ความคิดที่ว่า "ผู้พิพากษาสามารถสร้างกฎหมายเองได้" ถูกมองว่าเป็นความคิด หรือค่านิยมที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ซึ่งถือว่าอำนาจทางนิติบัญญัติเป็นอำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้น. ดังนั้นหากผู้พิพากษาถือวิสาสะวินิจฉัยคดีในลัฏษณะที่เปลี่ยนผลการบังคับใช้กฎหมาย และมีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งเป็นการใช้อำนาจก้าวก่ายกิจการทางนิติบัญญัติ การใช้อำนาจตุลาการในลักษณะดังกล่าวก็จะมีลักษณะเป็นการ "ตุลาการภิวัฒน์" (judicial activism). ตัวอย่างสำคัญของ judicial activism เช่น ในคดีประวัติศาสตร์ Roe vs. Wade (1973) ซึ่งศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาพิพากษาว่าการลงโทษทางอาญาต่อการทำแท้งเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย หรือ Due Process ตามการแก้ไขเพิ่มเติมข้อที่ 14 ของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา .
ระบบกฎหมายของอังกฤษถูกเรียกว่า "คอมมอนลอว์" เพราะในอดีตถือว่าเป็นกฎหมายที่ "ถือร่วมกัน" (common) ในศาลของพระมหากษัตริย์ทั่วประเทศอังกฤษ อันเป็นประเพณีปฏิบัติในศาลของพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ในช่วงหลังจากการบุกรุกรานเกาะอังกฤษของชาวนอร์แมนในปี ค.ศ. 1066.
ลักษณะเฉพาะของระบบกฎหมายคอมม่อนลอว์
โดยทั่วไปแล้วระบบกฎหมายคอมมอนลอว์มักจะหมายถึงกฎหมายที่มีเนื้อหา หรือมีที่มาจากคำพิพากษา ซึ่งเรียกว่ากฎหมายจากคดีพิพาท หรือ "case law" เพื่อแสดงความแตกต่างจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory law) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ.
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
อ่านเพิ่มเติม
Barrington, Candace; Sobecki, Sebastian (2019). The Cambridge Companion to Medieval English Law and Literature . Cambridge: Cambridge University Press. doi :10.1017/9781316848296 . ISBN 9781316632345 . S2CID 242539685 . Chapters 1–6.
Crane, Elaine Forman (2011), Witches, Wife Beaters, and Whores: Common Law and Common Folk in Early America. Ithaca, NY: Cornell University Press. [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี ]
Friedman, Lawrence Meir (2005). A History of American Law (3rd ed.). New York: Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-8258-1 .
Garner, Bryan A. (2001). A Dictionary of Modern Legal Usage (2nd, revised ed.). New York: Oxford University Press . p. 178 . ISBN 978-0-19-514236-5 .
Glenn, H. Patrick (2000). Legal Traditions of the World . Oxford University Press. ISBN 978-0-19-876575-2 .
Ibbetson, David John (2001). Common Law and Ius Commune . Selden Society . ISBN 978-0-85423-165-2 .
Langbein, John H. ; Lerner, Renée Lettow; Smith, Bruce P. (2009). History of the Common Law: The Development of Anglo-American Legal Institutions . New York: Aspen Publishers. ISBN 978-0-7355-6290-5 .
Jain, M.P. (2006). Outlines of Indian Legal and Constitutional History (6th ed.). Nagpur: Wadhwa & Co. ISBN 978-81-8038-264-2 .
Milsom, S.F.C. , A Natural History of the Common Law . Columbia University Press (2003) ISBN 0231129947
Milsom, S.F.C., Historical Foundations of the Common Law (2nd ed.). Lexis Law Publishing (Va), (1981) ISBN 0406625034
Morrison, Alan B. (1996). Fundamentals of American Law . New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-876405-2 .
Nagl, Dominik (2013). No Part of the Mother Country, but Distinct Dominions – Law, State Formation and Governance in England, Massachusetts and South Carolina, 1630–1769 . Berlin: LIT. ISBN 978-3-643-11817-2 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 12 August 2016. สืบค้นเมื่อ 30 September 2015 .
Potter, Harry (2015). Law, Liberty and the Constitution: a Brief History of the Common Law . Woodbridge : Boydell and Brewer . ISBN 978-1-78327-011-8 .
Salmond, John William (1907). Jurisprudence: The Theory of the Law (2nd ed.). London: Stevens and Haynes. p. 32 . OCLC 1384458 .