United States Supreme Court case
บราวน์ กับ คณะกรรมการการศึกษา ถกเถียง 9 ธันวาคม, 1952 ถกเถียงซ้ำ 8 ธันวาคม, 1953 ตัดสิน 17 พฤษภาคม, 1954 ชื่อเต็มคดี Oliver Brown, et al. v. Board of Education of Topeka, et al. อ้างอิง 347 U.S. 483 (เพิ่มเติม ) คำตัดสิน Opinion ประวัติคดี ก่อนหน้า Judgment for defendants, 98 F. Supp. 797 (D. Kan. 1951); probable jurisdiction noted, 344 U.S. 1 (1952). ถัดไป Judgment on relief, 349 U.S. 294 (1955) (Brown II ); on remand, 139 F. Supp. 468 (D. Kan. 1955); motion to intervene granted, 84 F.R.D. 383 (D. Kan. 1979); judgment for defendants, 671 F. Supp. 1290 (D. Kan. 1987); reversed, 892 F.2d 851 (10th Cir. 1989); vacated, 503 U.S. 978 (1992) (Brown III ); judgment reinstated, 978 F.2d 585 (10th Cir. 1992); judgment for defendants, 56 F. Supp. 2d 1212 (D. Kan. 1999) Holding การแยกโรงเรียนรัฐบาล ด้วยสีผิวขัดต่อมาตราว่าด้วยการปกป้องอย่างเท่าเทียม ของแปรญัติที่สิบสี่ คำตัดสินของศาลเขตแคนซัสถูกย้อน คณะผู้พิพากษา
ประธานศาลสูงสุด
ข้อผิดพลาดนิพจน์: มีตัวดำเนินการ < ซึ่งไม่ควรมี Earl Warren
ตุลาการสมทบ
Hugo Black · Stanley F. Reed Felix Frankfurter · William O. Douglas Robert H. Jackson · Harold H. Burton Tom C. Clark · Sherman Minton
Case opinion ส่วนใหญ่ วอร์เรน, joined by เอกฉันท์ กฎหมายที่ใช้ U.S. Const. amend. XIV ลบล้างคำตัดสินเก่า ๆ
(partial) Plessy v. Ferguson (1896)Cumming v. Richmond County Board of Education (1899)Berea College v. Kentucky (1908)
คดีระหว่างบราวน์ กับคณะกรรมการการศึกษาโทเพกา (อังกฤษ : Brown v. Board of Education of Topeka ) รหัส 347 U.S. 483 (1954)[ 1] เป็นคำวินิจฉัยหลักสำคัญของศาลสูงสุดสหรัฐ ที่ซึ่งศาลวินิจฉัยว่ากฎหมายรัฐของสหรัฐ ซึ่งกำหนดให้มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ในโรงเรียนรัฐบาล ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แม้โรงเรียนที่แบ่งแยกแล้วนั้นจะมีคุณภาพที่เท่ากันก็ตาม ศาลฯ มีคำวินิจฉัยในวันที่ 17 พฤษภาคม 1954 ด้วยมติเอกฉันท์ (9 ต่อ 0) ระบุว่า "สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่แยกกันนั้นไม่เท่าเทียมในตัวเอง" ฉะนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนวรรคการให้ความคุ้มครองเท่าเทียมกัน ของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 14 อย่างไรก็ตาม ในคำวินิจฉัยยาว 14 หน้านี้ไม่ได้ระบุวิธีการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติในโรงเรียน และคำวินิจฉัยของศาลฯ ที่สองในคดีบราวน์ 2 (349 U.S. 294 (1955)) เพียงแต่สั่งให้รัฐต่าง ๆ ยุติการแบ่งแยก "โดยใช้ความเร็วรอบคอบทั้งปวง"
