คว่ำตายหงายเป็น

คว่ำตายหงายเป็น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Saxifragales
วงศ์: Crassulaceae
สกุล: Kalanchoe
ส่วน: Bryophyllum
สปีชีส์: K.  pinnata
ชื่อทวินาม
Kalanchoe pinnata
(Lam.) Pers.
ชื่อพ้อง
  • Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken
  • Bryophyllum calycinum
  • Cotyledon pinnata Lem.

คว่ำตายหงายเป็น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Kalanchoe pinnata) เป็นพืชล้มลุก อวบน้ำ ใบเดี่ยว รูปไข่ โคนและปลายมน ขอบใบจักเป็นฟันตื้น ๆ เนื้อใบอวบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีแดงและเขียว ทรงกระบอก ห้อยคว่ำลง ปลายเป็น 4 แฉก ผลเป็นพวง เมล็ดขนาดเล็ก

ในทางสมุนไพร ใช้ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา ใบตำคั้นน้ำแก้บิด ขับปัสสาวะ โรคไขข้ออักเสบ[1] ใบมีรสเย็นเฝื่อน พอกฝีแก้ปวด น้ำคั้นจากใบผสมการบูร ทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก[2]

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความดัน เบาหวาน ซึมเศร้า ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร คลายกังวล ต้านการชัก ลดการบีบตัวที่ไวของกระเพาะอาหาร รวมถึงต้านมะเร็ง รวมถึงใช้ยังประโยชน์ในทางพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น เอาดอกไปไว้ในยุ้งข้าว บูชารถ ขึ้นบ้านใหม่ เอาใบใส่พานบายศรีสู่ขวัญบ่าวสาว ทำขวัญนาค และปลูกไว้เพื่อความเป็นมงคล

คว่ำตายหงายเป็น ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ต้นตายใบเป็น, ต้นตายปลายเป็น, กระลำเพาะ, นิรพัตร, เบญจฉัตร, กะเร, มะตบ, ล็อบแล็บ, ลุบลับ, ลุมลัง, ตาวาร (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้), ประฉู่ชิคะ (ภาษากะเหรี่ยง), ค้ำ (อำเภอนาแห้ว), ปู่ย่า (อำเภอภูหลวง), ประเตียลเพลิง, เพรอะแพระ, ยาเท้า, ส้มเช้า, หญ้าปล่องไฟ, หญ้าหวาน (ภาษาไทใหญ่) และผักเบี้ยใหญ่[3]

อ้างอิง

  1. ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ. พืชสมุนไพรใช้เป็นยา. กทม. มปท. 2536
  2. สุนทร ปุณโณทก. ยากลางบ้าน. กทม. โรงพิมพ์สุวิทย์ ยี แอด. 2526
  3. หน้า 3, ต้นตาย ใบเป็น. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21421: วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Kalanchoe pinnata ที่วิกิสปีชีส์

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!