แผนที่ลาตินอเมริกาแสดงประเทศที่มีพรรครัฐบาลเป็นสมาชิก
โฟรูจีเซาเปาลู (สีแดง) และประเทศที่
ไม่ มีพรรครัฐบาลเป็นสมาชิกโฟรูจีเซาเปาลู (สีน้ำเงิน) ใน พ.ศ. 2554, 2561 (กลาง) และ 2566 (ขวา)
คลื่นอนุรักษนิยม (สเปน: ola conservadora; โปรตุเกส: onda conservadora) หรือ กระแสสีน้ำเงิน (สเปน: marea azul; โปรตุเกส: maré azul) เป็นปรากฏการณ์การเมืองฝ่ายขวาที่เกิดขึ้นในกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 ในทวีปอเมริกาใต้โดยเป็นปฏิกิริยาโดยตรงต่อกระแสสีชมพู[1][2] นักวิเคราะห์บางคนเรียกว่า กระแสสีน้ำตาล (เป็นการพาดพิงลัทธิฟาสซิสต์ซึ่งมักถูกโยงกับสีน้ำตาล)[3]
หลังรัฐบาลฝ่ายกลางซ้ายนานหนึ่งทศวรรษ อิทธิพลของโฟรูจีเซาเปาลู ซึ่งสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายในทวีปอเมริกาใต้และแคริบเบียน เสื่อมถอยลงในประเทศอาร์เจนตินา เมาริซิโอ มากริ นักเสรีนิยม สืบตำแหน่งกริสตินา กีร์ชเนร์ ในปี 2558 ในประเทศบราซิล กระบวนการฟ้องให้ขับจิลมา รูเซฟออกจากตำแหน่งส่งผลให้รูเซฟพ้นจากตำแหน่งและมีแชล เตเมร์ รองประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งแทนในปี 2559 ในประเทศชิลี เซบัสเตียน ปิญเญรา นักอนุรักษนิยม สืบตำแหน่งจากมีเชล บาเชเล นักประชาธิปไตยสังคม ในปี 2560 เช่นเดียวกับในปี 2552 และในปี 2561 ผู้แทนราษฎรนักอนุรักษนิยม ฌาอีร์ โบลโซนารู ได้เป็นประธานาธิบดีบราซิลคนที่ 38[4]
ปรากฏการณ์อนุรักษนิยมดังกล่าวมีการเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งดอนัลด์ ทรัมป์ ในสหรัฐ และการเติบโตของประชานิยมฝ่ายขวาและชาตินิยมใหม่ในทวีปยุโรป[5] นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงกับการมีขนาดและอำนาจเพิ่มขึ้นของชุมชนอีแวนเจลิคัล[6][7][8]
ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ประธานาธิบดี
ภาพด้านล่างคือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งในลาตินอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองปีกขวาและสายกลาง-ขวา หมายเหตุ: ยานิเน อัญเญซสาบานตนเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ครบองค์ประชุมในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองโบลิเวีย พ.ศ. 2562 และถูกตัดสินว่ากระทำผิด ระบุเป็นสัญลักษณ์ ‡
ดูเพิ่ม
อ้างอิง