คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ตั้ง
เว็บไซต์www.huso.tsu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ตั้งอยู่ที่ 140 หมู่ที่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ประวัติ

ในช่วงปี พ.ศ. 2512 – 2516 ที่มหาวิทยาลัยทักษิณยังมีฐานะเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา มีชื่อเรียกว่า “วิทยาลัยวิชาการศึกษา สงขลา” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า “คณะมนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์”มีหลักสูตรที่เปิดสอนคือ กศ.บ.ภาษาอังกฤษ กศ.บ.ภาษาไทย (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์) และในปี พ.ศ. 2516 ได้เปิดสอนหลักสูตร กศ.บ. สังคมศึกษา (ร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์) เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ถูกแบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 คณะ คือคณะมนุษยศาสตร์ กับคณะสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์เปิดสอนหลักสูตร ศศ.บ. ภาษาไทย ในปี พ.ศ. 2517 ภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2521 และคณะสังคมศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตร ศศ.บ. ประวัติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2519 กศ.บ. ภูมิศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2528

หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา ได้มีการเปลี่ยนชื่อไปเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ ภาคใต้ เพราะมีภารกิจเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหลักสูตรและสถานที่ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคใต้ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณ คณะมนุษยศาสตร์และคณะสังคมศาสตร์จึงถูกรวมภารกิจเข้าด้วยกันอีกครั้งหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”

สัญลักษณ์ประจำคณะ

  • สีประจำคณะ คือ ม่วง-ขาว
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกอินทนิล

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
    • สาขาภูมิศาสตร์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
    • สาขาวิชาภาษาไทย
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิชาภาษาจีน
    • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
    • สาขาวิชาภาษาอังกฤษและภาษาจีน (สองปริญญา)
    • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาชุมชน
    • สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์
    • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
    • สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
    • สาขาวิชาภาษามาลายู
  • หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
    • สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
  • หลักสูตรนิเทศศาสตร์บัณฑิต (นศ.บ.)
    • สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดและสื่อดิจิทัล
หลักสูตรที่เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา
  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขาภาษาไทย
    • สาขาสื่อและวัฒนธรรมศึกษา
  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
    • สาขาสื่อและวัฒนธรรมศึกษา

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!