คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามFaculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Maha Sarakham University |
|
ชื่อย่อ | มนส. / HUSOC |
---|
คติพจน์ | ภูมิปัญญาเป็นเลิศ เชิดชูคุณธรรม นำชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน |
---|
สถาปนา | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 (49 ปี) |
---|
คณบดี | รศ.ว่าที่ พ.ต. ดร.กิตติกรณ์ บำรุงบุญ |
---|
ที่อยู่ | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เลขที่ 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม |
---|
สี | สีขาว |
---|
เว็บไซต์ | http://human.rmu.ac.th/ |
---|
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Mahasarakham University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ในฐานะในฐานะคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคามเป็นหนึ่งในคณะที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
ประวัติ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. กระทรวงศึกษาธิการ 2518 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 และมาตรา 8 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศเป็นประกาศกระทรวง แบ่งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นมีสถานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคามโดบในอดีตคณะฯ ได้แบ่งส่วนราชการในรูปคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเป็นภาควิชาต่าง ๆ ดังนี้
- ภาควิชาภาษาไทย
- ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
- ภาควิชาภาษาอังกฤษ
- ภาควิชาดนตรีศึกษา
- ภาควิชาภูมิศาสตร์
- ภาควิชานาฏศิลป์
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
- ภาควิชาศิลปศึกษา
- ภาควิชาสังคมวิทยา
- ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
- ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และการเมือง
ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” ซึ่งแปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[1] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” ส่งผลให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม แปรสภาพเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม”[2]
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[3] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏมหาสารคาม ก็ได้ยกฐานะเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบัน[4]
การบริหารงาน
- คณบดี ประธานกรรมการ
- รองคณบดี รองประธานกรรมการ
- หัวหน้าภาควิชาทั้ง 11 ภาควิชา กรรมการ
- หัวหน้าฝ่ายประเมินผลฯ กรรมการ
- เลขานุการและประสานงาน กรรมการและเลขานุการ
หลักสูตร
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[5]
|
ระดับปริญญาบัณฑิต
|
ระดับปริญญามหาบัณฑิต
|
ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต
|
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชา Joint-Degree English Program
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
- สาขาวิชาดนตรี
- สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
- สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาจีน
- สาขาวิชาปรัชญา สังคม และวัฒนธรรม
- สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน
- สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศล.บ.)
- สาขาวิชาศิลปกรรม
- สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
|
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
- สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา
- สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
- หลักสูตรสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
- หลักสูตรสาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์
|
ทำเนียบคณบดี
ทำเนียบคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
|
ลำดับที่
|
รายนาม
|
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|
1
|
ผศ.สมชาย วงค์เกษม
|
2519 - 2522
|
2
|
ผศ.พรชัย ศรีสารคาม
|
2523 - 2526
|
3
|
ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ อุสาหะ
|
2526 - 2527
|
4
|
อ.ดร.สฤษดิ์ ศรีขาว
|
2528 - 2532
|
5
|
ผศ.บุญเลิศ นนทลือชา
|
2532 - 2538
|
6
|
อ.พลเลื่อน ดงเรืองศรี
|
2538 - 2542
|
7
|
อ.ดร.นิตยา กลางชนีย์
|
2542 - 2546
|
8
|
ผศ.ดร.สุณี สาธิตานันต์
|
2546 - 2556
|
9
|
ผศ.ดร.พรทิพย์ วรกุล
|
2556 - 2560
|
10
|
ผศ.ดร.รังสรรค์ สิงหเลิศ
|
2560 - 2564
|
11
|
รศ.ว่าที่ พ.ต. ดร.กิตติกรณ์ บำรุงบุญ
|
2564 - ปัจจุบัน
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สัญลักษณ์ | | |
---|
คณะ | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
โรงเรียน | |
---|
กิจกรรม | งานกีฬาประเพณีสานสัมพันธ์นิติศาสตร์มรม.-มมส |
---|
|