คดีนี้เริ่มในปี 1951 เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลในโทเพกา รัฐแคนซัส ปฏิเสธรับธิดาของประชากรท้องถิ่นผิวดำ ออลิเวอร์ บราวน์ เข้าศึกษาในโรงเรียนที่ใกล้บ้านของเขาที่สุด กลับบังคับให้เธอต้องเดินทางด้วยรถประจำทางไปยังโรงเรียนประถมศึกษาที่แยกไว้สำหรับคนผิวดำ (segregated black school) ซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ในขณะที่เขตพื้นที่การศึกษาของรัฐอื่น ๆ ที่ปรากฏในคดีร่วม (combined case) ศาลล่างในโทเพกาวินิจฉัยว่าโรงเรียนที่แบ่แยกนั้น "มีความเท่าเทียมโดยสภาพเมื่อคำนึงถึงสิ่งปลูกสร้าง การขนส่ง หลักสูตรและคุณวุฒิการศึกษาของครู" แม้กำหนดให้มีการเยียวยาอยู่บ้าง ฉะนั้นเมื่อมีส่วนเกี่ยวข้องของคดีแคนซัส ข้อวินิจฉัยของศาลสงสุดจึงขึ้นอยู่กับปัญหาการแบ่งแยกโดยเฉพาะ[ 2]
ครอบครัวบราวน์และครอบครัวคนผิวดำท้องถิ่นอื่นอีก 12 ครอบครัวที่ตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายกันยื่นฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล ต่อศาลกลางของสหรัฐต่อคณะกรรมการการศึกษาโทเพกา โดยอ้างว่านโยบายการแบ่งแยกของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ องค์คณะผู้พิพากษาสามคนของศาลแขวงเขตแคนซัส มีคำตัดสินของคณะลูกขุนให้ครอบครัวบราวน์แพ้คดี โดยอ้างบรรทัดฐานคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดในปี 1896 ใน คดีระหว่างเพลสซีกับเฟอร์กูสซัน ซึ่งศาลฯ วินิจฉัยว่าการแบ่งแยกเชื้อชาติไม่ได้ละเมิดวรรคการให้ความคุ้มคอรงเท่าเที่ยมกันในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 14 หากสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่กำลังกล่าวถึงนั้นเท่าเทียมกัน หลักที่ต่อมารู้จักในชื่อ "แบ่งแยกแต่เท่ากัน " ครอบครัวบราวน์ โดยประธานที่ปรึกษาของ NAACP เทอร์กูด มาร์แชล ว่าความให้ อุทธรณ์ต่อไปยังศาลสูงสุด ซึ่งรับไต่สวนคดี
คำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีบราวน์กลับคำวำนิจฉัยใน คดีระหว่างเพลสซีกับเฟอร์กูสซัน บางส่วน โดยการประกาศว่าหลัก "แบ่งแยกแต่เท่าเทียม" ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญสำหรับโรงเรียนรัฐบาลและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการศึกษาของสหรัฐ[ หมายเหตุ 1] คำตัดสินนี้เป็นการปูทางไปสู่การหลอมรวมทางเชื้อชาติ (Racial integration) และเป็นชัยสำคัญของขบวนการสิทธิพลเมือง [ 4] และเป็นต้นแบบสำหรับคดีตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบผลทางกฎหมาย (impact ligigation) ในอนาคตอีกมาก[ 5]
ในภาคใต้ของสหรัฐ โดยเฉพาะในแถบ "ดีพเซาธ์ " ซึ่งการแบ่งแยกเชื้อชาติฝังรากลึกนั้น ปฏิกิริยาของคำวินิจฉัยในหมู่สาธารณชนคนขาวส่วนใหญ่คือ "เสียงดังรบกวนและดื้อดึง" (noisy and stubborn) ผู้นำทางรัฐบาลและการเมืองหลายคนในภาคใต้รับแผนชื่อ "การขัดขืนครั้งใหญ่ " สร้างขึ้นโดยสมาชิกวุฒิสภา แฮรี เอฟ. เบิร์ด เพื่อขัดขวางความพยายามบีบบังคับพวกตนให้ยุติการแบ่งแยกระบบโรงเรียน สี่ปีต่อมา ในคดีระหว่าง คูเพอร์ กับแอรอน ศาลฯ ยืนยันคำวินิจฉัยในคดีบราวน์ และระบุชัดเจนว่าข้าราชการและสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐไม่มีอำนาจทำให้คำวินิจฉัยนี้เป็นโมฆะ
อ้างอิง
หมายเหตุ
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน